ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท เป็นหนึ่งในทีมวิจัยของกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มุ่งเน้นการวิจัยเชิงลึกด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการประมวลสัญญาณประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสมอง รวมถึงเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งเป้าสู่การนำไปสู่การใช้งานจริงในกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
สารบัญ
วิสัยทัศน์
เป็นทีมวิจัยที่มีผลงานวิชาการด้านการประมวลสัญญาณประสาทและการใช้งานได้มาตรฐานระดับนานาชาติ ได้รับการยอมรับว่ามีความเข้มแข็งในกระบวนการทำ Translational Research และ Product Development ร่วมกับพันธมิตร สามารถผลักดันงานวิจัยสู่การใช้งานได้จริง
พันธกิจ
ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการประมวลสัญญาณประสาท และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และร่วมกับพันธมิตรในการขยายผลสู่การนำไปใช้จริง ภายใต้รูปแบบเช่นการร่วมหรือรับจ้างวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ การเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิค
เทคโนโลยีหลัก
ทีมวิจัย มีประสบการณ์หรือความสนใจในการวิจัยพัฒนา อุปกรณ์ ระบบ และ บริการ เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
- Neural Signal Processing in Human’s Cognitive and Affective Domains
- Brain Computer Interface
- Auditory Processing
- Neurorobotics
ผลงานเด่น
- ระบบฝึกฝนสัญญาณสมองแบบป้อนกลับ
- ระบบฝึกฝนสัญญาณสมองแบบป้อนกลับสำหรับผู้สูงอายุ เป็นเกมส์ที่ควบคุมโดยการอ่านสัญญาณสมองผ่านสัญญาณ EEG ใช้เพื่อฝึกสมาธิการจดจ่อ รวมถึงช่วยฝึกฝนความจำช่วงปฎิบัติงาน (Working Memory) โดยผู้เล่นจะทราบถึงระดับสมาธิการจดจ่อของตนเองผ่านโปรแกรมเกมส์ และพยายามรักษาสภาวะจดต่อตลอดการเล่นเกมส์ เมื่อฝึกฝนเป็นอย่างดี จะสามารถควบคุมจัดการสมาธิได้ดีขึ้นรวมถึงสมารถพัฒนาทักษะสมอง (Executive Functions) ได้ต่อไป ระบบฯ เกิดจากการพัฒนาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทีมวิจัยมีความร่วมมือในการจัดตั้ง ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลความสามารถในการรู้คิดในผู้สูงอายุ (Center of Technology for Cognitive Care in Elderly) ระบบฝึกฝนสัญญาณสมองแบบป้อนกลับฯ ได้รับรางวัลระดับหรียญทอง จากการประกวดในงาน International Exhibition of Invention of Geneva ณ กรุงเจนิวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส ในปี 2559 ปัจจุบันเปิดเป็นบริการนำร่อง ณ โรงพบาบาลจุฬาลงกรณ์ และ โรงพยาบาลเครือข่ายมากกว่า 5 แห่ง
- เครื่องช่วยฟังและอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน
- ทีมวิจัยมีประสบการณ์ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง (Hearing Aid) และอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน (Assistive Listening System) ตัวอย่างผลงานเช่น เครื่องช่วยฟัง INTIMA ซึ่งได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้บริษัทเอกชนไทย นำไปผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์สากล ได้รับเครื่องหมาย CE-Mark และให้บริการอยู่ในโรงพยาบาลมากกว่า 12 แห่งจากทั่วประเทศ ในเชิงวิจัย ปัจจุบันทีมฯ ได้มีการขยายผลแนวทางการวิจัยเชิงลึกด้านการได้ยินสู่การศึกษาความสัมพันธ์ด้านการได้ยินที่เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ตัวอย่างเช่น ผลงานวิจัยเครื่องช่วยฟังควบคุมด้วยสมอง ซึ่งได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติด้านการประดิษฐ์คิดค้น ในปี 2562
- ระบบหุ่นยนต์เพื่อการพื้นฟูสมรรถภาพ
- ทีม NSP มีงานวิจัยระบบหุ่นยนต์ WEFRE Rehab System ที่ออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมให้บุคลากรด้านการฟื้นฟูร่างกายได้มีอุปกรณ์ที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นในส่วนของข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก ลักษณะการให้บริการ WEFRE มีดังนี้
- สามารถติดตั้งใช้งานตามโรงพยาบาล คลินิก สถานีอนามัย
- ใช้เป็นอุปกรณ์พกพาสำหรับแพทย์ และนักฟื้นฟูที่ต้องการอุปกรณ์เสริม เพื่อการบริการตามสถานที่ต่างๆนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น
- ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวข้อศอก แขนท่อนล่าง และข้อมือ สามารถจัดหาเพื่อนำไปใช้ที่พักอาศัยได้
- นอกจากการขยายผลสู่การให้บริการจริง ยังมีการวิจัยร่วมกับพันธมิตร เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการต่อยอดสู่ระบบที่เชื่อมโยงหุ่นยนต์สู่ระบบสมองเพื่อมุ่งสู่ความเป็น neurorobotics สำหรับระบบฟื้นฟูสมรรถภาพขึ้นสูงต่อไป
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา : Hearing Aids, Auditory Processing, BCI
- ดร.วินัย ชนปรมัตถ์ : Rehabilitation Robotics, Mechatronics
- ดร.อภิชย์ เหมาคม: EEG Signals, BCI, Digital Signal Processing
- นายสุวิชา จิรายุเจริญศักดิ์ : Cognitive Training, BCI, Machine Learning
- นายอนุกูล น้อยไม้ : Embedded Systems, Hearing Aids, Product Development
- นายธราพงษ์ สูญราช : Electronics & Instrumentation
- นายสังวรณ์ สีสุทัศน์ : Electroacoustic Measurements
- นายอาภา สุวรรณรัตน์: Neurorehabilitation/Motor Imagery/Machine Learning
- นายกริช จั่นอาจ: DSP systems, SW
- นายวิศรุต ทรัพย์ศรี : Gaming Software
- นายวรพงษ์ ณรงค์วงศ์วัฒนา Biomedical Engineering
ติดต่อ
ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท (NSP)
กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)
อีเมล: nsp[at]nectec.or.tha
โทร. : (+66) 2-564-6900