วันที่ 28 สิงหาคม 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 13 (i-CREATe 2019) ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย โดยมี นางนันทนา ศิวะเกื้อ เอกอัครราชฑูตไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.อลิสา คงทน รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ประธานจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติฯ i-CREATe 2019 และคณะกรรมการจัดงาน เฝ้ารอรับเสด็จฯ
งานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 13 (i-CREATe 2019) เป็นเวทีสำคัญในการนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติ ด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับผู้ ทรงคุณวุฒิในระดับสากล ซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย ภายใต้ชื่อว่า CREATe Asia โดยเป็นการรวมกลุ่มระหว่าง 15 องค์กร จาก 10 ประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในภูมิภาคเอเชียและออสเตรเลีย
กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน i-CREATe 2019 ประกอบด้วยการแสดงปาฐกถาพิเศษ มุ่งเน้นให้เป็นเวทีที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานชั้นนำ การอบรมเชิงปฏิบัติการ มุ่งเน้นให้เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย การประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมนักเรียน นิสิต นักศึกษาให้มีความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ทั้งนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรมภายในงานและพระราชทานรางวัลเป็นประจำทุกปี
โดยในปีนี้ มีสิ่งประดิษฐ์ระดับนักศึกษาจาก 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศอินเดีย ประเทศญี่ปุ่น เครือรัฐออสเตรเลีย ไต้หวัน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐเกาหลี รวม 45 ผลงาน ผ่านการคัดเลือกและเข้าร่วมการประกวดในรอบชิงชนะเลิศ โดยการประกวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จำนวน 24 ผลงาน และผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จำนวน 21 และผลงานที่ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีดังนี้
ผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
- รางวัลเหรียญทอง
- ผลงานชื่อ Snaker Spoon จาก The Hong Kong Polytechnic University
- โดย Tsz Ching Fung, Wai Dik Chan Ho Yan Lo Hiu Fung To Oi Wai Yan เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- รางวัลเหรียญเงิน
- ผลงานชื่อ EasyPull จาก ITE College East
- โดย Raissa Chrizel Rivera Cabel Siti Syarah Bte Suparman สาธารณรัฐสิงคโปร์
- รางวัลเหรียญทองแดง
- ผลงานชื่อ Nailed it! จาก The Hong Kong Polytechnics University
- โดย Mo Hoi Yi Wong Hiu Yan, Chan เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
- รางวัลเหรียญทอง
- ผลงานชื่อ StrydeTech – Design and development of a novel mobility enablement device providing independence and confidence to those who cannot get from sitting to standing position on their own
- โดย Muireann Hickey,Kevin Hayes, Cian O’Leary, Jonathan Mullane สาธารณรัฐไอร์แลนด์
- รางวัลเหรียญเงิน
- ผลงานชื่อ Ramp Design
- โดย Alexander Tan Yong, Lim Shu, Joshua Goh Yong Sheng, Eugene Pang Yuan Jing, Kester Chew
- จาก National University of Singapore สาธารณรัฐสิงคโปร์
- รางวัลเหรียญทองแดง
- ผลงานชื่อ Help visually impaired persons (VIPs) and the elderly to identify objects with audio reminders
- โดย Owen Kwong Hau Shing, Olive Chung Wing Lam, Chloe Lam Nga Wai
- จาก City University of Hong Kong เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ส่วนทีมจากประเทศไทยได้รับรางวัลสำคัญ คือ ประเภทเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ ผลงานชื่อ ReArm ได้รางวัล Best Prototype และรางวัลชมเชย (Merit Award) โดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- สมาชิกผู้พัฒนาผลงาน
