คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |

หมวด : อ
อนันต์
(infinite)
ไม่มีที่สิ้นสุด
อนิยาม
(undefined term)
พจน์ที่ไม่ให้คำจำกัดความทางคณิตศาสตร์
อนุกรม
(series)
การแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับ a1, a2, a3,..., an, ... โดยเขียนในรูป a1 + a2 + a3 + ... + an + ...
อนุกรมคอนเวอร์เจนต์
(convergent series)
อนุกรมอนันต์ที่สามารถหาผลบวกได้
อนุกรมจำกัด
(finite series)
อนุกรมที่มีจำนวนพจน์จำกัดเช่น 2 + 4 + 6 + 8 + ... + 20
อนุกรมไดเวอร์เจนต์
(divergent series)
อนุกรมอนันต์ที่ไม่มีผลบวก เช่น 1 + 3 + 5 + 7 + ......
อนุกรมเรขาคณิต
(geometric series)
อนุกรมที่ได้จากลำดับเรขาคณิต
อนุกรมเลขคณิต
(arithmetic series)
อนุกรมที่ได้จากลำดับเลขคณิต เช่น 2, 4, 6, ..., 20 เป็นลำดับเลขคณิต 2 + 4 + 6 + ... + 20 เป็นอนุกรมเลขคณิต
อนุกรมอนันต์
(infinite series)
อนุกรมที่ได้จากลำดับอนันต์ เช่น 2 + 4 + 6 + 8 + ........
อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
(derivative of function)
อนุพันธ์ของฟังก์ชัน f ที่ x หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของ f(x) เมื่อเทียบกับ x ในขณะใด ๆ
อสมการ
(inequality)
ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย < , > , #
อัตราส่วน
(ratio)
ขนาดเปรียบเทียบของสองจำนวนที่อยู่ในรูป a/b เมื่อ b # 0
อัตราส่วนร่วม
(common ratio)
อัตราส่วนระหว่างพจน์ที่ n + 1 กับพจน์ที่ n ของลำดับเรขาคณิต เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ r
โดยที่  
อันตรภาคชั้น
(class interval)
ช่วงของค่าที่เป็นไปได้แต่ละช่วงของตารางแจกแจงความถี่
อันตรภาคชั้นเปิด
(open-ended class interval)
อันตรภาคชั้นที่ไม่มีขีดจำกัดล่างหรือขีดจำกัดบนในตารางแจกแจงความถี่
อาบีเลียนกรูป
(abelian group [commutative group])
กรูปที่มีคุณสมบัติการสลับที่
อินเตอร์เซกชัน (ของเซต 2 เซต)
(intersection (of two sets))
อินเตอร์เซกชันของเซต A และเซต B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของทั้งเซต A และเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A B
อินเตอร์เซกชันของเหตุการณ์
(intersection of events)
อินเตอร์เซกซันของเหตุการณ์ E1 และ E2 คือเหตุการณ์ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ทั้งในเหตุการณ์ E1 และ E2 เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ E1 E2
อินทิเกรชัน
(integration)
โอเปอเรชันตรงข้ามกับการหาอนุพันธ์
เอกนาม
(monomial)
จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการคูณของจำนวนคงตัวใด ๆ กับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยที่กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก
เอกภพสัมพัทธ์
(relative universe [universal set])
เอกภพเซตที่กำหนดขอบข่ายในการพิจารณาสมาชิกของเซตที่กล่าวถึง
เอกลักษณ์
(identity)
ในเซต S และโอเปอเรชัน ถ้ามี e S แล้ว สำหรับ a ทุกตัวที่อยู่ใน S ถ้า a e = a = e a เรียก e ว่าเป็นเอกลักษณ์สำหรับโอเปอเรชัน ของเซต S
เอชเอม
(H.M. harmonic mean)
ดู ค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิก
แอนติลอการิทึม
(antilogarithm)
แอนติลอการิทึมของจำนวนจริง a หมายถึง จำนวนที่ลอการิทึมฐานสิบของจำนวนนั้นเท่ากับ a เช่น
log10 100 = 2        antilog 2 = 100

หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สสวท. อังกฤษ-ไทย