[Hall of Fame] เนคเทคนำ “เครื่องช่วยฟังควบคุมด้วยสัญญาณสมอง” คว้ารางวัลในงานวันนักประดิษฐ์ 2562

Facebook
Twitter

วันนี้ (30 ส.ค. 64) เนคเทค สวทช. โดยทีมวิจัยและพัฒนา HandySense จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ” ให้กับเกษตรกร จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้โครงการ “พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยสูง และได้รับมาตรฐานสากล การพัฒนาระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรที่เหมาะสมโดยระบบอัจฉริยะ (Intelligent Farm System)” โดยมี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวเปิดการอบรม พร้อมด้วยการบรรยาย โดย คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี และ คุณพุฒิพงศ์ สุขรัตน์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ เนคเทค สวทช.

จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเป็นเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC : Eastern Economic Corridor) ของประเทศไทย รวมถึงสินค้าเกษตรปลอดภัยของจ.ฉะเชิงเทรามีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นอย่างมาก จ.ฉะเชิงเทราจึงเล็งเห็นว่าการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและคุณภาพของผลผลิตจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกจนถึงการตลาด

โดยในปีที่ผ่านมา จ.ฉะเชิงเทราได้ดำเนินโครงการ “ส่งเสริมเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสูง จังหวัดฉะเชิงเทรา” และประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งได้นำเทคโนโลยี HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เข้ามาช่วยควบคุมกระบวนการและคุณภาพในการผลิต สามารถประมาณการผลผลิตได้อย่างแม่นยำ โดยการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการปศุสัตว์ ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิต เกษตรกรสามารถนำข้อมูลค่าการตรวจวัดไปบริหารจัดการและตัดสินใจกระบวนการเพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่และคุณภาพของสินค้าเพิ่มมากขึ้น ใช้แรงงานลดลง ลดการใช้ทรัพยากรน้ำ จากการให้น้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของพืช ตลอดจนสามารถช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เกษตรกรเล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ ว่าหากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงได้อย่างดี

จากความสำเร็จของโครงการในปีที่ผ่านมา จ.ฉะเชิงเทรา โดยเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรที่เหมาะสม โดยระบบบริหารจัดการการเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Farm Management System) จะเชื่อมโยงกระบวนการดำเนินงานด้านการเกษตรทั้งหมดโดยมีระบบ HandySense เป็นแกนกลาง ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีควบคุมการเพาะปลูก ปศุสัตว์ และประมง การควบคุมคุณภาพด้วยระบบมาตรฐานคุณภาพทางการเกษตร ตลอดจนเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้บริโภคกับเกษตรกรภายในระบบเดียว โดยพัฒนาให้เกษตรกรสามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกผ่านทางสมาร์ตโฟน