เนคเทค สวทช. จัดเยี่ยมชม online ต้อนรับภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Facebook
Twitter

8 มีนาคม 2565 เนคเทค สวทช. ให้การต้อนรับอาจารย์ และนิสิต ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 90 คน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ ท่านได้กล่าวเปิดโครงการเยี่ยมชมและศึกษาดูงานแบบ Online โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้ศึกษาดูงานกระบวนการทำงานขององค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระบวนการทำงานขององค์กรด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของน้องๆ นิสิต นอกห้องเรียน

เนคเทค สวทช. จัดบรรยายนำเสนอในหัวข้อดังต่อไปนี้

หัวข้อ แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สัญชาติไทย (AI for Thai)  
โดย ดร.กริช นาสิงห์ขันธุ์ หัวหน้างานยกระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี
ฝ่ายสนับสนุนบริการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี 

AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น

  • ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) ใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน
  • กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่
  • ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น
  • ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่ายจุดเด่น
  • มีบริการให้พร้อมเรียกใช้งาน
  • ช่วยให้สามารถต่อยอดสร้างสรรค์แอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว
  • ทดสอบใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย* (แบบ Limited Free Service)

APIs & Service

โมดูลต่าง ๆ ที่รวบรวมเข้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์ม ถูกจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Language, Vision และ Conversation ซึ่งโมดูลต่าง ๆ จะพร้อมให้ใช้งานในรูปแบบ Web Service หรือ API

หัวข้อ “TPMAP” ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า
โดย คุณภัทรจิต วงศ์คลัง  ผู้ช่วยวิจัยหลักทีม TPMAP ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์

TPMAP คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดจากระบบบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบชี้เป้า (Thai Poverty Map and Analytics Platform) ให้สามารถครอบคลุมปัญหาที่กว้างขึ้น ดัชนีที่ใช้วิเคราะห์ความยากจนของระบบ TPMAP มี 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการเงิน ด้านความเป็นอยู่ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