e-Museum และ Museum Pool ผนึกกำลังส่งเสริมคุณค่าและสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

Facebook
Twitter
museum pool
museum pool

27 มิถุนายน 2561-ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ อำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ เนคเทค สวทช. ร่วมกับ สวทช. เครือข่ายภาคเหนือ, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จับมือร่วมกันดำเนินโครงการ “พัฒนาระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum) และระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Pool) เพื่อเป็นต้นแบบสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน” มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum) และระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Pool) ให้กับชุมชน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาการท่องเที่ยว และเป็นการสร้างต้นแบบ

museum pool

ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า “เนคเทคในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่มีภารกิจในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ มีความมุ่งมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างนวัตกรรมบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ ที่มีความผูกพันกับโลกดิจิทัล อีกทั้งยังสนองตอบต่อนโยบายของประเทศในเรื่อง Thailand 4.0 โดยโครงการประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก

  1. ระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum)
  2. ระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Pool)
museum pool

ระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum)

ระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีในการจัดเก็บ บริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ของพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบดิจิทัล เป็นการอนุรักษ์ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัลและก่อให้เกิดสังคมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลระหว่างพิพิธภัณฑ์ และผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ซึ่งการสร้างพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างได้ทั้งแบบมีสถานที่จริง และไม่มีสถานที่จริง สามารถจัดทำได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูล รูปแบบที่ต้องการนำเสนอและเอกลักษณ์เฉพาะของพิพิธภัณฑ์นั้นๆ

museum pool

ระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ หรือ Museum Pool

ระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ หรือ Museum Pool เป็นโมบายแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ โดยผู้เข้าชมสามารถใช้แอปพลิเคชันเดียว เข้าถึงข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ทั้งหลายได้ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทุกครั้งที่ไปพิพิธภัณฑ์ใหม่ ระบบนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการข้อมูลนำชม และยังช่วยพิพิธภัณฑ์ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างทำแอปพลิเคชันใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา

ภายใต้โครงการนี้ ข้อมูลและเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์และวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่ปรากฎในเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เป็นส่วนที่ได้มาจากความร่วมมือของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ที่ได้ลงไปจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชน ให้สามารถทำการ digitized ข้อมูลวัฒนธรรมไปจนถึงกระบวนการนำเข้าสู่ระบบ และสามารถแสดงผลในโมบายแอปพลิเคชันได้ด้วยตนเอง”

museum pool

ในการนี้ เนคเทค ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากพันธมิตรที่ดีอีกแห่ง คือ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่จัดสรรทุนสนับสนุนในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในส่วนของ การเพิ่มช่องทางการเรียนรู้และศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านองค์ความรู้ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ผ่านแอพพลิเคชั่น “Museum Pool”

museum pool
museum pool

ในปีงบประมาณ 2560 โครงการฯ ได้นำร่องให้กับพิพิธภัณฑ์ชุมชนจำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่

  • พิพิธภัณฑ์ วัดร้องเม็ง อำเภอสันทราย เข้าชมพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://www.anurak.in.th/watrongmeng
  • วัดดอกเอื้อง อำเภอเมืองเชียงใหม่ เข้าชมพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://www.anurak.in.th/watdokueang
  • วัดมงคล(ทุ่งแป้ง) อำเภอสันป่าตอง เข้าชมพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://www.anurak.in.th/watmongkol
  • พิพิธภัณฑ์ วัดน้ำจำ อำเภอสันกำแพง เข้าชมพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://www.anurak.in.th/watnamcham
  • พิพิธภัณฑ์ วัดเกตการาม อำเภอเมืองเชียงใหม่ เข้าชมพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://www.anurak.in.th/watketkaram
  • ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ อำเภอดอยสะเก็ด เข้าชมพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://www.anurak.in.th/thailue
museum pool

วันที่เผยแพร่ 3 กรกฏาคม 2561 12:41