ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว 4 หลักสูตรใหม่ “วิศวะฯ นานาชาติเชิงบูรณาการ” ในงาน TEP-TEPE: The Next Concept of Engineering Education ปฐมบทใหม่ของการเรียนวิศวกรรม ในโอกาสครบรอบ 33 ปีของ TSE พร้อมเดินหน้าบูรณาการทักษะ และองค์ความรู้ เพื่อการสร้างวิศวกรยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย ขับเคลื่อนตลาดแรงงานศักยภาพสูง ภายใต้โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ TEPE (Thammasat English Programme of Engineering) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE เผยว่า TSE ในฐานะผู้นําหลักสูตร วิศวะฯนานาชาติ ของประเทศไทยมากว่า 3 ทศวรรษ เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในปีการศึกษา 2566 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกโฉมครั้งสําคัญของ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ (Thammasat English Programme of Engineering) หรือ TEPE ที่มีการจัดการเรียนการสอน 4 ปี ที่มธ. โดย TSE ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่เพื่อเพิ่มทักษะ วิศวกรยุคใหม่” ให้พร้อมเป็นผู้นําด้านการพัฒนาบุคลากรด้านวิศวะฯนานาชาติเชิงบูรณาการ
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า เนคเทค สวทช. ในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคต มีความมุ่งมั่นเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการพัฒนาผลงานวิจัยให้ตอบโจทย์ปัญหาสังคมและประเทศ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้าง โดยเนคเทคไม่สามารถเดินไปสู่เป้าหมายนั้นได้เพียงลำพัง จึงพร้อมที่จะเติมเต็มระบบนิเวศร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อผลักดันงานวิจัยให้ไปสู่การใช้งานจริง และเกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนางานวิจัย ต้องเดินไปพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ดังนั้น เนคเทค สวทช. จึงพร้อมที่จะร่วมสนับสนุนหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรม โดยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากนักด้านเทคโนโลยีดิจิทัล วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งสนับสนุนให้นักศึกษาได้พัฒนาโปรเจคจากโจทย์จริง ข้อมูลจริงของประเทศ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับทิศทางของประเทศ รวมถึงสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ ที่มีทักษะหลากหลาย ก้าวทันเทรนด์เทคโนโลยีไปพร้อมกัน
นอกจากเนคเทค สวทช. หลักสูตรฯ ได้รับการความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตร (Partnership) อีก 2 หน่วยงานที่พร้อมเคียงข้างคนรุ่นใหม่ไปพร้อมกัน ประกอบด้วย
1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. หรือ IDS ที่ได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สู่อีกขั้นของการบูรณาการทักษะด้านวิศวกรรมโยธาและการออกแบบ ซึ่ง
2. มหาวิทยาลัยอีแกม ลาซาล ประเทศฝรั่งเศส (ECAM LaSale, France) ที่เสริมแกร่งเครือข่ายทางการศึกษาที่ครอบคลุมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้โอกาสอาจารย์และนักศึกษาในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนระหว่าง มหาวิทยาลัยที่อยู่ในความร่วมมือ พร้อมเปิดตัว Training Center ที่ มธ. ศูนย์พัทยา เพื่อยกระดับให้เป็นศูนย์กลางด้าน การพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ EEC
ภายใต้โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. หรือ TEPE (Thammasat English Programme of Engineering) ประกอบด้วย 1) หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและข้อมูล (Electrical and Data Engineering) 2) หลักสูตร วิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Civil Engineering and Real Estate Development) 3) หลักสูตร วิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรม (Mechanical Engineering and Industrial Management) 4) หลักสูตรวิศวกรรม เคมีและการจัดการ (Chemical Engineering and Management)
นอกจากนี้ TSE ยังต่อยอดความสําเร็จของโครงการหลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิตสองสถาบัน (Twinning Engineering Program) หรือ TEP ที่จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร ในรูปแบบ 2+2 คือ 2 ปีแรกที่มธ. และผู้เรียน สามารถเลือกศึกษาต่ออีก 2 ปี กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เป็นคู่สัญญาของ TSE ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งนอตติ้งแฮม สหราช อาณาจักร (The University of Nottingham) มหาวิทยาลัยเคยู เลอเฟิน ประเทศเบลเยี่ยม (KU Leuven) และมหาวิทยาลัยนิว เซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย (UNSW,Sydney) โดย TSE มีแผนในการพัฒนาเครือข่ายด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยชั้นนําในต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของคนรุ่นใหม่
ภายในงานยังมีการโชว์ 4 นวัตกรรมต้นแบบที่พร้อมตอบโจทย์ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต อาทิ AIคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชด้วยเสียงพูด เทคโนโลยีจําลองโลกเสมือนที่ช่วยคัด กรองโรคต้อหิน สกินแคร์ต้านอนุมูลอิสระจากน้ํามันกัญชง และการซ่อมแซมคอนกรีตด้วยแบคทีเรียอีกด้วย