แนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกปี 2566 พร้อมแนวทางรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตโลกต่ออุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย

Facebook
Twitter

บทความ | นัทธ์หทัย ทองนะ

จากปัญหาสภาพเศรษฐกิจในปี 2565 ส่งผลต่อความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง ภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า เงินเฟ้อ สภาพของเศรษฐกิจที่ถดถอยอยู่เบื้องหน้า แต่จากวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจจากทั่วโลกแล้ว ท่ามกลางบรรยากาศเหล่านี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลับได้รับผลกระทบน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวด้วยศักยภาพที่มีอยู่ โดยสามารถคาดการณ์ถึงสถานการณ์และโอกาสที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ต่อภาคอุตสาหกรรมในหลากหลายมุมมองได้ 

สาระสำคัญจากเวที INTERMACH EXCLUSIVE NIGHT เปิดประสบการณ์โลกอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ไปกับงาน อินเตอร์แมค ร่วมรับฟังแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยและเศรษฐกิจของโลก จากผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา 

บริบทของสภาวะที่เศรษฐกิจโลกถดถอยเป็นโอกาสหรือความเสี่ยง

คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าแนวโน้มปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลกในจังหวะนี้เป็นช่วงที่เปราะบางมากที่สุดเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา อันดับแรกจะเห็นได้จากตัวเลขหนี้สาธารณะของทุกประเทศทั่วโลกโดยเฉลี่ยขึ้นมาปริ่มๆเกือบ 100 % เมื่อเทียบกับระดับ GDP ของโลก แต่สำหรับประเทศไทยขึ้นมาเพียง 60 % และโชคดีที่หนี้สาธารณะเป็นหนี้ในสกุลเงินบาท ขณะที่หลายเดือนที่ผ่านมามีนโยบายทางการเงินของบางประเทศโดยเฉพาะในประเทศโลกตะวักตกที่ต้องต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ มีนโยบายการปรับเปลี่ยนของดอกเบี้ยในทุกๆ 2 หรือ 3 เดือน และมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มมากขึ้นจากทุกธนาคารกลาง ไม่เว้นแต่แม้นธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยล้วนเป็นผลมาจากต้นทุนการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน ปุ๋ย ที่มีราคาแพง เป็นต้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นการเพิ่มดอกเบี้ยก็ไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าเหล่านั้นลดลง จึงต้องหาความสมดุลเชิงนโยบาย แต่ปัญหาแท้จริงที่เกิดขึ้น คือ ปัญหาส่วนต่างดอกเบี้ยของสหรัฐอิเมริกากับทุก ๆ ประเทศของโลกรวมไปถึงประเทศไทยด้วยผลลัพธ์ คืออัตราดอกเบี้ยที่อ่อนค่าลง และมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงเรื่อย ๆ และคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทอาจจะอ่อนค่าลงจนแตะที่ 40 บาทก็เป็นได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อผู้ที่นำเข้าวัตถุดิบ ขณะในทางกลับกันจะเป็นผลดีต่อผู้ที่ส่งออกสินค้า แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนักเพราะสกุลเงินแทบทุกประเทศล้วนอ่อนค่าลงพอๆ กันเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ 

โดยสรุปแล้วสิ่งที่ฉุดเศรษฐกิจโลกมากที่สุด ณ ขณะนี้ คือค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ผลต่อภาระการชดใช้หนี้และดอกเบี้ยต่อผู้ประกอบการที่กู้ยืมเงินเป็นดอลลาร์ หรือระดับประเทศที่มีการกู้ยืมเงินเป็นสกุลดอลลาร์ด้วยเช่นเดียวกัน โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าในกลางปี 2566 มีแนวโน้มสูงมากที่จำนวนหลายประเทศในโลกจะเข้าสู่สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอย กล่าวคือ ประเทศจะมีอัตราการโตทางเศรฐกิจโดยเฉลี่ยเพียง 1 หรือ 2 % เท่านั้น เป็นการลดลงของ GDP เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขจัดผลของฤดูกาลแล้ว และติดลบอย่างน้อย 2 ไตรมาสติดต่อกัน และสภาวะหนี้สาธารณะเข้าสู่วิกฤตจนอาจต้องเข้าไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)ได้ ในระดับมหภาคสัดส่วนของหลายๆประเทศที่ประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยล้วนส่งผลต่อภาวะต่อเศรฐกิจโลกที่จะตามมา ซึ่งต้องยอมรับว่าประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ต้องรับสภาพมากกว่าจะมีส่วนในการกำหนดทิศทาง เหล่านี้คือสิ่งที่จำเป็นต้องรับรู้เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย 

economy-industry- (7)

