เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ดร.ปรัชญา บุญขวัญ หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST) กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) ร่วมเสวนา“ห้องข่าวในอนาคต” ในเวที Thai PBS World Forum : AI AND THE FUTURE OF NEWSROOM
โดย ดร.ปรัชญา กล่าวถึง แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในห้องข่าวด้วยที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร โดยก่อนอื่นขอแนะนำ Chat GPT กับ Generative AI ว่าคืออะไร Generative AI คือ AI หรือว่าปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถนำมาสร้างคอนเทนต์ใหม่ได้โดยที่คอนเทนต์นั้นอาจไม่เคยมีอยู่บนโลกมาก่อนเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น Chat GPT ที่มีการใช้กันอยู่ทั่วไป เป็น AI เน้นคำสั่งและแสดงผลด้วยภาษา, DALL E โปรแกรม AI Generate ภาพที่สามารถสร้างภาพจากคำสั่งของเราได้เลย), VALL-E AI ที่สามารถสังเคราะห์เสียงโดยจำลองเสียงของคุณได้ เป็นต้น
สำหรับ Chat GPT ทำได้หลายอย่าง ทั้งตอบคำถามเกี่ยวกับการแพทย์ หรือกรณีของ DALL E การสร้างภาพจากคำสั่ง ก็สามารถสร้างภาพขึ้นมาได้เลย นอกจากนี้ยังมี Google Bard (Chat GPT+ Search Engine) คือ การที่จะตอบคำภามจะมีการค้นคำตอบจากใน Google ก่อนแล้วนำคำตอบมาผสม เพื่อสร้างเป็นคำตอบสำหรับเราอีกที ดังนั้นเป็นการใช้ทั้ง Chat GPT และ google bard อีกด้วย
โดยนักข่าวสามารถนำ Chat GPT และ google bard มาประยุกต์ใช้ในงาน ดังนี้
– ถามคำถาม โดยสามารถให้อธิบายเป็นภาษาของวัยใด
– สรุปข่าวเป็นประเด็น
– เขียนจดหมาย หรือ บทความ
– ปรับคำพูด หรือขยายความจากเนื้อหาที่มีอยู่แล้วเพื่อปรับแก้อีกรอบหนึ่งก่อนนำไปใช้
– ขอ ideal ในการเขียนบทความ เพื่อให้น่าสนใจ ติดหูมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถสร้างได้
– การแต่งกลอน ใน Chat GPT ภาษาอังกฤษ
– การวาดภาพ บน Chat GPT ผ่านทางมือถือ
เหล่านี้คือตัวของของการใช้ Chat GPTในห้องข่าวนอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น เขียนข่าวอัตโนมัติ ถังความรู้ในการเช็คคำคอบก่อน หรือสำนักข่าวไหนอยากได้ Engagement จากผู้อ่านเยอะๆสามารถสร้างเป็น Quiz (ตอบคำถามชิงรางวัลท้ายข่าว), ใช้ในการคัดเลือกข่าวให้ตรงกับความต้องการ, สรุปข่าว, ตรวจสอบความจริง และหากจะไปในขั้น Advance สามารถใช้ AI มาช่วย Detect ความเห็นของคนที่เข้ามาแสดงความเห็นได้ และ สามารถทำเป็น Chat Bot ได้ โดยสรุปแล้ว จะสังเกตว่า AI อยู่ในห้องข่าวตลอดเวลา