CCF 2023 | รวมพลคนรักษ์ “งานไม้อนุรักษ์” ภาคีความร่วมมือด้านสถาปัตยกรรมไทย

Facebook
Twitter

เก่าเก็บเพื่อก่อเกิด อนุรักษ์เพื่อสร้างนวัตกรรม

NECTEC x UNESCO x RMUTT สามภาคีผู้พัฒนา-สนับสนุนส่งเสริม ใช้ระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลสถาปัตยกรรมไทย

9-12 กุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “งานไม้อนุรักษ์” หรือ Conversation CarpentryFair 2023 ในพื้นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลสถาปัตยกรรมไทย ให้เป็นแหล่งข้อมูล การศึกษา สำหรับงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีฟีเจอร์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน สามารถ เพิ่ม-ลบ-แก้ไข ได้สะดวก มีวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การบริหารจัดการสิทธิ์ การสืบค้น เลือกรูปแบบการนำเสนอ และรองรับการแสดงผลได้ หลากหลายอุปกรณ์

คณะผู้บริหารจาก มทร.ธัญบุรี และดร. เฟง จิ่ง หัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก กรุงเทพฯ ชมนิทรรศการการนำเสนอระบบของเนคเทค และชมการสาธิตการซ่อมอนุรักษ์ไม้จากแหล่งโบราณสถาน การสาธิตเทคนิคช่างไม้และงานอนุรักษ์ภายในงาน การต่อไม้ที่ไม่ใช้ตะปู กิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจในการอนุรักษ์ไม้

เปิดเวทีเสวนา “ล้อมวงลงแขก: นักอนุรักษ์ยุคดิจิทัลใช้อะไรทํางาน” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านมุมมองของผู้ร่วมเสวนา ผู้ร่วมกิจกรรมในแวดวงสถาปนิก ด้วยมุมที่เห็นด้วยไม่แตกต่าง ร่วมเสวนาโดย

ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค พูดถึงการใช้เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงานของยุคนี้ อาทิ โลกแห่ง Metaverse การใช้ AI สร้างภาพด้วย Midjourney

คุณลีนวัตร ธีระพงษ์รามกุล จากบานาน่า สตูดิโอ สถาปนิกที่หลงใหลงานอนุรักษ์ เล่าถึง ประสบการณ์การเก็บใบลานที่เก่าแก่และอยู่ในสภาพที่ใกล้ชำรุด ทำอย่างไรจะให้คงอยู่เป็นศิลปะที่ตกทอดสู่คนรุ่นหลังได้อย่างมีคุณค่า และยังสืบค้นได้ ศึกษาได้ มุมของผู้ใช้เทคโนโลยีมาจัดการ

คุณวัชชิรา บูรณสิงห์ ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มนวนุรักษ์ เนคเทค พูดถึง การจัดเก็บข้อมูลแบบ cultural watch โดยการสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ โดยที่ทุกคนสามารถเป็นนักสำรวจ หรือเรียกว่า citizenScience ช่วยกันใส่ข้อมูลเพื่อให้ทราบว่า ในพื้นที่นั้นเคยเป็นอะไรมาก่อน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นมา จะทำให้เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของสถานที่นั้นเมื่อเวลาผ่านไป

ผศ. กิติศักดิ์ วิทยาโกมลเลิศ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม ยุวสถาปนิก (มทร. ธัญบุรี) มองในมุมของกระบวนการการจัดเก็บ และรูปแบบการนำเสนอการเข้าถึงงานสถาปัตย์ ได้โดยไม่ต้องไปยังสถานที่แห่งนั้น

ผู้เข้าฟังที่นั่งล้อมวงได้ร่วมนำเสนอแนวคิดจากฝั่งผู้เข้าร่วมเสวนา ในแง่มุมการใช้เทคโนโลยี Virtual Reality เพื่อออกแบบการจัดแสดง การใช้ AI Technology ใช้เสียงประมวลผลเป็นภาพ ใช้ 3D สแกนงานสถาปัตยกรรมของอาคารทั้งหลัง เป็นต้น

ขอบคุณภาพจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี