UNAI Platform แสดงศักยภาพเชิงการประยุกต์ใช้ผลงานในเวที ไทยวิวัฒน์

Facebook
Twitter

16 กุมภาพันธ์ 2566 เนคเทค สวทช. โดย ดร.กมล เขมะรังษี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Internet of Things (IoT) โดยทางทีมวิจัยได้มีการประยุกต์ใช้ IoT ในการระบบระบุตำแหน่งภายในอาคาร (UNAI Platform) ซึ่งทีมวิจัยที่ทำในเรื่องนี้ คือ ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ หรือ Location and Automatic Identification System Research Team (LAI)

ดร.กมล กล่าวว่า IoT ที่พูดถึงกันในปัจจุบันนี้ มีชื่อเรียกหากจะย้อนหลังเมื่อหลายปีที่ผ่านมาว่า Mobile & Ubiquitous Computing ซึ่งอาจจะฟังดูเก่าจากที่คนทั่วไปเรียกกันว่า Internet of things และหากย้อนหลังไปเกือบ 20 ปี มีคนที่วิจัยในเรื่องนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีแนวคิดที่ว่าในอนาคตหรือปัจจุบัน หลายๆ สิ่งหลายอย่างรอบตัวเรามีความฉลาดฝังอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ อุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีความสามารถในการคำนวนและสามารที่จะสื่อสารโดยที่เราเคลื่อนที่ไปด้วยได้ อยู่ทุกหนทุกแห่งรอบๆ ตัวเรา คล้ายๆ อากาศที่เราหายใจแต่เราไม่รู้สึก นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการประมวลผลรวมอยู่ด้วย

UNAI | อยู่ไหน

UNAI “อยู่ไหน” แพลตฟอร์มที่สามารถให้บริการข้อมูลตําแหน่งหรือข้อมูลเส้นทางการเคลื่อนที่ ของคนหรือวัตถุสิ่งของภายในอาคารแบบออนไลน์ โดยระบบประกอบไปด้วยอุปกรณ์รับสัญญาณไร้สายที่เรียกว่า Anchor และอุปกรณ์ส่งสัญญาณไร้สายที่เรียกว่า Tag โดยใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวขนาดเล็ก ที่มีระบบสื่อสารไร้สายมาตรฐานบลูทูธพลังงานตํ่า มาตรฐานไวไฟ (Wi-Fi) ในชื่อ UNAI-BLE Platform และอัลตร้าไวด์แบนด์ (UNAI-UWB Platform)

ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคาร (UNAI Platform)

  • ข้อมูลตำแหน่ง “Indoor Position/Location Information” เป็นข้อมูลที่มักถูมองข้ามในพื้นที่อาคารเนื่องจาก
  • Global Positioning System (GPS) or (GNSS) ไม่สามารถใช้งานได้ภายในอาคาร
  • แต่หากมีข้อมูลมากขึ้นมา จะเกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำธุรกิจได้อีกมากมาย New Business Process/Practice
  • ข้อมูลตำแหน่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Office Building, Warehouse, Logistics, Manufacturing, Healthcare, Security, Retails, Farming, etc.
  • Internet of Things (IoTs) เป็นเครื่องมือที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของระบบระบุตำแหน่งในการเก็บข้อมูล Position/Location Information

การประยุกต์ใช้งานของ UNAI-BLE Platform ในปัจจุบัน ของสวทช.

  • การติดตามพนักงงานระหว่างการซ้อมหนีไฟ (Employee Tracking for Safety)
  • การติดตาม ตรวจนับครุภัณฑ์แบบอัตโนมัติ (Asset Tracking)
  • การทดลองติดตามผู้มาเยี่ยมภายในอาคารเนคเทค (Visitor Tracking)
  • การแสดงข้อมูลอุณภูมิและความชื้นสัมพัทธ์แบบ Real Time ในอาคาร (Environmental Monitoring )

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ UNAI-UWB Platform ภายนอก

  • ใน Warehouse
  • งานแสดงสิ้นค้า ณ ไบเทคบางนา เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดในการเรียกลูกค้าต่อไป
  • ในอาคารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ UNAI-BLE Platform + Smart Plug (Phase I)
  • การประยุกต์ใช้ในบ้านพักคนชรา บ้านบางแค using UNAI-BLE Platform ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ UNAI Platform (PoC)

  • ติดตามรถยก (Forklifts) ในพื้นที่
  • ติดตามพนักงาน (Staffs) ในคลัง

รวมทั้งยังมีการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ COVID-19 using UNAIBLE Platform ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่อไป และยังมีสาธิตระบบ “อยู่ไหน 3 มิติ” ระบบติดตามนักเรียนอนุบาล ณ โรงเรียนอนุบาลดวงวิภา ในระหว่างวันที่ 4 – 29 ก.ย. 2560 อีกด้วย

นอกจากนี้ ดร.กมลยังได้เป็นกรรมการร่วมตัดสินผลงานในโครงการ THAIVIVAT INNOVATION AWARDS SEASON 2 กับการประกวดแนวคิดโครงการหัวข้อ “ทุกวินาทีคุ้มค่า คุ้มครองครบ” ด้วยเทคโนโลยีด้าน IoT, AI , Big Data และ Lifestyle ชิงทุนการศึกษามูลค่ารวม 100,000 บาท พร้อมโอกาสฝึกประสบการณ์การทำงานด้านนวัตกรรมและการพัฒนาธุรกิจประกันภัยกับประกันภัยไทยวิวัฒน์อีกด้วย