สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมหารือการใช้ AI หนุนกระบวนการทำงานด้านสืบค้นคดี

Facebook
Twitter

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 เนคเทค สวทช. นำโดย ดร.ปรัชญา บุญขวัญ หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST) กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) ดร.พรพรหม อธีตนันนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล (SPE) ร่วมด้วยทีมวิจัย LST ได้ให้การต้อนรับ คุณจำเนียร คงถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ พร้อมด้วย พนักงานอัยการ และผู้แทนจากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด ในโอกาสมาร่วมหารือแลกเปลี่ยนโจทย์ความสนใจ และความเป็นไปได้ในการพัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อาทิ ระบบการสืบค้นคดี แนะนำค้นหาคำฟ้องที่ถูกต้อง, ช่วยสรุป ตรวจสอบเอกสารในสำนวนคำฟ้อง, การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง พยานหลักฐานที่จำเป็นต่อคดี เพื่อยกระดับสนับสนุนกระบวนการทำงานของสำนักงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST) อีกหนึ่งทีมวิจัยภายใต้กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน

– Corpus Technology
– Deep Learning and NLP
– Machine Translation
– Ontology
– Semantic Web
– Knowledge Graph
– Retrieval Augmented Generation

มุ่งเน้นพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นข้อความภาษาไทย และการเข้าใจความหมายของภาษา ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางภาษา การพัฒนาแพลตฟอร์มการประมวลผลภาษา การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานข้อมูลภาษาไทย โดยผลงานเด่น ได้แก่ ระบบแปลภาษาอัตโนมัติจีน – ไทย (Chinese-Thai Neural Machine Translation), พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Lexitron), นวนุรักษ์ (NAVANURAK)แพลตฟอร์มเพื่อการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ, ระบบตัดคำ กำกับชนิดของคำ ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ และระบบการจัดการฐานความรู้เชิงความหมาย

ซึ่งมีโอกาสร่วมสนับสนุนการพัฒนาบริการดิจิทัลให้กับหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง อาทิ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพัฒนา ร่วมพัฒนา แอปพลิเคชันพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554, แอปพลิเคชันอ่านอย่างไรเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, แอปพลิเคชันชื่อบ้านนามเมือง, ระบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2554 ออนไลน์, ระบบศัพท์บัญญัติออนไลน์

ปัจจุบันทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา Thai Large Language Model (ThaiLLM) ร่วมกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) เพื่อสร้างแบบจำลองทางภาษาขนาดใหญ่ เพื่อสร้างโมเดลที่ถูกเทรน หรือฝึกฝนด้วยข้อมูลมากมายมหาศาล เพื่อให้สามารถเลียนแบบการพูดของมนุษย์ตามบริบทที่เหมาะสม พัฒนาต่อยอดไปสู่ระบบ Chat bot ให้บริการสืบค้น ถาม-ตอบ ข้อมูลหน่วยงาน อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

สนใจติดตามข้อมูล หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย