คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |

หมวด : ส
สดมภ์
(column)
การจัดเรียงข้อมูลหรือตัวเลขตามแนวตั้ง
สถิติศาสตร์
(statistics)
วิชาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและตีความหมายข้อมูล
สมการ
(equation)
ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมายเท่ากั
สมการเชิงเส้น
(linear equation)
สมการที่ตัวแปรมีกำลังเป็นหนึ่งเช่น x + 2 = 0, x + y + 5 = 0 เป็นต้น
สมการเชิงอนุพันธ์
(differential equation)
สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันและอนุพันธ์ของฟังก์ชัน เช่น   
สมการที่สมมูลกัน
(equivalent equations)
สมการที่มีคำตอบชุดเดียวกัน เช่น x2 = 1   และ   x4 = 2x2 - 1
สมการปกติ
(normal equation)
สมการที่หาได้โดยระเบียบวิธีกำลังสองน้อยที่สุด และมีจำนวนสมการเท่ากับจำนวนค่าคงตัวที่ต้องการหา
สมการลอการิทึม
(logarithmic equation)
สมการที่ตัวแปรอยู่ในรูปลอการิทึม ตัวอย่างเช่น   log x + 2 log 2x + 4 = 0
สมการเอกซ์โปเนนเชียล
(exponential equation)
สมการที่มีตัวแปรเป็นเลขชี้กำลัง เช่น 2x + 5y = 3
สมาชิก (ของเซต)
(element (of a set))
สิ่งที่อยู่ในเซต (ดู เซต ประกอบ)
ส่วนของเส้นตรง
(line segment)
ส่วนที่ตัดออกมาจากเส้นตรง มีความยาวจำกัด ส่วนของเส้นตรง AB เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
ส่วนจริง (ของจำนวนเชิงซ้อน)
(real part (of a complex number))
จำนวนจริง a ของจำนวนเชิงซ้อน a + bi

(ดู จำนวนเชิงซ้อน ประกอบ)
ส่วนจินตภาพ (ของจำนวนเชิงซ้อน)
(imaginary part (of a complex number))
จำนวนจริง b ของจำนวนเชิงซ้อน a + bi

(ดู จำนวนเชิงซ้อน ประกอบ)
ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์
(quartile deviation [semi-interquartile range])
ค่าที่ใช้วัดการกระจายที่หาได้จากครึ่งหนึ่งของความแตกต่างระหว่าง ควอร์ไทล์ที่สาม (Q3) และควอร์ไทล์ที่หนึ่ง (Q1) หาได้จากสูตร Q3 - Q1 ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กึ่ง 2 ช่วงควอร์ไทล์
ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
(average deviation [mean deviation])
ค่าที่ใช้วัดการกระจายของข้อมูล ที่ได้จากการเฉลี่ยค่าสัมบูรณ์ ของความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูล แต่ละค่าจากค่ากลางของข้อมูลชุดนั้น ซึ่งค่ากลางอาจจะเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิต หรือมัธยฐาน
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(standard deviation)
รากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช้วัดการกระจายของข้อมูล เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ s
สังยุคของจำนวนเชิงซ้อน
(conjugate of a complex number)
สังยุคของจำนวนเชิงซ้อน a + bi คือจำนวนเชิงซ้อน a - bi
สับเซต
(subset)
เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A B
สับเซตแท้ (proper subset)
สับเซตใด ๆ ที่มีสมาชิกเหมือนกับสมาชิกของเซตเดิม แต่จำนวนสมาชิกของสับเซตแท้ไม่เท่ากับจำนวนสมาชิกของเซตเดิม
สัมประสิทธิ์
(coefficient)
จำนวนหรือสัญลักษณ์ที่มีค่าคงตัวซึ่งเป็นตัวคูณของตัวแปรใด ๆ เช่น
           2x  มี  2  เป็นสัมประสิทธิ์ของ x
           5a(x + y)  มี  5a  เป็นสัมประสิทธิ์ของ  (x + y)   เป็นต้น
สัมประสิทธิ์ของการแปรผัน
(coefficient of variation)
อัตราส่วนระหว่างส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้น

(ดู การกระจายสัมพัทธ์ ประกอบ)
สัมประสิทธิ์ของพิสัย
(coefficient of range)
อัตราส่วนระหว่างผลต่างของค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด กับผลบวกของค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูลชุดนั้น
สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์
(coefficient of quartile deviation )
อัตราส่วนของส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์กับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของควอร์ไทล์ที่ 1 และควอร์ไทล์ที่ 2

(ดู การกระจายสัมพัทธ์ ประกอบ)
สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
(coefficient of average deviation)
อัตราส่วนของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย กับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดเดียวกัน

(ดู การกระจายสัมพัทธ์ ประกอบ)
สัมประสิทธิ์ทวินาม
(binomial coefficient)
สัมประสิทธิ์ที่ปรากฎในแต่ละพจน์ของการกระจาย (a + b)n เช่น

