“RandomQ” มิติใหม่ของการจับรางวัลด้วยเครื่องสุ่มเชิงควอนตัม

Facebook
Twitter
RandomQ

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2562 ณ อาคารรวบรวมผลไม้ สหกรณ์การเกษตรโป่งน้ำร้อน จำกัด อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ นำเครื่องสุ่มเชิงควอนตัม (RandomQ) มาใช้ในการจับรางวัลพิเศษ จำนวน 50 รางวัล ในกิจกรรมการจับรางวัลเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค ครั้งที่ 1/2562 จัดโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดจันทบุรี

RandomQ

การสุ่มเชิงควอนตัม

เนื่องจากข้อจำกัดการสุ่มแบบเดิม จากการสุ่มด้วยกลไกจะทำให้ได้คำตอบที่อาจโน้มเอียง และการสุ่มด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีแบบแผนที่อาจคาดเดาได้ จากข้อจำกัดดังกล่าวจึงเกิดการพัฒนานำการสุ่มด้วยระบบควอนตัม (RandomQ) เป็นการสุ่มที่ไม่มีชุดคำตอบเป็นแบบแผน เป็นการสุ่มที่แท้จริง และเดาคำตอบไม่ได้ ผ่านเครื่อง QRNG ที่สามารถใช้ในการเข้ารหัสการสื่อสาร การสุ่มจับรางวัล การทำ One Time Password (OTP) และ การจำลองทางวิทยาศาสตร์

RandomQ

โดยทีมนักวิจัยและพัฒนาจะนำอุปกรณ์ ที่เชื่อมต่อกับ server เพื่อดึงเลขสุ่มที่จัดเก็บไว้ มาแสดงผลที่เครื่อง ซึ่งจะสอดคล้องกับรูปแบบการจับสลากออกรางวัลของงาน ทวีโชค ของธ.ก.ส. โดยเจ้าหน้าที่ที่รับลงทะเบียนหน้างานก็จะแจกคูปอง ที่รันหางเลขไว้ 000–xxx ไว้ให้กับคนที่มาชมงาน เพื่อชิงรางวัลพิเศษ จำนวน 50 รางวัลโดยใช้เครื่องสุ่มที่เราเตรียมไว้ ในการสุ่มเลขหางบัตร

แหล่งที่มาของเลขสุ่มนั้น ทางนักวิจัยได้เขียนโปรแกรมไป config เครื่อง quantum computer ของ IBM เพื่อให้สร้างเลขสุ่มขึ้นมาจำนวนหนึ่งและก็นำไปจัดเก็บไว้ที่ server เพื่อรอเวลาเรียกตัวเลขออกมาใช้ครับ ในขณะที่เรียกออกมาใช้ทางทีมวิจัยก็จะนำมาผ่านกระบวนการสุ่มอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า output ไม่มีความโน้มเอียงใดๆ

RandomQ
 เทคโนโลยีควอนตัม