NECTEC Smart Garden เป็นสวนพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ใจกลางตึกเนคเทค สวทช. และรายล้อมด้วยห้องประชุมเพื่อเป็นจุดผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงาน และเนื่องจากเนคเทค สวทช. มีกลุ่มเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเป้าหมายการพัฒนา คณะนักวิจัยจึงได้เนรมิตรให้สวนพันธุ์ไม้แห่งนี้ เป็นสถานที่ showcase ระบบด้านเกษตรอัจฉริยะของเนคเทค สวทช.
ความโดดเด่นของ NECTEC Smart Garden
ความโดดเด่นของ NECTEC Smart Garden คือ การ Customize ระบบและเทคโนโลยีด้านการเกษตรแม่นยำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลจัดการสวน กล่าวคือ หยิบชิ้นส่วน หรือ องค์ประกอบ ของผลงานวิจัยทางด้านการตรวจวัดและควบคุมแบบอัตโนมัติของเนคเทค สวทช. มาปรับสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับพันธุ์ไม้ที่มีความต้องการน้ำ แสง ความชื้น ที่แตกต่างกัน มาอยู่ภายในสวนเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น กล้วยไม้ เฟิร์นข้าหลวง คล้ากาเหว่าลาย เสน่ห์จันทร์แดง เป็นต้น รวมถึงบ่อปลาคราฟด้วย
NECTEC Smart Garden ประกอบไปด้วย
ระบบตรวจวัดสภาพน้ำ คือ อุปกรณ์เซนเซอร์และอุปกรณ์ชุดรับส่งสัญญาณค่าการตรวจออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ค่าอุณหภูมิของน้ำในบ่อเลี้ยง (Temp) และค่าความเป็นกรดด่างของน้ำในบ่อเลี้ยง (pH)
ระบบให้แสงสำหรับกล้วยไม้ คือ อุปกรณ์เพิ่มความเข้มแสงให้พืชที่ปลูกในร่มโดยมีการเพิ่มความเข้มแสง ความถี่ และระยะเวลาให้เหมาะสมกับชนิดของพืช
ระบบรดน้ำและควบคุมความชื้นสัมพัทธ์อากาศ คือ การติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดความชื้นดิน และ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เพื่อมอนิเตอร์และสั่งการระบบน้ำในสวนโดยอัตโนมัติ
โดยข้อมูลจากทั้ง 3 อุปกรณ์จะแสดงผลบน Smart Garden Dashboard ผ่าน NETPIE Platform IoT โดยผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลแบบ Real-time และสั่งการระบบผ่าน Dashboard ได้อีกด้วย
Precision Farming Platform แพลตฟอร์มเพื่อเกษตรแม่นยำ
Precision Farming Platform แพลตฟอร์มเกษตรแม่นยำ เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เน้นการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ ระบบ และปัญญาประดิษฐ์สำหรับการติดตั้งใช้งานในพื้นที่การเกษตรในงบการลงทุนที่เป็นไปได้
Key Result of Precision Farming Platform
- แพลตฟอร์มข้อมูลการเกษตร (Agriculture Open Data Platform)
แพลตฟอร์มบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้บริการเป็นข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open Data) ในรูปแบบ API - ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ด้านการเกษตรของประเทศ (Big Data Analytic) เช่น ข้อมูลสภาวะแวดล้อม ข้อมูลสภาพอากาศ ภูมิประเทศ และประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนดำเนินงาน เช่น คาดการณ์ระยะเพาะปลูก การให้ปุ๋ย ปริมาณน้ำ และผลผลิต เสนอแนะวันที่ควรเก็บเกี่ยวหรือขนส่งผลผลิต ตลอดจนพยากรณ์และเตือนภัยด้านการเกษตร - ระบบควบคุมการเกษตรแม่นยำสูง (Presicion Agriculture Control System)
อาศัยเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เช่น IoTs, Embedded Systems, เพื่อพัฒนาระบบควบคุมด้านการเกษตรทั้งการเพาะปลูกพืช เช่น ระบบควบคุมการให้น้ำ, ระบบควบคุมสภาพอากาศในโรงเรือน และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง เป็นต้น - ระบบตรวจสอบสภาพพืชสัตว์และสิ่งแวดล้อม (Plant, Animal and Environmental Monitoring System)
อาศัยเทคโนโลยี Remote Sensing, Phenotyping, Photonics, Sensors, Image Processing ตรวจสอบสภาพพืชสัตว์และสิ่งแวดล้อม เช่น การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การตรวจวัดจุลินทรีย์ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ การวินิจฉัยโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยภาพ เป็นต้น
Precision Farming Value Chain
