ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ร่วม Panel Discussion: “AI Revolution: Profits, Progress, and Perils” ในงานประชุม “Thailand’s Innovation Redefined: New S-Curve, AI, and Virtual Banking” ซึ่ง AI ได้กลายเป็นพลังอันทรงพลังในการขับเคลื่อนนวัตกรรม กำหนดรูปแบบชีวิตประจำวัน และกำหนดวิธีการทำงานและปฏิสัมพันธ์ในสังคมใหม่ โดยการประชุมได้เจาะลึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคมของ AI เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566
ดร.ชัย กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกองค์กร หน่วยงาน จะต้องยกระดับและเพิ่มพูนทักษะความรู้ด้าน AI ของตนทุกวันนี้ AI นวัตกรรมที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยของมนุษย์ ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและผลประโยชน์ต่างๆ โดยระบบนิเวศของ AI กำลังได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการทำงานใกล้เคียงกับที่มนุษย์สามารถทำได้ ในขณะเดียวกัน การพัฒนา AI จำเป็นต้องมีกฎหมาย จริยธรรม และมาตรฐานที่ต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ท่ามกลางความกังวลด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และความยุติธรรม
ซึ่ง AI สามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ และเพิ่มการพัฒนาความยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจทั้งหมดรวมถึงภาครัฐ ในการนำ AI มาใช้ ประกอยด้วย 3 ด้าน ที่ต้องพิจารณา ได้แก่ ประโยชน์ ความสะดวกในการจ่ายและต่ออายุ และการกำกับดูแล AI สำหรับแนวทางการกำกับดูแลเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญเพื่อให้มั่นใจถึงความน่าเชื่อถือของ AI ปีที่แล้ว กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เริ่มให้บริการ AI Governance Clinic เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำลังร่างกฎระเบียบด้าน AI ซึ่งจะเป็นกรอบที่ควบคุมการพัฒนา AI ในประเทศ โดยล่าสุด สวทช.และ สพธอ.ได้ร่วมกันศึกษาความพร้อมของธุรกิจในการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการดิจิทัล ทีมงานได้ส่งแบบสอบถามไปยังธุรกิจต่างๆ ใน 10 ภาคส่วน ครอบคลุม 3,529 บริษัท โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 565 คน การศึกษาพบว่า 15.2% ของธุรกิจได้นำ AI ไปใช้แล้ว 56.7% วางแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคต และ 28.2% ไม่มีแผนใดๆ
สำหรับ Panel Discussion: “AI Revolution: Profits, Progress, and Perils” ประกอบด้วยผู้ร่วมเสวนา คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด และดร.วิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมอภิปราย