NECTEC SMC ร่วมกับ RX Tradex จัดสัมมนา NEPCON FORUM 2024 ในงาน NEPCON Thailand 2024

Facebook
Twitter

NECTEC SMC ร่วมกับ RX Tradex จัดสัมมนา NEPCON FORUM 2024 ในงาน NEPCON Thailand 2024

วันที่ 20 มิถุนายน 2567 ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. และ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) กล่าวว่า กิจกรรมเนปคอน ฟอรั่ม 2024 ในหัวข้อ “การประเมินความพร้อม Industry 4.0 ด้วยตัวเอง เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าถึงกลไกสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ แนะนำการประเมินระดับความพร้อมขององค์กรสู่การผลิตยุคดิจิทัลด้วยตัวเองด้วยระบบ Online & Interactive Self-Assessment ทราบแนวทางในการปรับปรุงสายการผลิตเบื้องต้น ใช้เวลาน้อย ดำเนินการเองได้ ตรวจประเมินโรงงานกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมสิทธิประโยชน์และทุนสนับสนุนผู้ประกอบการอีกมากมาย วันนี้ จัดโดยสวทช. ประกอบด้วย กลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0, ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC), นักวิจัยจากเนคเทค สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ ศูนย์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะด้าน (CoTT) มาร่วมแลกเปลี่ยนกลยุทธ์ แผนที่นำทาง และกรณีศึกษาการทำ Digital Transformation เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ให้ก้าวผ่านการดิสรัปชั่นในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ไปได้อย่างยั่งยืน

สาระสำคัญภายในงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษและเสวนา โดย วิทยากรจากศูนย์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะด้าน (CoTT) และนักวิจัย เนคเทค สวทช. นำเสนอในหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้

ช่วงที่ 1 บรรยายพิเศษ
หัวข้อ แนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0
โดย ดร. รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

การบรรยายนี้กล่าวถึง..ขั้นตอนการยกระดับอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0โดยเริ่มต้นจากปัญหาหลักที่โลกต้องเผชิญ อย่างภาวะโลกร้อน Carbon Emissions Green Industry สงความระหว่างประเทศ สงครามการค้า โรคระบาด และปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ ดังนั้น Digital Economy จึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยการทำ Digital Transformation ที่มีขั้นตอนหลัก ๆ อยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 Online & Interactive Self-assessment ซึ่ง จะมีตัวชี้วัดเป็นThailand i4.0 Index มี 6 มิติหลัก 17 มิติย่อย และสามารถสรุปผลได้เป็น 6 Band Levels โดย Band 5-6 จะเท่ากับ Industry 4.0
  • ขั้นตอนที่ 2 คือ Initiation หรือการรับการประเมิน Thailand i4.0 Index แบบ On-site โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะมีความละเอียดมากกว่าและยังได้รับคำแนะนำสำหรับการพัฒนาต่อไป
  • ขั้นตอนที่ 3 คือ Solutioning หรือการรับบริการที่ปรึกษาจากศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ไม่ว่าจะเป็นการทดลองใช้ Testbed & Facilities SMC การทำ Course อบรม การกำหนดกลยุทธ์ วางแผนปรับปรุงระบบขององค์กร การจัดทำแผนการลงทุน รวมทั้งการขอรับการส่งเสริมจาก BOI
  • ขั้นตอนที่ 4 คือ Implementation & Operation หรือการนำอุปกรณ์ Solution ต่าง ๆ ไปใช้จริงในโรงงาน นอกจากนี้ SMC ยังมี Campaign ให้เงินสนับสนุนสำหรับโรงงานที่สนใจทำ Implementation & Operation นอกจากนี้ SMC ยังมี Membership ที่จะให้สิทธิประโยชน์ในเรื่องของส่วนลดการใช้บริการต่าง ๆ การให้คำปรึกษาด้านเทคนิค การเข้ามาใช้ Facility ต่าง ๆ ของ SMC และยังมีการรับข้อมูล ข่าวสาร การเข้าร่วมกิจกรรม Business Matching อีกด้วย

หัวข้อ Digital Factory and Digital Transformation
โดย ผศ ดร.เดี่ยว กุลพิรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่าย Digital Transformation
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ได้กล่าวเกี่ยวกับ.. Digital Factory กับวิธีการขับเคลื่อน Digital Transformation โดยมีจุดหมายคือการเปลี่ยน Culture ของการทำงานในโรงงาน แบ่งออกเป็น 3 Steps ดังนี้

  • Step 1 : Technology Transformation คือการปรับเปลี่ยน Mind set ของผู้คนโดยการปรับเปลี่ยนการเก็บข้อมูลโดยใช้ Cloud ให้เกิดประโยชน์ หากมีต้นทุนที่น้อยให้ใช้ Sand Box แทน Cloud และยังพลักดันให้ใช้ platform เพื่อการจัดการข้อมูลและระบบของโรงงานให้ง่ายขึ้น รวมถึงการจัดการ Data Governance โดยให้ฝ่ายต่างๆนำข้อมูลมารวมกันเพื่อดู Cost Effectiveness ของโรงงาน
  • Step 2 : Process Transformation คือการอัพ Skill ของคนใน Manufac turing Chain เพื่อให้สามารถทำ Data Analytic จาก Dashboard ได้
  • Step 3 : People Transformation คือการนำคนที่มีทักษะมาสร้างทีมเพื่อเป็น Data Team ของโรงงานประกอบด้วย 3 ตำแหน่งหลักๆได้แก่ Data Analyst, Data Engineer และ Data Scientist เมื่อทำตาม 3 ขั้นตอนนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลง Culture ของโรงงานได้โดยพนักงานแต่ละตำแหน่งจะปรับตัวให้เข้ากับการทำงานแบบใหม่และเมื่อมีพนักงานเข้ามาใหม่ก็จะได้รับการสอนงานในแบบที่ได้ปรับเปลี่ยนไปแล้ว