เนคเทค สวทช. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรแม่นยำ (Precision Farming Platform) ตอบโจทย์ห่วงโซ่การทำเกษตรกรรม ตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ การผลิต และหลังการเก็บเกี่ยว
- หลังการเก็บเกี่ยว (Post Harvesting) : การวิจัยและพัฒนาระบบที่ให้ข้อมูลด้านราคารับซื้อผลผลิต การตลาด และการลงทุนด้านการเกษตร
- Agri-map: ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก
- ชาวเกษตร: ระบบบริหารจัดการปฏิทินการเพาะปลูกพืช
- Farm to School: ระบบเชื่อมโยงผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน
- การผลิต (Production): การวิจัยและพัฒนาระบบและเทคโนโลยีเพื่อการผลิต ผลผลิตด้านการเกษตรในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างผลงานวิจัย เช่น
- เกษตรแปลงเปิด
- WimaRC ระบบไร้สายสำหรับตรวจวัดและควบคุมอัตโนมัติด้านการเกษตร
- โรงเรือน และ Plant Factory
- HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ
- Eco Plant Factory ระบบควบคุมสภาพอากาศในโรงเรือนปิดสำหรับพืช Hydroponic
- สัตว์น้ำ
- นวัตกรรมอัจฉริยะเพื่อฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- เกษตรแปลงเปิด
- การปรับปรุงพันธุ์ (Breeding): การวิจัยและพัฒนาระบบและเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงพันธุ์
- การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว
- การวิเคราะห์สัณฐานวิทยาข้าว
- การตรวจเพศดักแด้ไหม
แพลตฟอร์มคาดการณ์ผลผลิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร (Predictive Farming Platform) คือ แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูล 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ข้อมูลภาคอากาศ ข้อมูลภาคพื้นดิน และข้อมูลสุขภาพพืช ร่วมกับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytic) และเทคโนโลยีการประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) เป็นต้น เพื่อสร้างโมเดลเฝ้าระวังสุขภาพพืช (Crop Health Monitoring) รวมถึงโมเดลการพยากรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำนายผลผลิตต่อพื้นที่ (Yield) เป็นต้น นำไปสู่แพลตฟอร์มการคาดการณ์ผลผลิตทางการเกษตรระดับประเทศต่อไป
ไวมาก “WiMaRC” (Wireless sensor network for Management And Remote Control) คือ ระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ ทํางานภายใต้ Cloud IoT Platform แสดงผลแบบเรียลไทม์ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน สามารถประยุกต์ใช้งานได้ทั้งงานด้านการเกษตร และ โรงงาน
HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม ด้วยหวังให้เกษตรกรไทยได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ในราคาที่จับต้องได้
จากการติดตั้งใช้งานจริงในหลายจังหวัดทั่วประเทศพิสูจน์แล้วว่า HandySense สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างน้อย 20% จากการลดต้นทุนผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสู่การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
Aqua-IoT นวัตกรรมอัจฉริยะเพื่อฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
ระบบตรวจสอบสภาวะบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำแบบ Real-time ผ่านคลาว์ไอโอที ช่วยในการเฝ้าระวัง ส่งเสริมศักยภาพในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที และวางแผนป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากสภาวะต่างๆ ในบ่อเลี้ยงได้ โดยเฉพาะในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและปลากะพง สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
Eco Plant Factory คือ ระบบสำหรับควบคุมระบบปรับสภาพแวดล้อมในระบบปิดสำหรับปลูกพืช Hydroponics ที่มีการใช้แสงเทียมในการปลูกพืช สามารถควบคุมช่วงเวลา และความยาวนานในการให้พืชสังเคราะห์แสง รวมทั้งการควบคุมทั้งอุณหภูมิ ความชื้น และระดับก๊าซ CO2 ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของพืชที่ผลิต