เนคเทค โชว์ผลงานนวัตกรรม ในงาน APEC BCG Economy Thailand 2022: Tech to Biz (Thailand Tech Show 2022)

Facebook
Twitter
เนคเทค โชว์ผลงานนวัตกรรม ในงานประชุมและนิทรรศการ APEC BCG Economy Thailand 2022: Tech to Biz (Thailand Tech Show 2022) 10 ตุลาคม 2565 : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เข้าร่วมแสดงผลงานนวัตกรรม ในงานประชุมและนิทรรศการ APEC BCG Economy Thailand 2022: Tech to Biz (Thailand Tech Show 2022) ภายใต้แนวคิด ผสานพลัง วทน. เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน (Synergizing STI to Sustainable Business)เพื่อเป็นกิจกรรมสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022 Thailand) และเปิดงาน Thailand Tech Show 2022 เวทีแสดงผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมวิจัยที่พร้อมต่อยอดธุรกิจ พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมโอกาสความร่วมมือด้านธุรกิจ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 ตุลาคม 2565 ณ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานและปาฐกถาหัวข้อ “บทบาทกระทรวง อว. ในการผลักดันเศรษฐกิจ BCG วาระแห่งชาติของประเทศไทย” จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้การนำ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. จับมือพันธมิตรองค์กรภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในและต่างประเทศกว่า 40 หน่วยงาน ในปีนี้เนคเทคส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกอบด้วย

Investment Pitching (Thailand Tech Show 2022) เวทีแห่งการนำเสนอนวัตกรรมเด่นที่มีความพร้อมถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการ/นักลงทุนที่มองหาโอกาสและช่องทางในการทำธุรกิจเทคโนโลยี นำเสนอผลงาน 

  • เฟล็กซ่าส์ “ฟิล์มป้องกันการเกาะของสิ่งมี ชีวิต”(Antifouling film) โดย ดร.นิธิ อัตถิ ทีมวิจัยนวัตกรรมพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิก ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)

FleXARs “ฟิล์มป้องกันการเกาะของสิ่งมีชีวิต”(Antifouling film) เป็นชั้นฟิล์มพอลิเมอร์ที่สร้างด้วยวัสดุที่มีค่าพลังงานเชิงผิวต่ำ และมีลวดลายจุลภาค แบบทนทาน (Robust micro-structures) อยู่ที่ผิวด้านบน มีสมบัติน้ำและน้ำมันไม่เกาะแบบยิ่งยวด (Superamphiphobic surface) ที่สามารถป้องกันการเกาะของสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิววัสดุต่างๆได้ (Antifouling surface) มีชั้นกาวด้านหลังเพื่อให้สามารถแปะและยึดติดกับผิววัสดุ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ งานทางทะเล และพื้นผิววัสดุในระบบขนส่งมวลชนและพื้นที่สาธารณะได้ ตอบโจทย์ BCG ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและดูแลสุขภาพอนามัย

  • ผลงานนวัตกรรม “กราฟีนเทคโนโลยี” เพิ่มมูลค่าขยะอุตสาหกรรมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างครบวงจร โดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ นำโดย ดร.อภิชัย จอมเผือก (หัวหน้าโครงการฯ) ร่วมกับ บริษัท 78 Transform จำกัด และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (Petromat) แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โซนนิทรรศการ 6 ผลงานนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอดสู่ตลาด ภายในโซน IP Marketpleace
    1. ระบบตรวจวัดในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง
    2. KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan
    3. บอทโรคข้าว Rice Disease LINE BOT
    4. ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ และระบบเชื่อมโยงผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน HandySense & Farm To School
    5. ระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังกลิ่นจากฟาร์มปศุสัตว์ Livestock odor monitoring system
    6. สนทนา (Sontana) แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เชิงสนทนาพร้อมอวทาร์ (Conversational Avatar AI): Sontana
  • Session: Tourism and Creative Economy นักวิจัยเนคเทคร่วมเป็นวิทยากรในในหัวข้อ NAVANURAK: Preservation Technology  โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์

พร้อมด้วย 4 บริษัท Startup ได้แก่ บริษัท เอไอไนน์ จำกัด, บริษัท บิ๊กโก อนาไลติกส์ จำกัด, บริษัท เบรนนิฟิต จำกัด และบริษัท ดาร์วินเทค โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด และโครงการจัดตั้งบริษัท ฟองดี จำกัด (Traffy) สำหรับผู้ที่มองหานวัตกรรมและพร้อมลงทุน เข้าร่วมงานในครั้งนี้