ชวนน้อง ๆ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร่วมปลูกฝัน ปั้นนวัตกรน้อย ด้านเกษตรอัจฉริยะ ร่วมส่งโครงการการประยุกต์ใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) ในโรงเรียน ชิงอุปกรณ์ HandySense ครบชุด และทุนการพัฒนาโครงการมูลค่ารวมกว่า 20,000 บาท ในโครงการส่งเสริมสวนเกษตรอัจฉริยะในโรงเรียนยุคปกติใหม่ (New Normal)
เนื้อหา
หลักการและเหตุผล
รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ได้ระบุว่าราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติศัพท์ “New Normal” หมายถึงความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีตอันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและการจัดการ การใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าจะธำรงรักษาวิถีดั้งเดิมหรือหวนหาถึงอดีต สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 หรือโคโรนาไวรัส ช่วงปลาย พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2563 ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนแพร่กระจายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ผู้คนเจ็บป่วยและล้มตายจำนวนมาก จนกลายเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงอีกครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ มนุษย์จำเป็นต้องป้องกันตนเองเพื่อให้มีชีวิตรอดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ผิดไปจากวิถีเดิม ๆ โดยสร้างเสริมปรับหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อควบคู่ไปกับความพยายามรักษาและฟื้นฟูศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ นำไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ วิธีการจัดการ ตลอดจนพฤติกรรมที่เคยทำมาเป็นกิจวัตร เกิดการบ่ายเบนออกจากความคุ้นเคยอันเป็นปรกติมาแต่เดิมในหลายมิติ ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร การทำธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งสิ่งใหม่เหล่านี้ได้กลายเป็นความปรกติใหม่ ๆ จนในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปจนทำให้เกิดความคุ้นชินก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปกติของผู้คนในสังคม
BCG Model การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ ไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
จากประเด็นสำคัญในเรื่องการใช้ชีวิตในยุคปกติใหม่ (New Normal) และการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วย BCG Model สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. มีเป้าหมายสำคัญในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาด้าน วทน. ไปใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลบรรลุในประเด็นดังกล่าว หนึ่งในนั้น คือ การส่งเสริมเรื่องการใช้เกษตรสมัยใหม่ ซึ่งผลงานวิจัยพัฒนาที่ชื่อว่า HandySense ของเนคเทค สวทช. ได้ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจทั่วไปนำไปผลิตเพื่อใช้หรือจำหน่ายได้ ภายใต้แนวคิด Smart Farming Open Innovation หรือ นวัตกรรมแบบเปิด ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่เปิดเผยรายละเอียดการผลิต และอนุญาตให้สาธารณะนำไปผลิตและใช้งานโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ (License Fee) และค่าตอบแทนการใช้สิทธิรายปี (Royalty Fee) โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรไทยยุคใหม่ ได้มีเครื่องมือที่ทันสมัย ใช้งานในราคาที่จับต้องได้ และต้องการให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางด้านสมาร์ทฟาร์มโดยผู้ประกอบการไทย ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการ นักประดิษฐ์อิสระ และผู้สนใจทั่วไป ได้นำผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและการกระตุ้นให้สังคมไทยได้เกิดการปรับตัวไปสู่ยุคปกติใหม่และการนำเทคโนโลยีทางด้านเกษตรอัจฉริยะ ไปใช้ในการทำธุรกิจ การเรียนการสอน และการดำเนินชีวิต การจัดกิจกรรมในโครงการส่งเสริมสวนเกษตรอัจฉริยะในโรงเรียนยุคปกติใหม่ (New Normal) จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการเกษตรของประเทศไทย ตามการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ BCG Model
ด้วยเหตุผลดังกล่าวกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกลุ่มพันธมิตร เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังแนวความคิด ส่งเสริม ให้เกิดการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรไปประยุกต์ใช้ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เริ่มให้ความสนใจใฝ่เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนหันมามีความสนใจในการใช้เทคโนโลยีจะช่วยปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม ทัศนคติ เกิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเกษตร ที่สามารถควบคุมปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเพาะปลูก การคาดการณ์ผลผลิต ฯ โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตรอัจฉริยะในยุคปกติใหม่ (New Normal)
- เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้นักเรียนรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกต่องานด้านการเกษตร
กลุ่มเป้าหมาย
1.โรงเรียนในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่
2. ผู้เข้าร่วมโครงการระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4 – ป.6) และ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม.3)
คุณสมบัติและเงื่อนไข
1.4.1. เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4 – ป.6) และ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม.3) ในพื้นที่โรงเรียนในเขตจังหวัดตามกลุ่มเป้าหมายนำร่องของโครงการฯ (ดูรายชื่อจังหวัดได้หัวข้อกลุ่มเป้าหมาย ข้อ1)
2.เป็นคณาจารย์ ที่สังกัดอยู่ ณ โรงเรียนตามกลุ่มเป้าหมายนำร่องของโครงการฯ
3.มีความสนใจและมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโครงการ หรือเพื่อประยุกต์ใช้ HandySense กับงานด้านการเกษตรอัจฉริยะในโรงเรียน
4.มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามกำหนดการของโครงการฯ ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการฯ
เงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วม
1. รับสมัครเป็นทีม ทีมละ 5 ท่าน โดยต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาทีมละไม่เกิน 2 ท่าน
2.มีความสนใจนำเทคนิค กระบวนการ และเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ เข้ามาใช้ในการช่วยแก้ปัญหาหรือช่วยส่งเสริมให้สามารถเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลผลิตที่มีคุณภาพ ส่งเข้าร่วมโครงการฯ โดยจะเป็นผลงานที่คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาอยู่ก่อนแล้ว หรือคิดสร้างสรรค์ใหม่ก็ได้
3.โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางด้านการเกษตร และระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรอัจฉริยะ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบอินเทอร์เน็ต (สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่เกษตรที่ติดตั้งอุปกรณ์) ระบบให้น้ำพืชผ่านทางท่อ เป็นต้น
4.โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้อำนวยการโรงเรียนในการจัดทำโครงการส่งเสริมสวนเกษตรอัจฉริยะในโรงเรียนในยุคปกติใหม่ (New Normal)
5. 1 โรงเรียนสามารถเข้าร่วมได้มากกว่า 1 โครงการ
6.เตรียมข้อมูลตามผลงานที่จะส่งสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในรูปแบบของ “ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลงาน” (Proposal) เพื่อชี้แจงให้คณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ทราบถึงแนวทาง รูปแบบในการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ HandySense อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
7.ลงทะเบียนกรอกใบสมัคร Online พร้อมส่ง “ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลงาน” ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทาง e-mail หลักของโครงการฯ ภายในวัน และเวลา ที่กำหนด
ทั้งนี้ หากมีเรื่องที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับเงื่อนไขการสมัครเข้าร่วมที่ไม่อยู่ในทั้ง 7 ข้อข้างต้นนี้ ให้ถือผลการพิจารณาของคณะทำงาน “โครงการส่งเสริมสวนเกษตรอัจฉริยะในโรงเรียนยุคปกติใหม่ (New Normal)” เป็นที่สิ้นสุดตามแต่ละกรณี
การสมัครเข้าร่วมโครงการ
1.ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัคร Online (เท่านั้น) พร้อมส่ง “ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลงาน” ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (PDF) มาที่ Email: icp-pbrs@nectec.or.th ตั้งแต่บัดนี้ – 31 ธันวาคม 2564 (23.59 น.)
2.ก่อนทำการสมัคร ควรมีข้อมูลผู้ร่วมทีม อาจารย์ที่ปรึกษา และข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลงาน ให้พร้อม เพื่อความสะดวกในการกรอกใบสมัคร
กำหนดการของโครงการ
รายละเอียด | ช่วงเวลา |
ประชาสัมพันธ์และเปิดรับข้อเสนอโครงการฯ | 11 พ.ย. – 31 ธ.ค. 64 |
พิจารณาคัดเลือกจากข้อเสนอโครงการรอบแรก | 4 – 16 ม.ค. 65 |
ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกรอบแรก | 17 ม.ค. 65 |
อบรมออนไลน์แนะนำ HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เบื้องต้น | 1 ก.พ. 65 |
ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศจัดส่งข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์และวิดีโอประกอบการพิจารณา | ภายใน 17.00 น. 3 ก.พ. 65 |
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและมอบรางวัล | 7 ก.พ. 65 |
Workshop การใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะ HandySense ณ โรงเรียน | ช่วงเดือน มี.ค. 65 |
ทีมนักวิจัยลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ | ช่วงเดือน พ.ค. 65 |
หมายเหตุ: กำหนดการในแต่ละกิจกรรมอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ทางโครงการฯ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนการปรับเปลี่ยนอย่างน้อย 2 สัปดาห์
เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการฯ
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการจากใบสมัคร พร้อมด้วย ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาผลงาน ในการนำเสนอแนวความคิด แนวทางการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ และแนวทางการดำเนินโครงการอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
1. ด้านความสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงการ (35%)
- ข้อเสนอโครงการแสดงให้เห็นถึงแนวคิด ขั้นตอน และเป้าหมายของการประยุกต์ใช้ HandySense ในโรงเรียน
- มีรูปแบบและหัวข้อครบถ้วน สามารถสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจได้ ใช้ภาษาได้ถูกต้อง มีภาพ หรือ ตัวอย่างประกอบทำให้สื่อได้ชัดเจน
2.ด้านความสามารถในการพัฒนาโครงการ (35%)
- ขอบเขตโครงการชัดเจนและเหมาะสมทั้งตัวเนื้องานและระยะเวลา
- ความสามารถในการดำเนินการพัฒนาโครงการของทีม
- ความพร้อมของพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโครงการ
3.ด้านโอกาสในการขยายผล (30%)
- ความยั่งยืนและต่อเนื่องของโครงการ
- ความสามารถในการประยุกต์ใช้ดำเนินงานกิจกรรมด้านอื่นๆของโรงเรียน
การสนับสนุนและสิ่งที่ได้รับ
1.การสนับสนุนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
- ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการฯ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม
- สมาคมไทยไอโอที โดย คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมฯ สนับสนุนอุปกรณ์ HandySense และทุนในการพัฒนาผลงาน สำหรับผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ
- รางวัลที่ 1: อุปกรณ์ HandySense ครบชุด ประกอบด้วย บอร์ด เซนเซอร์แสง อุณหภูมิ ความชื้น และทุนสนับสนุน จำนวน 3,000 บาท
- รางวัลที่ 2: อุปกรณ์ HandySense ประกอบด้วย บอร์ด และ เซนเซอร์ความชื้น และทุนสนับสนุน จำนวน 2,000 บาท
- รางวัลที่ 3: บอร์ด HandySense และทุนสนับสนุนจำนวน 1,000 บาท
- รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้รับทุนสนับสนุนรางวัลละ 1,000 บาท
2.สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ
- ประกาศนียบัตรเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ (กรณีผลงานที่ผ่านเข้ารอบนำเสนอโครงการ)
- โล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล
- โรงเรียนที่ได้รับรางวัล จะได้การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ HandySense สำหรับการพัฒนาโรงเรือนอัจฉริยะ พร้อมการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดโดยนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะกรรมการพิจารณาตัดสินโครงการฯ
- คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที สมาคมไทยไอโอที
- คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
คุณวลัยลักษณ์ คงพระจันทร์ งานประชาสัมพันธ์
โทร 02 564 6900 ต่อ 2651 / Email: walailak.kon@nectec.or.th
ประกาศผลโรงเรียนที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
ข้อปฏิบัติสำหรับโรงเรียนที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
1. ข้อปฏิบัติสำหรับโรงเรียนที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
1.1 โรงเรียนที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกรอบแรก ต้องจัดทำข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา โดยมีรายละเอียดข้อเสนอโครงการ ตามข้อ 2
1.2 โรงเรียนที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกรอบแรก ต้องจัดทำคลิปวิดีโอแนวทางในการพัฒนาผลงานมานำเสนอต่อคณะกรรมการของโครงการฯ โดยแต่ละทีมจะมีเวลาในการนำเสนอ 7 นาที (รวมคลิปวิดีโอ) และคณะกรรมการสอบถามเพิ่มเติม 8 นาที รวมใช้เวลา 15 นาที โดยเนื้อหาวิดีโอมีรายละเอียด ตามข้อ 3