- 1. นายรมย์ พานิชกุล
- 2. นายสิรภพ เจริญภิญโญยิ่ง
- 3. นายอนัส สุภัคไพศาล
- 4. นางสาวคคนันท์ งามเด่นเจริญศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษา
- ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
- รายละเอียดผลงาน ReArm
- การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิธีดั้งเดิมนั้น มักจะเน้นไปที่โปรแกรมการออกกำลังกายและการยืดเหยียดต่างๆ ตามความสามารถสูงสุดที่ผู้ป่วยจะทำได้ เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเต็มกำลัง แม้ว่าส่วนขาของผู้ป่วยอาจจะฟื้นตัวได้โดยเร็วด้วยวิธีดั้งเดิม แต่มีผู้ป่วยจำนวนมากยังคงฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของแขนให้กลับมาใช้งานอย่างเต็มที่ได้ยาก การฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของร่างกายจึงเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้งานหรือทำกิจกรรมในชีวิตประจาวัน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมการเคลื่อนไหวและมีการประสานสัมพันธ์ของระบบประสาทได้ดีขึ้น สิ่งที่แตกต่างจากวิธีดั้งเดิมคือ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยการใช้งานนั้น ทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งเป็นการใช้งานโดยตรงจากกิจวัตรประจาวัน และยิ่งทำให้ผู้ป่วยใช้งานแขนข้างที่อ่อนแรงได้บ่อยขึ้น ดังนั้นจึงทำให้มีการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น รีอาร์ม (ReArm) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนแขนแบบใส่ติดตัวได้ ช่วยให้ผู้ป่วยใช้งานแขนได้เหมือนแขนไร้น้าหนัก หรือแขนเบาขึ้น ซึ่งถูกออกแบบเพื่อให้ผู้ป่วยใช้งานเองที่บ้านได้ง่าย อีกทั้งยังมีอุปกรณ์ช่วยใช้งานมือโดยกลไกสปริง ที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกางมือเอาชนะแรงเกร็งอัตโนมัติของนิ้วมือ เพื่อหยิบจับสิ่งของได้
และประเภทการออกแบบนวัตกรรม ผลงานชื่อ Active Exo-spine (AES) ได้รางวัล Best Ergonomic Design โดยนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมาชิกผู้พัฒนาผลงาน
- 1. นายสรสิช สิรวัฒนากุล
- 2. นางสาวสุพิชฌาย์ สิรวัฒนากุล
- อาจารย์ที่ปรึกษา
- ดร.นาถวดี นันทาภินัย
- รายละเอียดผลงาน ‘Active Exo-Spine (AES)’
- อาการปวดหลัง Back pain ในผู้สูงอายุส่งผลมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเป็นอันตรายอย่างมากซึ่งอุปกรณ์การป้องกันที่มีในท้องตลาด ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันหรือแก้ไขอาการดังกล่าว Back support ซึ่งมีข้อเสียในการสวมใส่ในชีวิตประจำวัน โดยการใส่ Back support นั้นทำให้เราไม่สามารถขยับตัวได้เต็มที่ตามที่เราต้องการ นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนมากจะเกิดสภาวะหลังค่อม Postural Kyphosis ที่สะสมมาตั้งแต่เด็กโดยการนั่งหลังค่อมดังนั้นเราจึงพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการเกิดอาการ Back pain และ Kyphosis โดยให้ผู้สวมใส่ สวมได้ตลอดวันอย่างสะดวกสบาย เคลื่อนที่ได้คล่องตัว และเพื่อทดแทนจากรูปแบบของการป้องกันและรักษาที่มีอยู่ AES ออกแบบมาให้มีลัษณะคล้ายกับกระดูกสันหลังของคน มีรูปร่างและขนาดที่กระทัดรัดและเบา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสวมใส่ได้สบาย โดยจุดเด่นของ AES นี้ที่ต่างจาก Back support หรือ Passive Exo-spine ที่มีขายอยู่ทั่วไปคือ AES จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถขยับร่างกายท่อนบนได้คล่องแคล่วมากขึ้นจากการที่ตัว AES มีความยืดหยุ่นในตัว แต่เมื่อ AES มีการตรวจพบท่าทางผิดของผู้สวมใส่ AES ก็จะสามารถปรับรูปร่างของตนเองเพื่อปรับท่าทางของผู้สวมใส่ ให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการนั่งหลังค่อมการแบกเป้หรือของหนักๆ และการยกของผิดท่าทางในคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโอกาสบาดเจ็บได้ง่าย