คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |

หมวด : จ
จำนวน
(number)
ปริมาณที่ทำให้มีความรู้สึกว่ามากหรือน้อย
จำนวนคี่
(odd number)
จำนวนเต็มที่ไม่ใช้จำนวนคู่ หรือจำนวนที่อยู่ในเซต
จำนวนคู่
(even number)
จำนวนเต็มที่หารด้วย 2 แล้วได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็ม นั่นคือ จำนวนที่อยู่ในเซต
จำนวนจริง
(real number)
จำนวนที่เป็นสมาชิกอยู่ในเซตที่เกิดจากยูเนียนของเซตของจำนวนตรรกยะ และเซตของจำนวนอตรรกยะ
จำนวนจริงบวก
(positive real number)
จำนวนจริงที่มากกว่าศูนย์หรือจำนวนที่แทนได้ด้วยจุดที่อยู่ทางขวามือของจุดแทนศูนย์บนเส้นจำนวน
จำนวนจริงลบ
(negative real number)
จำนวนจริงที่น้อยกว่าศูนย์หรือจำนวนที่แทนได้ด้วยจุดที่อยู่ทางซ้ายมือของจุดแทนศูนย์บนเส้นจำนวน
จำนวนจินตภาพ
(imaginary number)
จำนวนเชิงซ้อน a + bi เมื่อ b # 0
จำนวนจินตภาพแท้
(real imaginary number)
จำนวนเชิงซ้อน a + bi เมื่อ a = 0 และ b # 0 (ดู จำนวนเชิงซ้อน ประกอบ)
จำนวนเฉพาะ
(prime number)
จำนวนเต็ม a ซึ่งไม่เท่ากับ 0 หรือ และต้องหารลงตัวด้วย และ เท่านั้น เช่น เป็นต้น (ส่วนมากมักจะกล่าวถึงจำนวนเฉพาะทีเป็นจำนวนจริงบวกเท่านั้น)
จำนวนเชิงซ้อน
(complex number)
จำนวนใด ๆ ที่เขียนในรูปคู่อันดับ (a, b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงและมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1. (a, b) = (c, d) ต่อเมื่อ a = c และ b = d
2. (a, b) + (c, d) = (a + c, b + d)
3. (a, b) . (c, d) = (ac - bd, ad + bc)
หรือ (a, b) อาจเขึยนได้ในรูป a + bi เมื่อ i2 = -1 เรียก a ว่าส่วนจริง (real part) และเรียก b ว่าส่วนจินตภาพ (imaginary part) จำนวนเชิงซ้อน (0, b) เมื่อ b # 0 เรียกว่าจำนวนจินตภาพแท้
จำนวนตรรกยะ
(rational number)
จำนวนที่เขียนได้ในรูป โดยที่ a และ b ต่างเป็นจำนวนเต็มและ b # 0 ได้แก่
1. จำนวนเต็ม 0, 1, -1, 2, -2, 3, -3, ....
2. จำนวนที่เขียนไว้ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม โดยที่ตัวหารไม่เป็นศูนย์
3. จำนวนที่เขียนไว้ในรูปทศนิยมซ้ำ เช่น
จำนวนเต็ม
(integer)
จำนวนที่อยู่ในเซต { ..., -2, -1, 0, 1, 2, ...}
จำนวนเต็มบวก
(positive integer, natural number, counting number)
จำนวนที่อยู่ในเซต { 1, 2, 3, ...}
จำนวนเต็มลบ
(negative integer)
จำนวนที่อยู่ในเซต { -1, -2, -3, ....}
จำนวนนับ
(natural number, counting number)
ดู จำนวนเต็มบวก
จำนวนเลขคณิต
(arithmetic number)
จำนวนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้แก่จำนวนเต็มบวก เศษส่วน ทศนิยม และจำนวนจริง (ที่เป็นบวก)
จำนวนอตรรกยะ
(irrational number)
จำนวนจริงที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะเขียนได้ในรูปทศนิยมไม่ซ้ำ เช่น = 3.1415926535..., sin 45 ํ = 0.70710678..., tan 140 ํ = -0.8391...
จีเอม
(G.M.)
ดู ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต
จุดกำเนิด
(origin)
จุดตัดของแกน X และแกน Y ในระบบแกนมุมฉาก หรือจุดแทนจำนวนศูนย์บนเส้นจำนวน
จุดกึ่งกลาง
(mid point)
ทางสถิติหมายถึงจุดกึ่งกลางของแต่ละอันตรภาคชั้น หาได้จากการเฉลี่ยค่าขอบบนและขอบล่างของแต่ละอันตรภาคชั้น
จุดทศนิยม
(decimal point)
จุดที่อยู่ระหว่างจำนวนเต็มหรือศูนย์กับเศษส่วนในระบบฐานสิบ
จุดยอด
(vertex)
ดูในเรื่อง ด้านสิ้นสุด

หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สสวท. อังกฤษ-ไทย