ความคืบหน้าของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2566

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษาบุคลากรและเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย-ตะวันออก (สกพอ.) มุมมองสู่อุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่าเรื่องแรกที่สำคัญมากนับเป็นปรากฎการณ์ครั้งแรกที่มูลค่าเทคโนโลยีและมูลค่าการใช้งานเทคโนโลยีมีค่าเท่ากัน ในอดีตการจะใช้เทคโนโลยีอย่างเซมิคอนดัก อดีตเป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าถึงและหาซื้อมาใช้ด้วยปัจจัยด้านราคา แต่ปัจจุบันมูลค่าของเทคโนโลยีเพิ่มเป็น 50% เท่ากับความต้องการในใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นของเซมิคอนดักเตอร์ที่มีมูลค่าการใช้งานถึง 50 % เมื่อเทียบกับสมัยก่อน สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยแม้นจะไม่ได้คิดเทคโนโลยีเองแต่ก็ตามแต่ก็ใช้งานได้เก่ง ยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) การใช้งาน cloud Adoption Services by Private Sector ที่เพิ่มสูงขึ้นถึง จาก 20% เป็น 75% เกือบ 2 เท่าตัวแม้นแต่การ work from home ก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกัน นับว่าคนไทยคุ้นชิ้นกับการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างมาก

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) เป็นอย่างดีในเรื่องของเทคโนโลยีพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่นแบตเตอรี่ BOI เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขจากบริษัทต้นแบบต่างประเทศในการถ่ายทอดองค์ความรู้บางอย่างที่จำเป็น เพื่อให้ local supply chain และ supply chain สามารถทำงานร่วมกันได้ 

เป้าหมายใน 3-4 ปี ที่ EEC ต้องการดึงดูดคือ บริษัทที่ความสามารถด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องโครงสร้างพื้นฐานที่ EEC ได้ลงไปแล้วกว่า 80-90% มั่นใจได้ว่าด้วยกลไลของ Gross Provincial. Product: GPP) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ตั้งเป้าไว้ว่าในแต่ละปีต้องมีการลงทุนไม่ต่ำกว่า 2 แสนกว่าล้านใน 5 ปีข้างหน้าจาก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ โดยปีแรกจะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV เพียงปีแรกก็มีบริษัทมาร่วมลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านจากเป้าที่ตั้งไว้ถึง 4 หมื่นล้าน ต่อด้วย Monorail จะเข้ามาอีก 2 แสนล้านในปีถัดไป
  • 5G อุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นเรื่องที่โชคดีมากที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. ได้ประมูลคลื่นความถี่ 5G แล้วครอบคลุม สัญญาน 700 MHz 2600 MHz และ 2.6 GHz และ 26 GHz  เพราะย่านถี่ 700 MHz นำไปทำเรื่อง Smart City ย่านความถี่ 2.6 GHz เหมาะกับการใช้งาน Industrial 4.0 หรือ Hight Bandwidth เป็น Wireless High Telecom ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับงานด้านสาธารณสุขและศึกษาต่อไป ล่าสุดเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่จะมีบริษัทรายใหญ่สนใจจะใช้ประโยชน์จาก 5G เช่น ผู้เล่นอย่าง Google หรือ AWS สนใจเข้ามาตั้งดาต้าเซนในประเทศไทย และเพื่อให้เกิด Data Industrial ทาง EEC อาจมีแนวคิดในการตั้ง Common data lack ในอนาคตก็เป็นได้ เพื่อให้อุตสาหกรรมข้อมูลมาใช้ประโยชน์
  • อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง ทาง EEC มีความร่วมกับประเทศจีน พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือกับทางสวิสเซอร์แลนด์  ในการสร้างศูนย์ Genomics ที่ใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อดึงดูดผู้ลงทุนด้าน Biologic เช่น ยาสมัยใหม่  
  • อุตสาหกรรมขนส่งโลจิติกส์ EEC สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ดำเนินการด้านโลจิสติกส์ในพื้นที่มากขึ้น เช่น การขนส่งที่สนามบินอู่ตะเภา

โดยสรุปจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้นักลงทุนเข้ามาใช้ประเทศน้อยลง แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง และมีการเปิดประเทศมากขึ้น ความน่าลงทุนในประเทศไทยยังคงมีทิศทางที่ดีและสามารถไปต่อได้ สิ่งที่ดำเนินการไปแล้วมีแนวโน้มที่จะสัมฤทธิ์ผลสูง 

economy-industry- (8)

ภาพรวมการฟื้นตัวในภาคอุตสาหกรรมไทย

คุณมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและประธานสายงานเศรษฐกิจและวิชาการ กล่าวว่าการฟื้นตัวในภาคอุตสาหกรรมมีทั้ง 2 มุม หากวิเคราะห์จากตัวเลขข้อมูลดัชนีอุตสาหกรรม(MPI) หลังช่วงเดือนสิงหาคม 2565 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น การผลิตในโซนพื้นที่เอเชียตะวันออกฉียงใต้เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนาม ประเทศไทยมีการปรับตัวที่ดีขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าหลังช่วงโควิด-19 หลังไตมาสที่ 3 ในปี 2565 MPI ของไทยกลับมาอยู่เกือบจะช่วงปกติ แต่ปัญหาเรื่อง Trade War ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และที่สำคัญคือปัญหาพลังงาน ล้วนมีผลต่อราคาต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรม 

intermach (9)

ท่ามกลางโควิด-19 ที่จางลงแต่ยังคงอยู่ก็ตามที ทำให้เมื่อต้นปี 2565 สภาอุตสาหกรรมมีการสำรวจแนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิตไทยจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานของไทย พบว่า 25 กลุ่ม มีอัตราการเจริญเติบโต และอีก 20 อุตสาหกรรมที่อยู่ในภาวะทรงตัว ทำให้ผู้ประกอบที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวต้องทบทวนว่าจะไปต่อหรือไม่

แม้นสถานการณ์ดังกล่าวเป็นแบบนี้แต่ดัชนีอุตสาหกรรม(MPI) ยังเป็นบวก สิ่งที่ท้าทายคือปัจจัยรอบข้างที่เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

economy-industry- (4)

จับตาแนวโน้ม “ยานยนต์ไฟฟ้า” อุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย

คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าและผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร-บีเอ็มดับเบิล ยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่ากระแสยานยนต์ไฟฟ้าของทั้งโลกมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากกลุ่ม Plugin-Hybrid และ Battery electric Vehicle หรือ ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ซึ่งการเติบโตส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประเทศจีน ที่มีมากกว่าครึ่งถึง 300 โมเดลเป็นหลัก เพราะฉะนั้นจีนจึงเป็นประเทศมหาอำนาจของยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแท้จริง โดยการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในแต่ละประเทศจะมีการเติบโตที่ไม่เท่ากัน

ขณะที่การเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้เติบโตด้วยตัวเอง แต่มาจากนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นหลัก โดยในช่วงต้นรัฐบาลของแต่ละประเทศจำเป็นต้องอุดหนุนเพื่อผลักดันให้ประชาชนเกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า แต่อาจเพราะความกังวลของประชาชน เช่น สถานีชาร์จไฟฟ้า จึงยังไม่พร้อมที่จะใช้งาน

ประเทศไทยในปี 2565 รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมในงาน motor Show Thailand 2022 ทำให้บริษัทที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่จากต่างประเทศร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงทันที่ และรถยนต์ไฟฟ้ามีการการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย โดยเฉพาะ xEV ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าอย่างเดียว ขณะเดียวกันก็มีคำถามตามมาว่าประเทศไทยช้าไปในการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้ารวมไปถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงขึ้นถึง 9.58 % ในปี 2022 ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งโลก (6.6 ล้านคัน)

economy-industry- (5)

ภาพรวมอุตสาหกรรมพลาสติกของโลกและไทย

คุณวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถานบันพลาสติกกล่าวว่าประเทศไทยมีการผลิตเม็ดพลาสติก 9.6 ล้านตัน และมีแนวโน้มการผลิตมากขึ้น โดยอีก 2 ปีข้างหน้าก็ยังมีการผลิตมากขึ้นในลักษณะของไบโอพลาสติก ทั้งการนำเข้าและส่งออก ถ้าพิจารณาถึงมูลค่าการเปลี่ยนจากเม็ดพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกต่อปี จะเฉลี่ยที่ 1.2  ล้านๆ หรือ 7% กว่าของ GDP

