คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |

หมวด : ร
ระนาบจำนวน
(real plane)
ระนาบที่จุดใดจุดหนึ่งบนระนาบนั้น แทนด้วยคู่อันดับของจำนวนจริงเพียงคู่อันดับเดียว
ระนาบเชิงซ้อน
(complex plane)
ระนาบที่ประกอบด้วยแกนของจำนวนจริง แทนด้วยแกน X (แกนนอน) และแกนของจำนวนจินตภาพ แทนด้วยแกน Y (แกนตั้ง)
ระบบแกนมุมฉาก
(rectangular coordinate system)
ระบบที่ประกอบด้วยแกนอ้างอิง 2 แกน ตั้งได้ฉากกันซึ่งเรียกว่า แกน X และแกน Y (หรือ ประกอบด้วยแกนอ้างอิง 3 แกน ตั้งได้ฉากซึ่งกันและกัน เรียกแกน X แกน Y และแกน Z)
จุดที่ตัดกันของแกน X แกน Y (และแกน Z) เรียกจุดกำเนิด และ ตำแหน่งของจุดในระนาบ คือ ตำแหน่งของจุดตัดของระยะที่จุดที่ต้องการหาตำแหน่งนั้นห่างจากแกน X และแกน Y (และแกน Z)
ระบบจำนวน
(number system)
วิธีการเขียนตัวเลขเพื่อแทนจำนวน และการใช้โอเปอเรชันกับจำนวน
ระบบตัวเลขฐานสอง
(binary number systerm)
ระบบที่แสดงตัวเลขแทนจำนวนโดยการเพิ่มทีละ 2 หรือทวีคูณของ 2 เช่น

              1012 หมายถึง 1 x 22 + 0 x 21 + 1 x 20 หรือ 5
                102 หมายถึง 1 x 21 + 0 x 20 หรือ 2
ระเบียบวิธีกำลังสองน้อยที่สุด
(method of least squares)
วิธีการประมาณค่าของจำนวนคงตัวซึ่งปรากฎอยู่ในสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยอาศัยหลักที่ว่า สมการที่สร้างขึ้นจะดีที่สุด ถ้าผลรวมของกำลังสองของความแตกต่างระหว่างค่าที่กะประมาณ ได้จากความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้น กับค่าสังเกตทุก ๆ ค่า มีค่าน้อยที่สุด
รังสี
(ray)
ส่วนของเส้นตรงซึ่งมีจุดเริ่มต้นแต่ไม่มีจุดปลาย
รัศมี (ของวงกลม)
(radius (of a circle))
ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดศูนย์กลางของวงกลมกับจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นรอบวง
รากที่สอง (ของจำนวนจริง)
(square root (of real number))
รากที่สองของจำนวนจริง a เมื่อ a > 0 เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์    หมายถึงจำนวนที่ยกกำลังสองแล้วได้ a เช่น
           2  และ -2  เป็นรากที่สองของ  4
รากที่สาม (ของจำนวนจริง)
(cube root (of a real number))
รากที่สามของจำนวนจริง a เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์     หมายถึงจำนวนที่ยกกำลังสามแล้วได้ a เช่น     = 2,     = -3
รูปครึ่งวงกลม
(semi - circle)
รูปที่เกิดจากการแบ่งรูปวงกลมออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กันด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง
รูปสามเหลี่ยม
(triangle)
รูปหลายเหลี่ยมที่ประกอบด้วยด้านสามด้าน
รูปสามเหลี่ยมเท่ากันทุกประการ
(congruent triangles)
รูปสามเหลี่ยมที่ทับกันสนิทพอดี
รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
(isosceles triangle)
รูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน 2 ด้าน ยาวเท่ากัน
รูปสี่เหลี่ยนมุมฉาก
(rectangle)
รูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมภายในทุกมุมเป็นมุมฉาก ในกรณีที่ด้านเท่ากันทั้ง 4 ด้าน เรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถ้ามีด้านเท่ากันขนานกัน 1 คู่ เรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
(rhombus )
รูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่ไม่มีมุมใดเป็นมุมฉาก
รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
(trapezoid)
รูปสี่เหลี่ยมใด ๆ ที่มีด้านตรงข้ามขนานกันคู่หนึ่ง และคู่เดียวเท่านั้น
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
(square)
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
(parallelogram)
รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามกันขนานกัน
รูปหลายเหลี่ยมของความถี่
(frequency polygon)
รูปหลายเหลี่ยมที่เกิดจาก การลากเส้นตรงโยงระหว่างจุดกึ่งกลางบนแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากที่อยู่ติดกัน ของฮิสโตแกรมของข้อมูลชุดนั้น
เรนจ์
(range (of a relation))
เซตของสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์

หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สสวท. อังกฤษ-ไทย