Digital lean กับการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์ โครงการนี้เป็นการร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และความพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

หัวข้อ เราจะผลักดันให้ SME มุ่งสู่ 4.0 ได้อย่างไรและทำไมถึงต้องเป็นระบบ lean?
โดย ผศ.วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ และผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการระบบการผลิตแบบลีน
คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

 

ได้กล่าวถึง..ถึงเรื่องภายในองค์กรก็ต้องคิดถึงเรื่องกำไรขาดทุน หากยอดขายตกลง แต่ต้นทุนกลับสูงขึ้นก็จะเท่ากับว่าองค์กรนั้นขาดทุนโดยสาเหตุของการขาดทุนก็มาจากหลายปัจจัย ที่เห็นได้ชัดตอนนี้คือต้นทุนทางตรงในส่วนของค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจะเพิ่มกำไรให้กับองค์กรจึงจำเป็นจะต้องดูไปถึงความสูญเสีย (waste) ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์กร โดยสาเหตุของความสูญเสียจะมาจาก 2 แหล่งหลักๆคือ workplace หรือก็คือความสูญเสียภายในโรงงาน และ information systemหรือก็คือความสูญเสียจากการสื่อสารตั้งแต่การวางแผนกับพนักงานที่ผิดพลาดรวมไปถึงการดึงข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอมาใช้

ทั้งนี้ lean manufacturing system จะมุ่งเน้นเพื่อช่วยสร้างคุณค่าให้กับตัวสินค้าและบริการ โดยการกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในองค์กรตั้งแต่ inbound, work in process ไปจนถึง outboundปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ด้วยหลักการ lean management ที่จะเปลี่ยนจากความสูญเปล่าให้เป็นประสิทธิภาพก่อนจะรวมเอา digital management เข้ามาช่วยด้วย และจะเป็นไปแบบ step by step ดังนี้

1) หาว่าปัญหาหรืออุปสรรคคืออะไร
2) ระดมสมองกันภายในองค์กรเพื่อหารากเหง้าของปัญหา
3) หาเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาด้วยหลักการ low cost IoT แบบ small start (ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย)
4) ทดลองใช้จริงและติดตามผล วิธีเหล่านี้ก็เพื่อช่วยให้ SME ในไทยสามารถทำตามได้และได้เข้าใกล้กับอุสาหกรรม 4.0 มากที่สุด

Digital Supply Chain กับการจัดการสินค้าอัจฉริยะ 
โดย ดร.นิลุบล ชลสวัสดิ์ อาจารย์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจการเกษตร
ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้กล่าวถึง..Smart Warehouse ในประเทศไทย ว่า 95% (traditional) คือเรื่องของคลังสินค้าเน้นบริการพื้นที่เช่า และอีก 5% (smart) คือ พื้นที่เช่าที่รองรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบโลจิสติกส์ครบวงจร

Warehouse stage ของไทยคือ semi-automation ซึ่งอยู่ stage ที่ 3 เป็นการใช้เครื่องมือที่ไม่ได้มีความซับซ้อนในการเคลื่อนย้ายหรือทำงานซ้ำ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน จากการสำรวจอุปสรรคสำคัญที่นักการตลาดต้องเผชิญเกี่ยวกับนวัตกรรมคือ ไม่สามารถวัดผลกระทบของนวัตกรรมและข้อจำกัดของงบประมาณและเงินทุน นอกจากนี้ยังมีเรื่องความท้าทายที่คลังสินค้าต้องเจอ เช่น ของหาย ของหมดอายุ การทำงานที่มากขึ้นของพนักงาน เป็นต้น

Operations Design ของคลังสินค้าที่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรโดยเฉพาะงบประมาณจะส่งผลให้ยากต่อการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคลังสินค้าให้ไปสู่ Smart Warehouse ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ระดับการบริการสูงสุด ผลผลิตการดำเนินงานสูงสุด อุปกรณ์ขนถ่าย รวมถึงการทำให้ต้นทุนลดลง

Warehouse Simulation คือแพลตฟอร์มที่พัฒนามาจากศูนย์ Logistics Innovation พระจอมเกล้าธนบุรีร่วมกับศูนย์ CoTT Smart Warehouse ของเนคเทค แพลตฟอร์มนี้คือคลังสินค้า 3 มิติ สามารถออกแบบตำแหน่งได้ตามใจชอบเหมือนกับคลังสินค้าจริง 100% ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือความท้าทายที่คลังสินค้าของไทยต้องเผชิญหน้า นอกจากนี้เราสามารถดูกลยุทธ์และพัฒนาไปสู่ Smart Warehouse ได้อีกด้วย

ช่วงที่ 2 เสวนา หัวข้อ อุตสาหกรรม 4.0 และการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน: กลยุทธ์และเทคนิคการดําเนินการ โดย ผู้เชี่ยวชาญจาก CoTT และนักวิจัย เนคเทค สวทช. ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน กลยุทธ์และเทคนิคการดำเนินการ โลจิสติกส์และคลังสินค้า และบทบาทของเทคโนโลยี เน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพการผลิตและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน, ความท้าทายในการนำ Industry 4.0 มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ, รวมถึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ Industry 4.0

วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ดร.เดี่ยว กุลพิรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่าย Digital Transformation มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อาจารย์วุฒิพงษ์ ปะวะสาร ประธานหลักสูตร สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ดร.กมล เขมะรังษี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค สวทช. ดำเนินรายการโดย ดร.พรพรหม อธีตนันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล เนคเทค สวทช.

ข้อมูลข่าวโดย : นักศึกษาฝึกงาน
ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล (SPE) เนคเทค