เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) มอบเงินรางวัลและประกาศนียบัตร แก่นักเรียนผู้ชนะการประกวด โครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย สำหรับโรงเรียนในโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์ ณ จ.แม่ฮ่องสอน โดยได้รับเกียรติจาก นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมชื่นชมผลงาน ชีวิตเล็กๆผ่านมิวอาย ตอนสิ่งมีชีวิตในน้ำ
ผลการตัดสินประกวดภาพถ่าย “โครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย” ชีวิตเล็กๆผ่านมิวอาย ตอน สิ่งมีชีวิตในน้ำ..ของโรงเรียนในโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์มีดังนี้ ดังนี้
- รางวัลที่ 1 น.ส.อรสา สุขสวัสดิ์ จาก ร.ร.สบเมยวิทยาคม
- รางวัลที่ 2 น.ส.จันทนา ไพรหอมรื่น จาก ร.ร. ขุนยวมวิทยา
- รางวัลที่ 3 น.ส.จามรี อภิวงศ์ จาก ร.ร.สบเมยวิทยาคม
รางวัลชมเชย 4 รางวัล
- นายวีรศักดิ์ จันทร์ฟอง จาก ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 21
- น.ส.มาลี กิตติศรีมาโนชย์ ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 21
- น.ส.มลทิพย์ โพธิ์ทอง ร.ร.ขุนยวมวิทยา
- น.ส.กชามาส อรรคฮาต และ น.ส.มนสิการ สัญชาติไทย ร.ร.ขุนยวมวิทยาลัย
โครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย เป็นกิจกรรมที่ได้รับการสนุบสนุนจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ผลิตชุดอุปกรณ์พร้อมเลนส์มิวอาย ตอน สิ่งมีชีวิตในน้ำ และจะนำเลนส์มิวอาย ส่งมอบให้โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 200 ชุด และมอบให้โรงเรียนในโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ทั่วประเทศ จำนวน 1,800 ชุด กิจกรรมดังกล่าว เนคเทค/สวทช. คาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้เด็กไทยสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของเยาวชนให้เกิดการค้นคว้า สามารถใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของเยาวชนให้เกิดการค้นคว้า สามารถใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ รวมถึงได้สัมผัสเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากผลงานวิจัยไทย
ผลงานวิจัยเลนส์มิวอาย เป็นผลงานแรกที่ เนคเทค/สวทช. ได้รับการสนับสนุนการวิจัยผ่านการระดมทุน หรือที่เรียกว่า Crowdfunding เป็นนวัตกรรมที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตรการผลิต และมีแนวทางนโยบายที่จะให้ครู เด็ก และนักเรียน ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สามารถใช้งานทดแทนกล้องจุลทรรศน์ในปัจจุบันที่มีราคาสูงและมีจำนวนจำกัด
“เลนส์มิวอาย” ได้รับการออกแบบให้มีความสามารถในการเพิ่มศักยภาพแก่กล้อง โดยการติดเป็นอุปกรณ์เสริมในแท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้บันทึกภาพวัตถุขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแท็บเล็ตให้เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพา และ “ฐานรองรับวัตถุแบบประกอบด้วยตัวเอง Do-It-Youself (DIY)” และเมื่อนำมารวมเข้ากับคุณสมบัติอื่น ๆ ของอุปกรณ์พกพาอย่างการเชื่อมต่อกับเครือข่ายและความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล เกิดการเรียนรู้ พัฒนาโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องได้ เปรียบเสมือนการสร้างห้องทดลองเคลื่อนที่
ชมภาพทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/MuEyeLens