1.3 ทางโครงการฯ กำหนดให้นำเสนอคลิปวิดีโอพร้อมบรรยายเสริมโดยทีมผู้พัฒนาผลงาน เพื่อให้คณะกรรมการเข้าใจในตัวผลงานและแนวทางในการพัฒนา สร้างสรรค์ผลงานมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้นำเสนอออนไลน์ ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings ซึ่งผู้ประสานงานจะแจ้งลิงค์การเข้านำเสนอให้ทาง e-mail ของคุณครูที่ปรึกษาและสมาชิกทุกคนที่ได้กรอกไว้ในใบสมัคร
1.4 การนำเสนอคลิปวิดีโอต่อคณะกรรมการ กำหนดไว้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30 – 15.00 น. โดยจะเรียงลำดับการนำเสนอตามลำดับรายชื่อผลงานที่หน้าประกาศผลการพิจารณาคัดเลือก
1.5 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ทีมผู้พัฒนาผลงาน รวมถึงป้องกันปัญหาสัญญาณขัดข้องระหว่างการนำเสนอคลิปวิดีโอ ผ่านช่องทาง Online ขอให้ทุกทีมส่งไฟล์คลิปวิดีโอมายังช่องทางที่โครงการฯ กำหนด
1.6 ในการนำเสนอนั้น จะให้ผู้แทนของทีมเป็นคนนำเสนอคนเดียวพร้อมคลิปวิดีโอ หรือจะหลายคนก็ได้ตามแต่ความพร้อมและความถนัดของแต่ละทีม ทั้งนี้การนำเสนอต้องอยู่ในขอบเขตของช่วงเวลาที่กำหนดไว้ตามข้อ 1.2
1.7 การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการโครงการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
1.8 สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมยังผู้ประสานงานหลักโครงการฯ ได้ตามช่องทางที่ได้แจ้งไว้ในเมลที่ส่งถึงอาจารย์ที่ปรึกษาและสมาชิกในทีมทุกคน
2. รายละเอียดข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องจัดทำ “ข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์” โดยมีหัวข้อดังนี้
- ชื่อโครงการ
- ชื่อผู้ทำโครงการ
- ชื่อที่ปรึกษาโครงการ
- ที่มาและความสำคัญของโครงการ
- วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
- วิธีดำเนินงาน
- แผนปฏิบัติงาน
- งบประมาณ
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- รูปภาพประกอบ / เอกสารอ้างอิง / เอกสารแนบ (ถ้ามี)
3. รายละเอียดวิดีโอประกอบการพิจารณา
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องจัดทำวิดีโอประกอบการพิจารณา ความยาว 3 – 5 นาที โดย VDO ต้องประกอบด้วยเนื้อหา ต่อไปนี้
- แนะนำสมาชิกในทีม / อาจารย์ที่ปรึกษา
- แรงบันดาลใจ / ความสนใจ ในการจัดทำโครงการนี
- อธิบายแนวทางการนำ HandySense ไปใช้ในการดำเนินโครงการ สั้นๆ
- โครงการนี้จะให้ประโยชน์อะไรทั้งกับตนเอง โรงเรียน และชุมชนในระยะยาว
- แนวทางการแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะพบในโครงการ
4. การจัดส่งข้อเสนอโครงการและวิดีโอประกอบการพิจารณา
1. ไฟล์ข้อเสนอโครงการ:
- ส่งในรูปแบบไฟล์ PDF
- ตั้งชื่อไฟล์ข้อเสนอโครงการ โดยใช้รหัสที่ทางโครงการกำหนดให้ ซึ่งสามารถเข้าดูรหัสของแต่ละทีม ได้ที่หน้าประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกรอบแรก แล้วตามด้วย “ข้อเสนอโครงการ” ตัวอย่าง “HS000 ข้อเสนอโครงการ”
2. ไฟล์คลิปวิดีโอ
- ส่งในรูปแบบไฟล์ .mp4
- ตั้งชื่อไฟล์คลิปวิดีโอ โดยใช้รหัสที่ทางโครงการกำหนดให้ ซึ่งสามารถเข้าดูรหัสของแต่ละทีม ได้ที่หน้าประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกรอบแรก แล้วตามด้วย “VDO” ตัวอย่าง “HS000 VDO”
3. ช่องทางการส่งไฟล์ข้อเสนอโครงการและคลิปวิดีโอ
ส่งไฟล์ข้อเสนอโครงการและคลิปวิดีโอ ผ่านทาง Google Drive ที่ผู้ประสานงานหลักโครงการฯ ได้ส่งลิงค์ให้ไว้ทาง e-mail ของคุณครูที่ปรึกษาและสมาชิกในทีมทุกคน
4. กำหนดส่ง
กำหนดส่งไฟล์ทั้ง 2 ข้างต้น ภายในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 กรณีที่ผลงานใดไม่ได้ส่งข้อมูลให้กับทางโครงการฯ ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ทางคณะกรรมการของดเว้นการพิจารณาการให้คะแนนผลงานนั้นๆ ในทันที
เกณฑ์การพิจารณารอบชิงชนะเลิศ
1. ความสมบูรณ์ของรายงานข้อเสนอโครงการ (40 คะแนน)
- ข้อเสนอโครงการแสดงให้เห็นถึงแนวคิด ความคิดสร้างสรรค์ ขั้นตอน เป้าหมาย และความยั่งยืนของการประยุกต์ใช้ HandySense ในโรงเรียน (25 คะแนน)
- มีรูปแบบและหัวข้อครบถ้วน สามารถสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจได้ ใช้ภาษาได้ถูกต้อง มีภาพ หรือ ตัวอย่างประกอบทำให้สื่อได้ชัดเจน (15 คะแนน)
2. ความสนใจ ความใส่ใจ (Passion) ที่มีต่อผลงานของตนเอง (30 คะแนน)
- แรงบันดาลใจและที่มาที่ไปของผลงาน (10 คะแนน)
- การมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม (10 คะแนน)
- ความสามารถในการตอบคำถาม (10 คะแนน)
3. ความสมบูรณ์ของเนื้อหาวิดีโอประกอบการพิจารณา (20 คะแนน)
4. การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม (10 คะแนน)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณวลัยลักษณ์ คงพระจันทร์ งานประชาสัมพันธ์
โทร 02 564 6900 ต่อ 2651 / e-mail : walailak.kon@nectec.or.th