คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |

หมวด : ค
ควอดรันต์
(quadrant)
พื้นที่ในระนาบที่แบ่งโดยแกน X และแกน Y แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่อยู่ทางขวาของแกน Y และเหนือแกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 1
ส่วนที่อยู่ทางซ้ายของแกน Y และเหนือแกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 2
ส่วนที่อยู่ทางซ้ายของแกน Y และอยู่ใต้แกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 3
ส่วนที่อยู่ทางขวาของแกน Y และอยู่ใต้แกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 4
ควอร์ไทล์
(quartile)
ค่า 3 ค่าที่แบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน เรียกค่าทั้ง 3 ว่า ควอร์ไทล์ที่ 1  (Q1)  ควอร์ไทล์ที่ 2  (Q2) (หรือค่ามัธยฐาน)  และควอร์ไทล์ที่ 3  (Q3)
ความชันของเส้นตรง
(slope of a line)
m เป็นความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด P1 (x1, y1) และ P2 (x2, y2) ก็ต่อเมื่อ
ความถี่
(frequency)
จำนวนครั้งที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่กำหนดให้ หรือจำนวนค่าจากการสังเกตของข้อมูล ที่ตกอยู่ในอันตรภาคชั้นที่กล่าวถึง
ความถี่สะสม
(cumulative frequency)
ความถี่สะสมของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรือของอันตรภาคชั้นใด หมายถึงผลรวมของความถี่ของค่านั้นหรือของอันตรภาคชั้นนั้น กับความถี่ของค่าหรืออันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหมด หรือ สูงกว่าทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความถี่สะสมสัมพัทธ์
(relative cumulative frequency)
ความถี่สะสมสัมพัทธ์ของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรืออันตรภาคชั้นใด คืออัตราส่วนระหว่างความถี่สะสมของค่านั้น หรืออันครภาคชั้นนั้นกับผลรวมของความถี่ทั้งหมด อาจแสดงในรูปเศษส่วนทศนิยม หรือร้อยละ
ความถี่สัมพัทธ์
(relative frequency)
ความถี่สัมพัทธ์ของค่าใดหรืออันตรภาคชั้นใดคือ อัตราส่วนระหว่างความถี่สะสมของค่านั้น หรืออันตรภาคชั้นนั้นกับความถี่ทั้งหมด อาจจะแสดงอยู่ในรูปเศษส่วนทศนิยม หรือร้อยละ
ความน่าจะเป็น
(probability)
อัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจ กับจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซที่เป็นเซตจำกัด และสมาชิกเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน
ความแปรปรวน
(variance)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานยกกำลังสอง (ดู ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบ)
ความแปรปรวนรวม
(combined variance , pooled variance)
ความแปรปรวนถ่วงน้ำหนักของความแปรปรวนของข้อมูลหลาย ๆ ชุดโดยมีจำนวนค่าจากการสังเกตในข้อมูลแต่ละชุดเป็นน้ำหนักถ่วง
ความยาวรอบรูป
(perimeter)
ความยาวโดยรอบรูป 2 มิติ เช่น ความยาวรอบรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น
ความยาวรอบวง
(circumference)
ความยาวรอบรูปวงกลม
ความสัมพันธ์
(relation)
เซตของคู่อันดับเช่น {(1, 2), (2, 3), (3, 4) }
คอมพลีเมนต์ของเซต
(complement of a set)
ถ้าเซต A เป็นสับเซตของเอกภพสัมพันธ์ U คอมพลีเมนต์ของเซต A เมื่อเทียบกับ U เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A' คือ เซตที่มีสมาชิกอยู่ใน U แต่ไม่อยู่ใน A
คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์
(complement of an event)
ถ้า E เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในแซมเปิลสเปซ S แล้ว คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ E' คือเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ใน S แต่ไม่อยู่ใน E
คอมมิวเททีฟกรูป
(commutative group)
ดู อาบีเลียนกรูป
คอร์ด
(chord)
ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดสองจุดใด ๆ บนเส้นรอบวงหรือเส้นโค้ง
ค่ากึ่งกลางพิสัย
(mid-range)
ค่ากลางของข้อมูลที่หาได้จากการเฉลี่ยค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของข้อมูล
ค่าเฉลี่ย
(mean)
ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต, จีเอม
(geometric mean, G.M.)
ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งใช้อักษรย่อ G.M. หาได้จากสูตร
เมื่อ Xi เป็นข้อมูลตัวที่ i เมื่อ i = 1, 2, 3,... , N และ N เป็นจำนวนข้อมูลทั้งหมด
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
(arithmetic mean)
ค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการบวกค่าสังเกตของข้อมูลทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด ใช้สัญลักษณ์
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก
(weight arithmetic mean)
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ใช้ในกรณีที่ข้อมูลแต่ละค่ามีความสำคัญไม่เท่ากัน เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบ 4 วิชาซึ่งแต่ละวิชาใช้เวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่เท่ากัน
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม
(combined arithmetic mean)
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนักของค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลหลาย ๆ ชุด โดยที่มีจำนวนค่าจากการสังเกตในข้อมูลแต่ละชุดเป็นน้ำหนักถ่วง
ค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิก, เอชเอม)
(harmonic mean , H.M.)
ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่ง ที่ได้จากการหารจำนวนข้อมูลทั้งหมดด้วยผลบวกของส่วนกลับของข้อมูลชุดนั้น ใช้อักษรย่อ H.M.
ค่ามัธยฐาน
(median)
ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
ค่ามาตรฐาน
(standard scores)
ค่าบอกให้ทราบว่า ความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูลนั้น ๆ กับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้นเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Zi หาได้จากสูตร
ค่าสัมบูรณ์
(absolute value)
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง a เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึงระยะจากจุดแทน 0 ถึงจุดแทน a บนเส้นจำนวน
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
(absolute value of a complex number, modulus of a complex number)
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อนของ a + bi เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ | a + bi | หมายถึงระยะจากจุดกำเนิด (0, 0) ถึงจุด (a, b) มีค่าเท่ากับ
คุณสมบัติการสลับที่
(commutative property)
สำหรับ a, b ทุกตัวในเซต A กับโอเปอเรชัน * จะมีคุณสมบัติการสลับที่เมื่อ a * b = b * a เรียกว่า เซต A มีคุณสมบัติการสลับที่สำหรับโอเปอเรชัน *
คุณสมบัติไตรวิภาค
(trichotomy property)
คุณสมบัติที่กล่าวถึงการเท่ากันหรือไม่เท่ากัน เช่น ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว a = b หรือ a < b หรือ a > b อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
คุณสมบัติปิด
(closure property)
เซต A มีคุณสมบัติปิดภายใต้โอเปอเรชัน * ใด ๆ ถ้า a, b เป็นสมาชิดใน A แล้วสมาชิกที่เกิดขึ้นใหม่จาก a * b จะต้องเป็นสมาชิกใน A ด้วย
คู่อันดับ
(orderen pair)
คู่ของสมาชิกที่มาจากเซต A และเซต B เขียนได้ในรูป (a, b) เรียก a ว่าสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับ และเรียก b ว่า สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับ
เครื่องหมายรวมยอด
(summation sign)
อักษรภาษากรีก เขียนแทนด้วย โดยทั่วไปหมายถึงผลบวกของตัวแปร เช่น ใช้เป็น สัญลักษณ์ที่เขียนแทนผลบวกของตัวแปร x ซึ่งประกอบด้วยค่าจากการสังเกต n ค่า
แคแรกเทอริสติกของลอการิทึม
(characteristic of logarithm)
แคแรกเทอริสติกของ log N คือ n เมื่อ N = N0 x 10n โดยที่ และ n เป็นจำนวนเต็ม log N0 เรียกว่า แมนทิสซาและจะมีค่าเป็นบวกเสมอ
แคลคูลัส
(calculus)
วิชาคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการหาอนุพันธ์ และอินทิเกรชันของฟังก์ชัน
โคออร์ดิเนต
(coordinate)
คู่อันดับซึ่งแสดงตำแหน่งของจุดในระนาบ

หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สสวท. อังกฤษ-ไทย