ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) โดย กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมอบรม “Industrial Automation Training Systems” รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2565 ณ อาคาร Nectec Pilot Plant สวทช. จ.ปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ อาจารย์ และ บุคคลทั่วไป ได้รับความรู้ระบบการควบคุมระบบอัตโนมัติและสามารถประยุกต์ใช้งานและออกแบบระบบควบคุมระบบอัตโนมัติ 4.0 เตรียมความพร้อมสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่ต้องเร่งปรับตัวสามารถเลือกลงทุนกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อกลับไปประยุกต์ใช้กับโรงงานของตนเอง
ภาพบรรยากาศการอบรมตลอด 5 วัน โดย อาจารย์ศิริโรจน์ งามเขียว บริษัท แอลดี ไดแด็คติค (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณธีรัช จันจองคำ ทีมวิจัย CPS เนคเทค ทั้งเชิงทฤษฎี และ ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automation) ระบบสกาด้า (SCADA) ระบบแขนกลอุตสาหกรรม (AUBO) การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) การประยุกต์ใช้งานสื่อสารระหว่าง PLC และแขนกล เรียนรู้การใช้งานการนำข้อมูล PLC เชื่อมต่อแสดงข้อมูลบนระบบ cloud ด้วย NETPIE และ เรียนรู้การใช้งานการเชื่อมต่อ IIoT พร้อมได้ลงมือปฏิบัติจริงในการประยุกต์ใช้งานและออกแบบระบบ
กิจกรรมอบรมในครั้งนี้สร้างความตระหนักและความเชื่อมั่นการใช้งานประโยชน์ของเทคโนโลยี โดยได้รับความสนใจผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้หลากหลายทั้งเชิงทฤษฎี และได้ลงมือปฏิบัติจริงในการประยุกต์ใช้งานและออกแบบระบบ
คุณอมรวกิตติ์ ชุ่มมณีกุล Manager บริษัท อินสเปค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า ได้ทั้งความรู้ และ ประโยชน์สามารถต่อยอดธุรกิจได้ ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมเริ่มมาใช้เทคโนโลยี Monitoring และ Automation ของระบบการผลิตมากขึ้นซึ่งมีมานานแล้วหาที่เรียนมานานจนได้มาเจออบรมที่ SMC เปิดขึ้น จุดเด่น คือ อาจารย์ผู้สอนมีประสบการณ์ และ เครื่องมือที่ครบครันได้เปรียบกว่าที่อื่นตรงจุดที่เราจะนำไปใช้งานต่อยอดได้ ความรู้ที่ได้จากการอบรมจะนำไปต่อยอดในเรื่อง Monitoring การประหยัดพลังงาน และ ลดต้นทุนในการผลิต
คุณศราวุธ โรจนสโรช วิศวกรชำนาญการ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม จากเดิมไม่ทราบถึงเทคโนโลยีที่เปลียนแปลงและแตกต่างไปมาก สิ่งที่ชอบจากการอบรม คือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ และหลักการเขียน Diagram สมัยเมื่อ 20 ปีก่อนไม่มีคำสั่งเรื่อง Set และ Reset การเขียนคำสั่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ความรู้ที่ได้จากการอบรมนำไปใช้ในการตรวจโรงงานจะแนะนำให้ใช้ระบบ PLC หรือ ระบบ Automation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานให้ดีขึ้น
ผศ.ดร.ทรงศักดิ์ รองวิริยะพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวว่า ได้เปิดสมองทำให้เข้าใจโลก Automation สิ่งที่ชอบการจากอบรม คือ สภาพแวดล้อมทำให้มีโอกาสสัมผัสอุปกรณ์จริง ๆ อาจารย์ผู้สอนเก่งและมีประสบการณ์สามารถตอบคำถามและทำให้เรามองเห็นในระยะเวลาอันสั้น เช่น อุปกรณ์ Automation คิดอย่างไร ทำงานอย่างไร ต้องดีไซน์ และเขียนโปรแกรมอย่างไร ตอนแรกก็กังวลว่ามาสายซอฟต์แวร์มาเรียนแล้วจะเข้าใจหรือไม่ อุปกรณ์สอนให้เราเข้าใจและไม่คิดว่าจะเข้าใจได้ภายในเวลา 5 วัน ความรู้ที่ได้จากการอบรมจะไปสอนให้ลูกศิษย์ให้มีแรงจูงใจในการเขียนโปรแกรม ในการเรียนการสอนมองว่าใช้ประโยชน์ได้ดีและอีกส่วนหนึ่งในด้านระบบคลังสินค้าสามารถนำอุปกรณ์ไปทำ Automation ภายในคลังสินค้าได้ ความรู้ที่ได้รับมีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา