เปิดแล้ว!! โครงการ “ต่อกล้าอาชีวะ” เวทีของ #คนพันธ์ุR กับนวัตกรรมทางการเกษตร

Facebook
Twitter
เปิดรับสมัครโครงงาน/ผลงาน/สิ่งประดิษฐ์ ด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่จะมาช่วยค้นหาวิธี แนวทาง จัดทำเครื่องมือและอุปกรณ์ สำหรับแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในการเพิ่มผลิตผล ลดต้นทุน ลดระยะเวลา ปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต ให้ดียิ่งขึ้น
ชิงทุนในการพัฒนาผลงานมูลค่า 40,000 บาท และรับการอบรมภายในโครงการฯ ฟรี! พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากนักวิจัยพี่เลี้ยง และผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลงานให้สามารถใช้งานได้จริงอีกด้วย
Poster_TorKlaR-Cheewa-01

โครงการ “ต่อกล้าอาชีวะ” (Agritronics @ R-Cheewa) เป็นเวทีในการส่งเสริมสนับสนุนเยาวชนอาชีวศึกษาด้านการเกษตร และด้านอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศ ในการพัฒนา คิดค้น ผลงานสิ่งประดิษฐ์/เทคนิค/กระบวนการ โดยการนำองค์ความรู้ ทักษะในสายวิชาชีพ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในชุมชนในพื้นที่ของตนเอง และ/หรือเพื่อปรับปรุง พัฒนา เพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิต ช่วยส่งเสริมให้ผลิตผลทางการเกษตรมีคุณภาพที่สูงขึ้น โดยโครงการฯ ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเยาวชน อีกทั้งมีความสนใจในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยี มาแก้ไขปัญหารอบตัวหรือปัญหาเศรษฐกิจ สังคมด้วย

คุณสมบัติและเงื่อนไข

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

1. เป็นนักเรียน/นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการอาชีวศึกษาตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ
2. เป็นคณาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษา ที่สังกัดอยู่ในสถาบันการอาชีวศึกษาตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ
3. มีความสนใจ และมีความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาผลงานหรือ เพื่อประยุกต์ใช้งานด้านการเกษตรต่างๆ สำหรับแก้ปัญหา หรือช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
4. มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามกำหนดการของโครงการฯ ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการฯ

เงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วม

1. รับสมัครเป็นทีม ทีมละ 4 ท่าน/ทีม (นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยีเกษตร 2 ท่าน นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และด้านสารสนเทศ หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2 ท่าน) และสามารถมีคณาจารย์/บุคลากรด้านการศึกษาอีก 2 ท่านเป็นที่ปรึกษา
2. คิดผลงานสิ่งประดิษฐ์/เทคนิค/กระบวนการในการช่วยแก้ปัญหาหรือช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลผลิตที่มีคุณภาพ ส่งเข้าร่วมโครงการฯ โดยจะเป็นผลงานที่คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาอยู่ก่อนแล้ว หรือคิดสร้างสรรค์ใหม่ก็ได้
3. ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องสรรหาเกษตรกรในชุมชน หรือเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานศึกษา หรือที่พำนักของทีมผู้สมัคร ที่มีความสนใจให้นำผลงานสิ่งประดิษฐ์ หรือแนวความคิด (Idea) ของผู้สมัครไปทดลอง/ทดสอบการใช้งานยังพื้นที่การเกษตรของตนเอง มาก่อนเข้าร่วมโครงการฯ
4. เตรียมข้อมูลตามผลงานที่จะส่งสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในรูปแบบของ “ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลงาน” (Proposal) เพื่อชี้แจงให้คณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ทราบถึงแนวทาง รูปแบบในการพัฒนา และการนำผลงานสิ่งประดิษฐ์ไปใช้งาน (สามารถเข้าดูรายละเอียดในก Proposal ได้ที่นี่  )
5. กรอกใบสมัคร Online พร้อมส่ง “ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลงาน” ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางเว็บไซต์หลักของโครงการฯ ภายในวัน และเวลา ที่โครงการฯ กำหนด
6. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้ครบตามวัน และเวลา ที่โครงการฯ กำหนด โดยจะมีการลงนามใน “ข้อตกลงการรับทุนสนับสนุนพัฒนาผลงาน” ของโครงการฯ ระหว่างผู้พัฒนา (ทีมผู้พัฒนาผลงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับทุนสนับสนุนพัฒนาผลงาน) และผู้ให้ทุน (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
7. ผลงานของทีมใดมีการนำ “ระบบเกษตรอัจฉริยะ” (Handy Sense) มาใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
8. จัดทำคลิปวิดีโอ ความยาว 5-7 นาที ในการนำเสนอผลงาน (ดูรายลเอียดเกี่ยวกับการจัดทำคลิปวิดีโอได้ที่หัวข้อ “คุณสมบัติเพิ่มเติม”)

ทั้งนี้ หากมีเรื่องที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับเงื่อนไขการสมัครเข้าร่วมที่ไม่อยู่ในทั้ง 8 ข้อข้างต้นนี้ ให้ถือผลการพิจารณาของคณะทำงานโครงการ “ต่อกล้าอาชีวะ” ประจำปี 2564 เป็นที่สิ้นสุดตามแต่ละกรณี

การสมัครเข้าร่วมโครงการ 

1. ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัคร Online เท่านั้น เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 8 ตุลาคม 2564 ผ่านทางเว็บไซต์หลักของโครงการฯ https://www.nectec.or.th/inno-hrd/
2. ก่อนทำการสมัคร ควรมีข้อมูลข้อผู้ร่วมทีม อาจารย์ที่ปรึกษา และข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาผลงาน ให้พร้อม เพื่อความสะดวกในการกรอกใบสมัคร

ดูรายละเอียดโครงการ ต่อกล้าอาชีวะ
หรือสอบถามเพิ่มเติมทางอีเมล nectectorkla@gmail.com