SOC – Security Operation Center ทางรอดของอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์
ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเดินหน้าเต็มตัวเข้าสู่ Industry 4.0 คงปฏิเสธไม่ได้ถึงเรื่องราว Digital Transformation การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลง ประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ปรับปรุงพัฒนาการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลผลิต ช่วยลดต้นทุน หรือให้บริการลูกค้าได้สะดวกรวดเร็ว แต่ในอีกด้านหนึ่งที่ต้องเตรีมความพร้อม และให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เช่นเดียวกัน นั่นก็คือ การดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ของระบบเชื่อมต่อต่าง ๆ ในโรงงาน เพื่อไม่ให้มีการเข้าถึงได้จากบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการโจมตีจากผู้ไม่หวังดี ซึ่งล้วนส่งผลให้เกิดความเสี่ยง ข้อมูลสูญหาย หรือทำให้ระบบการทำงานเสียหายที่ไม่อาจประเมินมูลค่าได้
เนคเทค สวทช. โดย ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ภายใต้การสนับสนุนจาก The Information Society Innovation Fund (ISIF Asia) และ True Digital Cyber Security บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จัดงานสัมมนา “Cyber Security for Industry 4.0: ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พื้นฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรม 4.0” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้รู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ เกิดความตระหนักในการดำเนินงานเพื่อดูแลป้องกัน สร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจทั้งในกลุ่มผู้บริหาร, ผู้ประกอบการโรงงาน, System Intergator (SI), Technology Vendor และผู้สนใจ เข้าร่วมงานกว่า 300 คน โดยได้รับเกียรติจาก คุณเอกราช ปัญจวีณิน President บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป กล่าวต้อนรับ
ภายในงานสัมมนา ได้รวบรวมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงงาน และผู้ให้บริการด้าน SOC (Security Operation Center) ร่วมถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์การดำเนินงานในการป้องกันรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, PDPA, กฎหมายไซเบอร์ที่เกี่ยวข้อง, การสร้างระบบ Low-cost Security Operation Center: SOC สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ในหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่
– “การสร้างการรับรู้เท่าทันภัยทางไซเบอร์ บทบาท หน้าที่ และภารกิจของ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.”
โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สกมช.
– “ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”
โดย ดร. ชาลี วรกุลพิพัฒน์
หัวหน้าทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค สวทช.
– “On the Design and Development of Low-Cost SOC -as-a-Service for Industry 4.0”
โดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
รองผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC)
– สาธิตต้นแบบบริการ “SMC SOC”
โดย คุณติณณ์ธิษณ์ ใจกล้า
นักวิจัย ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค สวทช.
– “Security Operation Center”
โดย คุณฐิติรัตน์ ศิริพัฒนาเลิศ
หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านความปลอดภัยระบบข้อมูลสารสนเทศ
ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิคิวริตี้ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป
– “Cyber security ในโรงงาน”
โดย คุณนฤดม รุ่งศิริวงศ์
SVP, Global Enterprise Architecture and Cyber Security
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
– “Key lessons learned from building CSOC for banking”
โดย คุณสุทธิพันธ์ ภัสสร
Deputy Managing Director – Cyber Defense Center
บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)
– เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พื้นฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรม 4.0”
ร่วมเสวนาโดย
คุณอดุลย์ เปรมประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด
คุณทักษิณ บำเพ็ญ ผู้จัดการแผนกวิจัยและพัฒนา บริษัท เดอะเพ็ท จำกัด
ดร.กลิกา สุขสมบูรณ์ นักวิจัย ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค สวทช.
ดำเนินรายการโดย ดร.พรพรหม อธีตนันท์
รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล เนคเทค สวทช.
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีโอกาสเยี่ยมชมศูนย์บริการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (SOC) ทรู ดิจิทัล ไซเบอร์ซิคิวริตี้ พร้อมบูธจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่นำเทคโนโลยี บริการ และ Solution ต่าง ๆ ทางด้าน Cyber Security สำหรับภาคอุตสาหกรรมมาจัดแสดง ได้แก่
1. SMC Security Operation Center โดย ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยิน
2. True Digital Cybersecurity และ Smart Factory โดย True Digital Group
3. สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
4. บริษัท ฟอร์ทิเนท ซีเคียวริตี้ เน็ทเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด
5. บริษัท ที-เน็ต ไอที โซลูชัน จำกัด
6. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (ประเทศไทย)
7. บริษัท ไออาร์ซี เทคโนโลยีส์ จำกัด (Keysight & ixia)