วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ให้การต้อนรับอาจารย์และนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 15 คน เข้าศึกษาดูงานการวิจัยประยุกต์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และเปิดโลกทัศน์ของการทำวิจัยให้กับนิสิต โดยมีนักวิจัยเนคเทคให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัย ได้แก่
- ฟังบรรยายและเข้าชมห้องปฏิบัติการวิจัย Sensor for Chemical Analysis Applications
- โดย ดร.นพดล นันทวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเชิงแสงไฟฟ้าเคมีของประเทศให้ทัดเทียมสากล รวมทั้งถ่ายทอด และสร้างความร่วมมือแก่สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย ตลอดจนภาคเอกชน ภายในประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน ทั้งทางด้านบุคลากร และทางด้านนวัตกรรมของไทย ผลงาน ONSPEC: ชิปขยายสัญญาณ Raman ประสิทธิภาพสูง พร้อมใช้ร่วมกับเครื่องอ่านสัญญาณ Raman ทั้งแบบพกพาและห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจระบุร่องรอยของโมเลกุลสารเคมี สามารถพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น งานนิติวิทยาศาสตร์และความมั่นคง การตรวจหาสารตกค้างทางการเกษตร และ การประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ เป็นต้น
- เข้าชมห้องปฎิบัติการวิจัยเอกซเรย์ซีทีและการสร้างภาพทางการแพทย์
- โดย ดร.ณัฐวุฒิ สินสืบผล คุณกิตติ ขุนสนิท และ คุณสกุลรัตน์ พรหมปาลิต ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรม หรือ DentiiScan เครื่องแรกของประเทศไทยขึ้น สำหรับใช้ในงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปาก ขากรรไกร และใบหน้า โดยปัจจุบันมีการนำเดนตีสแกนไปติดตั้ง และใช้งานจริงในศูนย์ทันตกรรม 11 แห่ง ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ทำให้ช่วยเพิ่มคุณภาพการรักษา และบริการทางทันตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมรากเทียม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ก่อให้เกิดบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ขั้นสูง และธุรกิจบริการทางทันตกรรมแบบใหม่
- AI กับอนาคตของมนุษยชาติ
- โดย คุณชัชวาล สังคีตตระการ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ
- Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดและหาเหตุผลได้ด้วยตัวมันเองเรียนรู้ได้เอง และทำงานได้เหมือนกับสมองของมนุษย์ และความจำดีเยี่ยม ที่สำคัญไม่สามารถลืมได้เหมือนมนุษย์ จากที่เคยโดนป้อนคำสั่งเพื่อทำงาน ระบบถูกพัฒนาเป็นแบบ Machine Learning ทำให้มันมีความคิดที่มากกว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง และมันมีขุมทรัพย์ที่เรียกว่า Big Data ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการประมวลผลความแตกต่างระหว่าง มนุษย์ กับ AI สมองของมนุษย์นั้นมีความสามารถที่น่าทึ่งมากมาย เช่น การตระหนักรู้ อารมณ์ความรู้สึก และมีความทรงจำ ความสามารถในการควบคุมร่างกาย รวมถึงประสาทสัมผัสทั้งห้าที่ทำให้เรามีความสามารถในการรับรู้ “แต่แค่ AI ไม่มีความรู้สึกเหมือนอย่างมนุษย์เรา” ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ คงจะมีคำถามมากกว่าคำตอบว่าคนยังต้องทำงานหรือไม่ หน้าตาธุรกิจและเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้จากอดีตคือคนจะต้องปรับตัว และเราคงจะไม่ได้เห็นรูปแบบการทำงานแบบเดิมอีกต่อไป