วันที่ 11 มกราคม 2566 ดร.สุทธิพงศ์ ธัชยพงษ์ หัวหน้าทีมวิจัย พร้อมด้วย ดร.ปวรัตน์ นนทศิลป์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) เนคเทค สวทช. ในฐานะทีมผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐของประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุม AI for Social Good: 2nd Virtual Project Meeting ซึ่งเป็นโครงการที่ได้การสนับสนุนจาก United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP), Association of Pacific Rim Universities (APRU) และ Google โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมการประชุมด้วย เช่น APRU, Australian National University (ANU), National University of Singapore (NUS) และ Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council (NXPO) เป็นต้น
โดยในที่ประชุมได้มีการนำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าของ 4 โครงการ โดยมีการนำเสนอรายงานฉบับที่ 1 ของแต่ละโครงการ ประกอบไปด้วย
1. โครงการ Responsible Data Sharing, AI Innovation and Sandbox Development: Recommendations for Digital Health Governance in Thailand: What are the fundamental obstacles to accessing medical and healthcare data in Thailand & how can these be mitigated using data sharing guidelines and through the development of a digital health sandbox
2. โครงการ Raising Awareness of the Importance of Data Sharing and Exchange to Advance Poverty Alleviation in Thailand: Poverty Reduction in Thailand
3. โครงการ AI in Pregnancy Monitoring: Technical Challenges for Bangladesh: What are the technological challenges that Bangladesh would need to prepare for embed AI into the continuous pregnancy monitoring system และ
4. โครงการ Mobilizing AI for Maternal Health in Bangladesh (MAMaH)
ซึ่งในโครงการ “Raising Awareness of the Importance of Data Sharing and Exchange to Advance Poverty Alleviation in Thailand” นั้น ดร.สุทธิพงศ์ ได้ร่วมในการดำเนินงานในโครงการ โดยให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform that targets poverty alleviation) ที่ได้ร่วมพัฒนากับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและระบบ SME-GP (Thai Small and Medium Enterprise for Government Procurement) ที่ร่วมพัฒนากับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และให้ความเห็นต่อรายงานที่นำเสนอโดย ดร. Sarah Logan ซึ่งข้อสรุปของโครงการจากรายงานฉบับแรกนี้ ได้มีการแนะนำแนวนโยบายเบื้องต้น อาทิ ผู้กำหนดนโยบายของไทยควรพิจารณาใช้กรอบ เพื่อส่งเสริมให้มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัดกับ TPMAP และระหว่างภาคธุรกิจขนาดเล็กกับ SME-GP
ดร.สุทธิพงศ์ ได้เสริมว่าในฐานะที่เป็นหน่วยงานวิจัยที่เน้นการปฏิบัตินำไปใช้ได้จริง หากข้อสรุปสุดท้ายของโครงการนี้นำมาซึ่งแนวทางที่สามารถนำไปหารือกับผู้จัดทำนโยบายเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริงแบบจับต้องได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างยิ่ง