หมวด : ฟ |
ฟังก์ชัน (function) |
ความสัมพันธ์หรือเซตของคู่อันดับซึ่งในสองคู่อันดับใด ๆ ถ้ามีสมาชิกตัวหน้าเหมือนกันแล้วสมาชิกตัวหลังต้องเหมือนกันด้วย
|
ฟังก์ชันกำลังสอง (quadratic function) |
ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป f(x) = ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใด ๆ และ a # 0
|
ฟังก์ชันขั้นบันได (step function) |
ฟังก์ชันที่มีค่าคงตัวเป็นช่วง ๆ และกราฟของฟังก์ชันมีลักษณะคล้ายขั้นบันได
|
ฟังก์ชันคงตัว (constant function) |
ฟังก์ชันที่สามารถเขียนได้ในรูป f(x) = c เมื่อ c เป็นจำนวนจริง กราฟของฟังก์ชันคงตัวจะเป็นเส้นตรงซึ่งขนาดกับแกน X และจะทับแกน X เมื่อ c = 0
|
ฟังก์ชันคอมโพสิท (composite function) |
ฟังก์ชันคอมโพสิทของฟังก์ชัน f และ g เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ g o f หมายถึงฟังก์ชันใหม่ที่เกิดจาก 2 ฟังก์ชันเดิมคือ f และ g และเขียนในรูปเซตได้ดังนี้
g o f = { (x, y) | y = g (f(x)) } โดยที่ x Df และ f(x) Dg
|
ฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์ (absolute value function) |
ฟังก์ชันที่อยู่ในรูปค่าสัมบูรณ์ f(x) = |x - c| เมื่อ c เป็นค่าคงตัวใด ๆ
|
ฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) |
ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง อาจนิยามโดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ cosine = x โดยที่ เป็นจำนวนจริงที่แทนด้วยความยาวของส่วนโค้งที่วัดจากจุด (1, 0) บนวงกลมไปตามส่วนโค้งของวงกลม (โดยคิดทิศทาง) และมี (x, y) เป็นจุดปลายของส่วนโค้งที่ยาว หน่วย
|
ฟังก์ชันจาก A ไป B (function from A into B) |
ฟังก์ชันซึ่งมีโดเมนเป็นเซต A และเรนจ์เป็นสับเซตของเซต B
|
ฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B (function from A onto B) |
ฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซต A และ เรนจ์เป็นเซต B
|
ฟังก์ชันเชิงเส้น (linear function) |
ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป f(x) = ax + b เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริง
|
ฟังก์ชันไซน์ (sine function) |
ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง อาจนิยามโดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ sine = y โดยที่ เป็นจำนวนจริงที่แทนด้วยความยาวของส่วนโค้งที่วัดจากจุด (1,0) บนวงกลมหนึ่งหน่วย ไปตามส่วนโค้งของวงกลม (โดยคิดทิศทาง) และมี (x,y) เป็นจุดปลายของส่วนโค้งที่ยาว หน่วย
|
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (trigonometric function) |
ฟังก์ชันในเซตของจำนวนจริงสามารถใช้วงกลมหนึ่งหน่วย เป็นหลักในการนิยาม เช่น ฟังก์ชันไซน์ ฟังก์ชันโคไซน์ เป็นต้น
|
ฟังก์ชันพหุนาม (polynomial function) |
ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป f(x) = anxn + an-1xn-1 + ... + a2x2+ a1x+ a0 โดยมีเงื่อนไขว่า an, an-1 ,..., a2, a1, a0 เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับศูนย์
|
ฟังก์ชันพีชคณิต (algebraic function) |
ฟังก์ชันที่ค่าของฟังก์ชัน เขียนในรูปสัญลักษณ์ทางพืชคณิต ที่ประกอบด้วยค่าคงตัว ตัวแปร และเครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร กรณฑ์ กำลัง เช่น y = 2x + 1 เป็นต้น
|
ฟังก์ชันเพิ่ม (increasing function) |
ฟังก์ชัน y = f(x) จะเป็นฟังก์ชันเพิ่มเมื่อค่าของ x เพิ่มขึ้น ค่าของ y จะเพิ่มขึ้น เช่น f(x) = x3 + 1
|
ฟังก์ชันลด (decreasing function) |
ฟังก์ชัน y = f(x) จะเป็นฟังก์ชันลด เมื่อค่าของ x เพิ่มขึ้น ค่าของ y จะลดลง เช่น f(x) = 1/x
ฟังก์ชันลอการิทึม (logarithmic function) |
ฟังก์ชันที่เขียนในรูป y = logax เมื่อ x เป็นจำนวนจริงบวกและ a เป็นจำนวนจริงบวกที่ไม่เท่ากับ 1 logax อ่านว่า ลอการิทึมของเอกซ์ฐานเอ
|
ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one function) |
y = f(x) จะเป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง ถ้า f(x1) = f(x2) แล้ว x1 = x2
|
ฟังก์ชันอดิสัย (transcendental function) |
ฟังก์ชันใด ๆ ที่ไม่เป็นฟังก์ชันพืชคณิต เช่น f(x) = sin x, f(x) = log10x
|
ฟังก์ชันอินเวอร์ (inverse function) |
ฟังก์ชันที่ได้จากการสลับที่สมาชิกตัวหน้าและตัวหลังในแต่ละคู่อันดับของความสัมพันธ์ที่เป็นฟังก์ชัน
|
ฟังก์ชันเอกซ์โปเนนเชียล (exponential function) |
ฟังก์ชันที่สามารถเขียนได้ในรูป{ (x, y) R x R | y = ax, a > 0 และ a # 1 } เช่น y = 2x
|
แฟตทอเรียล n (factorial n [n factorial]) |
ผลคูณของจำนวนเต็มตั้งแต่ 1 ถึง n เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ n!
|
โฟกัส (focus ,focal point) |
จุดคงที่ของพาราโบลา วงรี หรือไฮเพอร์โบลา
|
|