คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |

หมวด : ผ
ผลคูณคาร์ทีเซียน
(cartesian product)
ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A x B หมายถึงเซตของคู่อันดับ (a, b) ทั้งหมดโดยที่ a A และ b B
ผลต่างร่วม
(common difference)
ผลต่างของพจน์ที่ n + 1 และพจน์ที่ n ของลำดับเลขคณิตเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ d โดยที่ d = an + 1 - an
ผลต่างระหว่างเซต A และเซต B
(difference of sets A and B)
เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A ซึ่งไม่อยู่ในเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A - B หรือคือ คอมพลีเมนต์ของ B เมื่อเทียบกับ A (เมื่อ A และ B เป็นสับเซตของเอกภพสัมพันธ์เดียวกัน)
ผลบวกของอนุกรมอนันต์
(sum of infinite series)
ลิมิตของลำดับผลบวกย่อยของอนุกรมเมื่อลำดับนั้นมีลิมิ
ผลบวกย่อยของอนุกรมอนันต์
(partial sum of an infinite series)
ผลบวกที่ได้จากการบวกพจน์แต่ละพจน์ของอนุกรมอนันต์เข้าด้วยกันตั้งแต่พจน์แรกจนถึงพจน์ที่ n ตามลำดับ เขียนแทนผลบวกย่อยของอนุกรมอนันต์ด้วยสัญลักษณ์ Sn และเขียนในรูปของผลบวกดังนี้ Sn = a1 + a2 + a3 + ... + an
ผลหาร
(quotient)
จำนวนที่ได้จากการหารจำนวนจริง a ด้วยจำนวนจริง b เมื่อ b # 0 เช่น 5 เป็นผลหารของ 10 ที่หารด้วย 2 ในกรณีที่การหารไม่ลงตัว เช่น 7 2 จะได้ผลหารเป็น 3 และเศษเป็น 1
แผนที่สถิติ
(statistical map)
แผนภูมิที่นำเสนอข้อมูลโดยอาศัยแผนที่เพื่อที่จะให้การเปรียบเทียบข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นไปโดยง่ายและรวดเร็ว
แผนภาพ
(diagram)
ภาพที่มีความหมายแทนข้อมูลชุดหนึ่ง เขียนขึ้นเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายหรือข้อสรุปเกี่ยวกับข้อมูลชุดนั้นได้ดีขึ้น
แผนภาพการกระจาย
(scatter diagram)
แผนภาพแสดงการแปรผันร่วมของตัวแปรสองตัว เช่น ตัวแปร x และ y
แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์
(Venn - Euler diagram)
แผนภาพที่ใช้เขียนแทนเซต โดยใช้รูปปิดใด ๆ แทนเซต เพื่อให้ความคิดเกี่ยวกับเซตแจ่มชัดขึ้น เช่น A B อาจแสดงได้ดังรูป
แผนภาพต้นไม้
(tree diagram)
แผนภาพที่เขียนเพื่อแสดงการจับคู่ของจำนวนโดยเริ่มจากจำนวน ๆ หนึ่ง และแยกออกไปเรื่อย ๆ มีลักษณะคล้ายต้นไม้ เช่น แผนภาพแสดงการกระจาย (a + b)3 เขียนได้ดังนี้
แผนภูมิ
(chart)
รูปทางเรขาคณิตหรือรูปภาพแทนขนาดของข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ
แผนภูมิแท่ง
(bar chart [bar graph])
แผนภูมิที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ความยาวของแต่ละแท่งแปรตามขนาดของข้อมูล แต่ความกว้างเท่ากัน แท่งเหล่านี้อาจเรียงตามแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้
แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน
(multiple bar chart)
แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบลักษณะข้อมูลที่สนใจศึกษาตั้งแต่ 2 ลักษณะหรือ 2 ช่วงเวลาขึ้นไป
แผนภูมิแท่งเชิงเดียว
(simple bar chart)
แผนภูมิแท่งที่แสดงการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลที่สนใจศึกษาเพียงลักษณะเดียว
แผนภูมิแท่งซ้อนกัน
(overlapping bar chart)
แผนภูมิแท่งที่จัดเรียงแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกันเพื่อให้การเปรียบเทียบระหว่างแท่งสี่เหลี่ยมซึ่งอาจมีจำนวนหลาย ๆ แท่งดูชัดเจนขึ้น และประหยัดเนื้อที่ในการนำเสนอข้อมูลด้วย
แผนภูมิแท่งบวก - ลบ
(plus - minus bar chart)
แผนภูมิแท่งที่ใช้แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลที่มีค่าเป็นไปได้ทั้งค่าบวกค่าลบเช่น งบดุลการค้าของบริษัทห้างร้านซึ่งมีกำไรเป็นค่าบวกและขาดทุนเป็นค่าบ
แผนภูมิแท่งปิระมิด
(pyramid bar chart)
แผนภูมิแท่งที่เรียงซ้อนกันอยู่เป็นรูปปิระมิด หรือรูปสามเหลี่ยม กล่าวคือ แท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่ชั้นล่างสุดมีความยาวมาก และค่อย ๆ ลดหลั่นไปตามลำดับ แต่สำหรับข้อมูลบางชุด แท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่ชั้นล่างบางชั้นอาจจะมีความยาวน้อยกว่าชั้นที่อยู่ถัดขึ้นไปก็ได้
แผนภูมิแท่งส่วนประกอบ
(component bar chart)
แผนภูมิแท่งที่ใช้แสดงรายละเอียดส่วนย่อยของข้อมูลที่นำเสนอ
แผนภูมิรูปภาพ
(pictogram)
แผนภูมิที่ใช้รูปภาพแทนจำนวนของข้อมูลที่นำเสนอ เช่น แผนภูมิรูปภาพคน รูปภาพคน 1 คน แสดงประชากรที่นำเสนอ 1 ล้านคน เป็นต้น
แผนภูมิรูปวงกลม
(pie chart)
แผนภูมิที่แสดงด้วยรูปวงกลม โดยแบ่งรูปวงกลมออกเป็นส่วน ๆ จากจุดศูนย์กลางของรูปวงกลม ตามจำนวนและประเภทของข้อมูลที่นำเสนอ

หมวด : | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


ที่มา : พจนานุกรมศัพท์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สสวท. อังกฤษ-ไทย