เนคเทค สวทช. มอบรางวัล โรงเรียนวัดห้วยจระเข้วิทยาคม เวทีประยุกต์ใช้ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรียน (HandySense)

Facebook
Twitter
24 พฤษภาคม 2565 ณ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จ.นครปฐม คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT) ผู้พัฒนาระบบและที่ปรึกษาโครงการ และคุณศิริพร ปานสวัสดิ์ ผู้จัดการงานประชาสัมพันธ์ เนคเทค สวทช เดินทางไปมอบรางวัล แก่ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จ.นครปฐม ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันโครงการส่งเสริมสวนเกษตรอัจฉริยะในโรงเรียนยุคปกติใหม่ (New Normal)
โดยมี นางสาวศจี ชินอักษร ผู้อำนวยการโรงเรียน นางเบญจวรรณ แสงทอง รองผู้อำนวยการ นางขนิษฐา วรฮาด นางมัทนี เสียงเสนาะ และนายชัยชนะ นุชฉัยยา อาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมด้วยคณาจารย์ให้การต้อนรับพร้อมนำชมพื้นที่แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแปลงเพาะปลูกพืชผักสวนครัวที่จะใช้ติดตั้งระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ และศูนย์เรียนรู้ด้านธรณีวิทยาภายในโรงเรียน โดย คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ได้ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในการติดตั้งระบบ HandySense ระบบน้ำ ไฟ รวมถึงแนวทางการปลูกและดูแลมะเขือเทศภายในโรงเรือนที่โรงเรียนกำลังดำเนินการ

สำหรับรางวัลที่โรงเรียนฯ ได้รับ ประกอบด้วย บอร์ด HandySense และเซนเซอร์สนับสนุนโดย บริษัท Synergy Technology จำกัด เงินรางวัลมูลค่า 1,000 บาท พร้อมด้วยโล่รางวัล และเกียรติบัตร

โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม ได้นำเสนอโครงการ “ชื่อโครงการสวนเกษตรอัจฉริยะอนาคตใหม่ของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม” เป็นพื้นที่สาธิตตัวอย่างส าหรับการน าเทคโนโลยีด้านการเกษตรแนวคิดใหม่ มาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ HandySense ในโครงการนี้จะมีการพัฒนาโดยติดตั้งระบบ HandySense เข้ากับระบบควบคุมด้วยบอร์ด Raspberry Pi3 ที่มีการท างาน 3 ระบบ คือ 1) ระบบพ่นหมอกลดอุณหภูมิ 2) ระบบรดน้ำในดิน 3) ระบบให้ปุ๋ยน้ำ ใน 2 ระบบแรกออกแบบให้มีการควบคุมการท างานผ่านระบบ AI ด้วยอัลกอริทึม Neighbor Distance มีผลทำให้ลดอุณหภูมิในอากาศได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องเช่นเดียวกับระบบรดน้ำจะทำให้พืชได้รับน้ำได้อย่างเพียงพอและถูกต้อง ซึ่งจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีผลผลิตสูงขึ้น ในระบบที่ 3 มีการทำงานตามช่วงเวลา ทุกระบบสามารถควบคุมการทำงานแบบ Online ได้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อลดความต้องการในการใช้แรงงาน ประหยัดต้นทุน พลังงาน เพิ่มผลผลิต ควบคุม การท างานของระบบผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานอื่น ๆ และเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