เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ได้มีการประชุมความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยการประชุมทางไกลออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM Cloud Meetings
โดยมี ดร.สมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานในที่ประชุม การประชุมดังกล่าวมีคณะผู้บริหารของอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายนิวัติ มณีขัติย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายอนุกูล วงศ์ใหญ่ ผู้ตรวจราชการกรมฯ นายนราเมศวร์ ธีระรังสิกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี นางสุรีย์ ธีระรังสิกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาธรณีวิทยา และผู้เชี่ยวชาญฯ ผอ.กองฯ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 30 คน โดยในส่วนของ เนคเทค-สวทช. มีคณะผู้บริหารเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ เนคเทค ดร. กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการ เนคเทค นางรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอาวุโส (โปรแกรมความหลากหลายทางชีวภาพ) สวทช. และคณะนักวิจัยกว่า 10 คน เข้าร่วมประชุมหารือ
- ในโอกาสนี้ เนคเทค-สวทช. ได้นำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนาที่ได้มีความร่วมมือกับกรมทรัพยากรธรณีในอดีตและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ที่ประชุมได้รับทราบ ประกอบด้วย
- โครงการวิจัยพัฒนา Landslide-related Projects
- โดย ดร.เจษฎา กาญจนะ นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT) เนคเทค สวทช.
- โครงการความหลากหลายทางชีวภาพและอุทยานธรณี (Geopark)
- โดย นางรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอาวุโส ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS) สวทช.
- โครงการวิจัยพัฒนาระบบนำชมพิพิธภัณฑ์ (Museum Pool)
- โดย ดร.ละออ โควาวิสารัช นักวิจัย ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI) เนคเทค สวทช.
- โครงการวิจัยพัฒนาแพลตฟอร์มคลังข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย และการท่องเที่ยว “นวนุรักษ์”
- โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ นักวิจัยอาวุโสกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) และคุณวัชชิรา บูรณสิงห์ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST)
ผลของการประชุม คณะผู้บริหารทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้มีเลขานุการร่วมในการดำเนินการจัดทำกรอบความร่วมมือ หรือ MOU เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อเดินหน้าการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่การอนุรักษ์ ป้องกัน และจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อสร้างมูลค่าและประโยชน์ของงานทางด้านธรณีวิทยาของประเทศไทยให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และตั้งเป้าหมายให้มีการลงนามความร่วมมือภายในดือนมิถุนายนนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- e-Museum และ Museum Pool ผนึกกำลังส่งเสริมคุณค่าและสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
- ตามรอย ‘บุพเพสันนิวาส’ ไปกับแอปฯ Museum Pool
- บรรยากาศความสนุกสนานท่ามกลางความประทับใจ | NAVANURAK Story Creator Challenge 2020
- NAVANURAK : เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์
- Landslide Risk Assessment and Management for the ASEAN Member States