(a + b)2   =   a2 + 2ab +b2

สัมประสิทธิ์ทวินามคือ 1, 2, 1 ซึ่งเป็นค่าคงตัวที่คูณอยู่กับ a2, ab และ b2 ตามลำดับ
สามเหลี่ยมของปาสกาล
(Pascal's triangle)
รูปสามเหลี่ยมของจำนวนเต็มที่จัดเรียงเป็นแถวจำนวน แต่ละแถวแทนสัมประสิทธิ์ของตัวแปร x, y และผลคูณของ xy กำลังต่าง ๆ ที่ได้จากการกระจาย (x + y)n เมื่อ n = 0, 1, 2, 3, ..., n

สามเหลี่ยมคล้าย
(similar triangles)
รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมเท่ากันทุกมุม มุมต่อมุม
สามเหลี่ยมด้านเท่า
(equilateral triangle)
รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านทั้งสามยาวเท่ากัน
สำมะโน
(census)
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากรในเรื่องที่สนใจศึกษา เช่น สำมะโนประชากรของประเทศไทย เป็นการนับจำนวนประชากรทั้งหมด ที่อาศัยอยู่ในประเทศ จำแนกตามลักษณะต่าง ๆ ที่สำคัญ และสนใจศึกษา เช่น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา หรือ สำมะโนเกษตรของประเทศไทย เป็นการนับจำนวนครัวเรือน ที่ประกอบการเกษตรอยู่ในประเทศทั้งหมด ซึ่งอาจจำแนกตามขนาดของที่ดินที่ถือครอง หรือชนิดของพืชที่ปลูก เป็นต้น อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การทำสำมะโนคือ การสำรวจที่ทำการแจงนับอย่าง ครบถ้วน
เส้นขนาน
(parallel lines)
เส้นตรงใด ๆ ในระนาบเดียวกันที่มีความชันเท่ากัน
เส้นโค้งของความถี่
(frequency curve)
เส้นโค้งที่ได้จากการปรับด้านของรูปหลายเหลี่ยมของความถี่ให้เรียบขึ้น โดยพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งที่ปรับใหม่มีขนาดใกล้เคียงกับพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมของความถี่มากที่สุด
เส้นโค้งของความถี่สะสม
(cumulative frequency curve [ogive])
เส้นโค้งที่ได้จากการปรับเส้นตรงที่โยงต่อระหว่างจุดซึ่งแทนคู่อันดับของค่าตัวแปร และค่าของความถี่สะสม
เส้นโค้งเบ้ทางซ้ายหรือเบ้ทางลบ
(negatively skewed curve)
เส้นโค้งของความถี่ที่มีความถี่สูงสุดค่อนมาทางขวา
เส้นโค้งปกติ
(normal curve [bell - shaped curve])
เส้นโค้งของความถี่ที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐานและฐานนิยมอยู่ที่จุดเดียวกัน คือจุดที่มีความถี่สูงสุด

เส้นโค้งลาดทางขวาหรือทางบวก
(positively skewed curve)
เส้นโค้งของความถี่ที่มีความถี่สูงสุดค่อนมาทางด้านซ้าย
เส้นจำนวน
(number line)
เส้นตรงที่มีจุด 0 เป็นจัดแทนศูนย์ จุดที่อยู่ทางขวาของจุด 0 แทนจำนวนบวกเช่น 1, 2, 3,... และจุดที่อยู่ทางซ้ายแทนจำนวนลบ เช่น -1, -2, -3, ... โดยแต่ละจุดอยู่ห่างจุด 0 เป็นระยะ 1, 2, 3, ... หน่วยความยาว ตามลำดับ
เส้นดิ่ง
(vertical line)
เส้นตรงที่ลากในแนวตั้งฉากกับแนวระดับ
เส้นตรง
(straight line)
เซตของจุด (x, y) ที่สอดคล้องกับสมการ y = a + bx เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงใด ๆ
เส้นตั้งฉาก
(perpendicular lines)
เส้นตรงสองเส้นตั้งฉากกัน ก็ต่อเมื่อเส้นตรงทั้งสองตัดกันแล้วมุมประชิดจะมีขนาดเท่ากัน ในเรขาคณิตวิเคราะห์เส้นตรงสองเส้นซึ่งไม่อยู่ในแนวดิ่งตั้งฉากซึ่งกันและกัน ก็ต่อเมื่อผลคูณของความชันของเส้นตรงทั้งสอง มีค่าเท่ากับ -1
เส้นตัดกราฟ
(secant line)
เส้นตรงซึ่งตัดเส้นโค้งที่กำหนดให้
เส้นตัดขวาง
(transversal)
เส้นตรงซึ่งตัดเส้นตรงอื่นตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป
เส้นผ่านศูนย์กลาง
(diameter)
คอร์ดที่ผ่านจุดศูนย์กลางของวงกลม
เส้นระดับ
(horizontal line)
เส้นที่ลากในแนวระดับ ตั้งได้ฉากกับแนวดิ่ง
สัมผัส (เส้นโค้ง)
(tangent line (to a curve))
เส้นสัมผัสเส้นโค้งที่จุด P ใด ๆ บนโค้งนั้น จะเป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด P และอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับเส้นตรงที่ลากผ่านจุด P และอีกจุดหนึ่งบนเส้นโค้งซึ่งเกือบทับจุด P

หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สสวท. อังกฤษ-ไทย