จะเห็นได้ว่ากว่า 80% เม็ดพลาสติกที่ถูกเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติก เริ่มจาก บรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนรถยนต์ หรือ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ จนอาจกล่าวได้ว่าพลาสติกเองอยู่ในรูปของ Finish Product และ Componence  เช่น ชิ้นส่วนยนต์ จัดเป็น Componence บรรจุภัณฑ์จัดเป็น Finish Product กว่า 40 % เป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งที่โดดเด่นขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ผ่านก็คือ อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ แม้นสัดส่วนยังน้อยแต่มีการโตที่สูงขึ้นเมื่อลงไปสำรวจจึงพบกว่าอุปกรณ์การแพทย์ส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า ในช่วงเกิดสถานการณ์โควิด-19 จึงประสบปัญหา supply chain ในการนำเข้า ทำอย่างไรให้ Local Supply Chain ในประเทศมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Disposable Device (อุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้งไป)

โดยทิศทางหลักของอุตสาหกรรมพลาสติกจะมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วด้วยปัญหาเศรษฐกิจและกระแสสังคม ตั้งแต่ปี 2560 กระแสเรื่อง Plastic Less จากทั่วโลก และในต้นปี 2563 ประเทศไทยมีประกาศลดการใช้ถุงพลาสติกภายในประเทศ โดยขอความร่วมมือจากร้านค้าไม่แจกจ่ายถุงพลาสติก แต่เมื่อพิจารณาถึงทิศทางของอุตสาหกรรมพลาสติกกลับโตสูงขึ้น แนวโน้มของอุตสาหกรรมพลาสติกมีความเกี่ยวข้องกับสัดส่วน(Ratio) เกี่ยวกับ GDP Growth หรือ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ถึง 1.5 หรือ 2 เท่า ของอุตสาหกรรมทั้งโลก

ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรนั้นโดยเฉพาะ SME Thai ส่วนใหญ่กว่า 90 % จะเป็นขนาดกลางและขนาดเล็กอีก 10 % เป็นโรงงานขนาดใหญ่ จาก 3,200 กว่าโรงงาน และเป็นผู้แปรรูปเม็ดพลาสติกกว่า 70 % นอกนั้นแบ่งธูรกิจออกเป็บหลายรูปแบบ

แต่แนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้น คือ ธุรกิจรีไซเคิล ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจด้านการส่งออกโฟมเม็ดไม่ว่าจะเป็นจีน (ตลาดใหญ่) เวียดนาม อินโดนีเซีย เช่น ประเทศจีนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก มีการปรับลดการนำเข้าบ้างแต่ไม่มาก ดั้งนั้นแนวโน้มอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทยมีการโตแต่โตไม่ที่ควรนัก ซึ่งมูลค่ามีผลต่อราคาเม็ดพลาดสติกที่ไม่ได้แปรผันโดยตรงเลยที่เดียว ตัวอย่างเช่น การปรับตัวของราคาน้ำมันที่ขึ้นอย่างรวดเร็วมีผลต่อราคาเม็ดพลาสติกเป็นต้น ทางด้านผลิตภัณฑ์พลาสติกของประเทศไทยมีการส่งออกเยอะมากขี้น อย่างในปีนี้มีการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

โดยสรุปแล้วแนวโน้มของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทยยังคงไปต่อได้ แต่จะได้รับผลกระทบจากเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนโยบายของรัฐบาลต่ออุตสาหกรรมพลาสติกเกี่ยวกับ BCG ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เกือบทั้งหมด B ที่มีพูดถึงคือ Bioplastic คือ พลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ส่วน C คือ Circular คือการเอาพลาสติกมาหมุนเวียน ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการหมุนเวียนพลาสติกเพียง 18% เท่านั้น ประกอบกับใน 1-2 ปี ที่ผ่านมา มีการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก จุดประสงค์เพื่อให้นำพลาสติภายในประเทศกลับใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะในแต่ละปีประเทศไทยมีเศษพลาสติกไม่ต่ำกว่า 2 ล้านกว่าตัน จึงเป็นสิ่งที่ช่วยอุตสาหกรรมพลาสติก นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย เพราะการใช้รีไซเคิลเม็ดพลาสติกจะเป็นทางออกในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากพอสมควร