วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ได้ให้การต้อนรับพลอากาศตรีณรงค์เวทย์ เรืองจวง ผอ.สำนักนโยบายและแผน และข้าราชการกองทัพอากาศหลักสูตรนายทหารเทคโนโลยีสารสนเทศและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ชั้นต้น รุ่นที่ 2 กองทัพอากาศ จำนวน 35 นาย ซึ่งได้เดินทางมาศึกษาดูงานรับฟังบรรยายถึงองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมใหม่ที่มีความทันสมัยในปัจจุบัน อันนำไปสู่ความรู้ประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่อไป ซึ่งการนำเสนอในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณะเป็นอย่างดี
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผอ.หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ ที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและดิจิทัล พร้อมด้วยนักวิจัยเนคเทคให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัย ได้แก่
1. มาตรฐานและทดสอบ IOT
โดย คุณธนพล วิสุทธิกุล ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส งานวิศวกรรมซอฟต์แวร์และทดสอบผลิตภัณฑ์
- บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ (Software System Testing Services)
- ระบบซอฟต์แวร์ Desktop Application, Web application, Mobile Application, Application Programming interface (API), Embedded Device / IOT
- ระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Computer Log System) สอดคล้องกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
- เครื่องมือแพทย์ (Medical Device)
- ซอฟต์แวร์เครื่องมือแพทย์ (Medical Device Software)
- เป้าหมาย/แนวทางการดำเนินงาน
- พัฒนามาตรฐานและระบบงานของหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อันจะเป็นการช่วยลดต้นทุนแก่ผู้ประกอบการในประเทศ ในการตรวจสอบ รับรองคุณภาพสินค้า/บริการของตน รวมถึงขยายขอบข่ายการให้บริการให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ประกอบการ และผู้ใช้ในประเทศ
- สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ซื้อและผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักที่ถูกต้องอันจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้ซื้อ และยกระดับความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทย ในการเลือกสินค้า/บริการที่มีคุณภาพดี เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศ และได้รับการตรวจสอบรับรองจากหน่วยงานที่มีขอบเขตความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม
2. “เทระเฮิรตซ์: เทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามอง”
โดย ดร.อัสมา สาธุการ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์
ปัจจุบันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่เทระเฮิรตซ์ได้รับความสนใจจากนักวิจัยในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะเฉพาะตัวของความถี่ในย่านนี้ที่ Non-Ionizing และสามารถทะลุผ่านสิ่งของที่เป็น Dielectric materials รวมถึงมีความไวในการตรวจจับสารเคมีและสารตั้งต้นวัตถุระเบิด ทำให้ได้มีการวิจัยและพัฒนานำความถี่ในย่านนี้มาประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น การประยุกต์ใช้งานทางอุตสาหกรรม, การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing: NDT), ด้านการแพทย์, security scanning, รวมถึงเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
3. ความปลอดภัยด้านคอมพิวเตอร์
โดย คุณเอกฉันท์ รัตนเลิศนุสรณ์ ทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
ดำเนินการวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัจจุบันความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) เป็นประเด็นที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เนื่องจากมีการละเมิดสินทรัพย์สารสนเทศในหน่วยงานที่มีความสำคัญระดับประเทศถี่มากขึ้น เช่น หน่วยงานราชการ ธนาคาร และ หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ดังนั้น การศึกษา วิจัย และพัฒนาบริการ (Service) และ การประยุกต์ใช้งาน (Applications) ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีหลักคือ IT Security Technology ซึ่งประกอบไปด้วย
- Access Control & Security Model
- Telecommunication & Network Security
- Software Development Security
- Operation Security
- Cryptography