29 มกราคม 2567 หน่วยงานพันธมิตรภายใต้ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science (National e-Science Infrastructure Consortium) จัดงานสัมมนา Workshop on e-Science and High Performance Computing หรือ eHPC2024 เพื่อนำเสนองานวิจัยที่ได้ประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสมรรถนะสูง (High Performance Computing: HPC) เข้ามาช่วยตอบโจทย์การคำนวณข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้รวดเร็ว ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากงานวิจัยชั้นแนวหน้า (Frontier Research) นำไปสู่การค้นพบนวัตกรรมใหม่ ขยายขอบข่ายความรู้ เกิดผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล รองผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา มากกว่า 60 คน ซึ่งในปีนี้ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง นำเสนอภายในงานประชุมวิชาการระหว่างประเทศของกลุ่มสมาชิกเครือข่าย Asia-Pacific Advanced Network : APAN ครั้งที่ 57 (57th APAN Meeting)
งาน eHPC2024 ได้รวบรวมนักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ จากในประเทศและต่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นำเสนอผลงานวิจัยที่มีการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล ทั้งทางด้านอุทกศาสตร์, ดาราศาสตร์, AI, ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ ฯลฯ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่
– UniNet Empower Collaboration between Network and HPC
โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
– Cybersecurity for HPC Environments
โดย Mr. Jon Lau
Vice President of SingAREN and Director of Agency for Science, Technology and Research (A*STAR)
– AHC: ASEAN Hydroinformatics Data Centre for International Water Cooperation
โดย ดร. วินัย เชาวน์วิวัฒน์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
– Network Requirement for Astronomical Big Data and e-VLBI
โดย ดร.อุเทน แสวงวิทย์
รักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
– AI-based Logging System for ALICE O2 Facilities
โดย ผศ.ดร. พร พันธุ์จงหาญ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
– Erosion to Restoration: How HPC is Reshaping Thailand’s Natural and Historical Landscapes
โดย ดร. วุฒิไกร บุษยาพร
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
– Unlocking The Future of HPC/AI
โดย Miss Cattaleeya Ruttanagomon
Hewlett-Packard Enterprise (Thailand) Ltd.
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชม LANTA Supercomputer ณ ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center: ThaiSC) สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 8 petaFLOPs ประกอบด้วย 31,744 compute cores, 704 NVIDIA A100 GPUs, 10,000 TB of parallel storage และ HPE slingshot Interconnect 200 Gbps network โดยในปี 2023 ติดอันดับ 94 Fastest Supercomputer และ 30 Greenest Supercomputer on the TOP500 List ซึ่ง LANTA ยังเป็นเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ (warm water cooling) เป็นที่แรกของประเทศไทย ให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนสูงกว่าการระบายความร้อนด้วยอากาศ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ในระยะยาว ที่ผ่านมา LANTA ได้นำไปใช้ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ในโครงการที่สำคัญของหน่วยงานต่างๆ อาทิ โครงการสร้างแบบจำลองมลพิษ ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ, การิเคราะห์ลำดับพันธุกรรม เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อมูลระดับจีโนม โดยกลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigation (CONI) เป็นต้น
หน่วยงานที่สนใจใช้บริการ LANTA Supercomputer สามารถติดต่อได้ที่
email: thaisc@nstda.or.th
เกี่ยวกับโครงการ e-Science
โครงการภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science (National e-Science Infrastructure Consortium) เป็นโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ High Performance Computer (HPC) ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมของประเทศ และสนับสนุนความร่วมมือด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงระหว่างประเทศไทยและเซิร์น เพื่อยกระดับงานวิจัยของประเทศไทยให้ทัดเทียมงานวิจัยระดับนานาชาติ
ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science จึงเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา กว่า 12 หน่วยงาน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ระบบจัดเก็บข้อมูล และซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับสนับสนุนงานวิจัยพัฒนา และนวัตกรรมภายในประเทศ โดยรองรับงานวิจัยด้านวิทยาการคำนวณ 3 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง (High Energy Particle Physics) วิทยาการและวิศวกรรมเชิงคำนวณ (Computational Science and Engineering) และวิทยาการและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Science and Engineering) นอกจากนี้ ภาคีฯ ยังมุ่นเน้นในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนา HPC สร้างความเข้มแข็งของประชาคมผู้ใช้งาน HPC ตลอดจนความร่วมมือกับเซิร์น และยังมุ่งขยายผลการให้บริการทรัพยากรไปสู่หน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
ท่านที่สนใจสามารถติดตามรับชมบันทึกสัมมนา eHPC2024 ย้อนหลังได้ เร็วๆ นี้ ทาง Facebook National e-Science Infrastructure Consortium https://www.facebook.com/eScienceConsoritum