ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการว่าด้วยไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Sub-Committee on Microelectronics and Information Technology: SCMIT) ภายใต้คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology: COST) ได้เข้าร่วมการประชุม The 45th Meeting of Sub-Committee on Microelectronics and Information Technology (SCMIT-45) และการประชุม The 71st Meeting of ASEAN Committee on Science and Technology ASEAN (COST-71) ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2559 ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา
การประชุม SCMIT-45 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับสาขาความสำคัญ (Priority Areas) และ กิจกรรมภายใต้ Priority Areas ของเทคโนโลยีด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Microelectronics and Information Technology) ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงาน (Work Plan) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พ.ศ. 2559-2568 (ASEAN Plan of Action on Science, Technology and Innovation (APASTI) 2016-2025 ทั้งนี้ ผลการจัดทำ Priority Areas และ Work Plan ของ SCMIT ประกอบด้วย
- Priority Areas 1 : Big Data Analytics
- a. A Multilingual Online and Mobile Dictionary for ASEAN Community Service Project (เสนอโดย ประเทศไทย)
- Priority Areas 2 : Internet of Things
- a. ASEAN Network Platform for Internet of Things Project (เสนอโดย ประเทศไทย)
- b. Training and Research Facility for IoT Additive Manufacturing and Drone Storage System Project (เสนอโดย ประเทศมาเลเซีย)
- Priority Areas 3 : Sensor Networks
- a. Integrated Green Energy Profiler (Hydrokinetic-Solar-Wind) Project (เสนอโดย ประเทศมาเลเซีย)
- b. Disaster Warning System: Landslide Detection Project (เสนอโดย ประเทศไทย)
นอกจากนี้ ในการประุชม SCMIT-45 และการประชุม COST-71 ผู้แทนประเทศไทยใน SCMIT ยังได้รายงานผลการดำเนินงานด้านความร่วมมือกับภูมิภาคอาเซียนต่อที่ประชุม ได้แก่ การจัดการประชุม i-CREATe ครั้งที่ 10 และ ผลการจัดทำ Policy Recommendation โครงการ CONNECT2SEA
การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวครั้งนี้ในฐานะผู้แทนประเทศไทยนับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีแผนการดำเนินงานที่ ศอ. เสนอจำนวน 3 โครงการ และใน พ.ศ. 2561 ผศอ. ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการ SCMIT จะได้ทำหน้าที่เป็น Chairman ในคณะอนุกรรมการดังกล่าว