เปิดตัวศูนย์ “AI Governance Clinic by ETDA (AIGC)” ETDA จับมือ “เนคเทค กรมการแพทย์-กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” ลุยสร้างหลักธรรมาภิบาลการใช้ AI ทางการแพทย์

Facebook
Twitter

8 พฤศจิกายน 2565 : สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) พร้อม พาร์ทเนอร์ทั้งไทยและต่างประเทศ จัดใหญ่เปิดตัว “ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance Clinic by ETDA (AIGC)” ลุยยกระดับมาตรฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance) ดันประเทศ ประยุกต์ใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ประเดิมจับมือ “เนคเทค-กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” เพื่อเร่งพัฒนากรอบ ข้อเสนอแนะ และกระจายความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลการใช้ AI สําหรับทางการแพทย์

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อํานวยการ ETDA กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นเทคโนโลยีที่กําลังมีบทบาทในปัจจุบัน และทั่วโลกต่างให้ความสําคัญและเร่งพัฒนานโยบาย มาตรฐาน และ หลักธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance เพื่อเป็นกรอบหรือทิศทางในการประยุกต์ใช้งาน AI ได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาลที่ควรจะเป็นอย่างต่อเนื่อง สําหรับประเทศไทย จากการจัดอันดับดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาล (Government Artificial Intelligence Readiness Index) ในปี 2564 โดยความร่วมมือระหว่าง Oxford Insights ของสหราชอาณาจักร และศูนย์วิจัยพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Research Centre) ของแคนาดา พบว่า ไทยอยู่ที่อันดับ 59 จากทั้งหมด 160 ประเทศ แม้ในภาพรวมคะแนนที่เราได้ 52.63 คะแนน จะสูงกว่าคะแนน เฉลี่ยทั้งหมดที่อยู่ที่ 47.42 คะแนน แต่หากพิจารณาในมิติย่อย ๆ เรากลับพบว่า ในประเด็นเรื่อง Governance and Ethics ของไทยกลับมีคะแนนเฉลี่ยต่ํากว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ จึงทําให้ประเทศไทยต้องให้ความสําคัญในเรื่อง ของการนําเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้งานในทุกอุตสาหกรรมภายใต้บริบทของการคํานึงถึงการป้องกันความเสี่ยงและ ผลกระทบที่อาจจะตามมามากขึ้น โดยล่าสุด ประเด็นเรื่อง AI Governance ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหนึ่ง ยุทธศาสตร์สําคัญ ที่ถูกบรรจุอยู่ใน “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI อย่างมี ธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบ สอดคล้องกับมาตรฐานของสากล

ดังนั้น การพัฒนาบริการดิจิทัลตลอดจนการมีธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (Digital Service and AI Governance) โดยเฉพาะในเรื่องของ AI Governance จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะนําไปสู่การ สร้างความเชื่อมั่นต่อการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ และยังเป็นอีกส่วน สําคัญในการเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศในระยะยาว จึงเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ท้าทาย ซึ่ง ETDA ได้ มุ่งเน้นผ่านการดําเนินงานทั้งในมุมของการส่งเสริมและการดูแลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี AI มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมุมของการศึกษาทั้งในมุมของกฎหมาย มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นกรอบหรือทิศทางในการใช้งานที่ เกี่ยวข้องสอดคล้องกับ AI Governance, การศึกษา รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายประเทศ เพื่อพัฒนาให้เกิด AI Standard Landscape ของไทย ต่อยอดเพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นข้อเสนอแนะ/มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ การประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล รวมถึงการศึกษาหลักเกณฑ์การตรวจประเมินการทํางานของโปรแกรมที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การถ่ายทอดความรู้ พัฒนาทักษะ เพื่อให้คนไทยพร้อมและเกิดการนํา เทคโนโลยี AI ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะดําเนินการผ่านสถาบัน ADTE by ETDA Scademy of Digital Transformation by ETDA), การเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ผ่าน AI Webinar ที่ชวน ผู้เชียวชาญหลากหลายอาชีพ ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแชร์มุมมอง เปิดโลก AI Governance ร่วมกัน และการ จัดทํา e-Book ชุด Al the Series ที่ปล่อยอย่างต่อเนื่องทุกเดือนในช่วงที่ผ่านมา ที่จะเข้ามาช่วยให้ทุกเรื่อง เกี่ยวกับ AI เป็นเรื่องใกล้ตัวและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น เป็นต้น จนนํามาสู่การต่อยอดเปิดตัว “ศูนย์ธรรมาภิบาล ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance Clinic by ETDA (AIGC)” ในงาน “Building Trust and Partnership in Al Governance” ในวันนี้ โดยศูนย์ AIGC จะเป็นแหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาล ปัญญาประดิษฐ์จากประเทศชั้นนําทั่วโลก เพื่อผลักดันให้เกิดการดําเนินงานเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการประยุกต์ใช้ งาน AI อย่างมีธรรมาภิบาลร่วมกัน โดยจะทยอยดําเนินงานกับ Sector ที่สําคัญโดยเริ่มจาก Health

“AIGC ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวหนึ่งของ ETDA ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานพาร์ทเนอร์สําคัญทั้งในและ ต่างประเทศ ที่ไม่เพียงส่งเสริมให้เกิดการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ แต่ยังช่วยให้เกิดกรอบหรือแนวทางใน การใช้งานที่ถูกต้อง โปร่งใส เพื่อให้การประยุกต์ใช้ AI ในทุกภาคส่วนเกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อผู้ใช้งาน น้อยที่สุด อันจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจ ดิจิทัลของประเทศในระยะต่อไป” ดร.ชัยชนะ กล่าวทิ้งท้าย

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA กล่าวว่า ศูนย์ AIGC เรามุ่งขับเคลื่อนงานใน 4 มิติด้วยกัน ได้แก่ มิติที่ 1 การพัฒนากรอบธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์สําหรับการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความ เหมาะสมกับบริบทของไทยและสอดคล้องกับแนวนโยบายในระดับสากล มิติที่ 2 การให้คําปรึกษาด้านนโยบาย ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ การประยุกต์ใช้งาน AI สําหรับการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ทุกภาคส่วน มิติที่ 3 การพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ ผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI อย่างมี ธรรมาภิบาล และ มิติที่ 4 สร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง วิชาการ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance

โดยระยะแรก AIGC เราจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มทางการแพทย์และสาธารณสุขก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีการ นําเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้งานและช่วยในกระบวนวินิจฉัย คัดกรองและการรักษาผู้ป่วยของแพทย์อย่าง แพร่หลายมากขึ้น และเพื่อป้องกันผลกระทบ ตลอดจนความเสี่ยงจากการใช้งานเทคโนโลยีที่อาจจะเกิดขึ้น ในวันนี้ (8 พ.ย.) ETDA พร้อมด้วยพาร์ทเนอร์ ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค), กรมการแพทย์ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) จึงได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือในการเดินหน้าพัฒนากรอบธรรมาภิบาลด้านปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับบริบท ของประเทศร่วมกัน เพื่อให้ได้ Thailand AI Governance Framework และ AI Governance Policy Guide

สําหรับวงการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งยังร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี AI ระหว่างกัน ด้วย นอกจากนี้ ศูนย์ AIGC ยังมุ่งให้บริการในการให้คําปรึกษาและพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI สําหรับการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการที่สนใจ และ เดินหน้าสํารวจความพร้อมประเทศด้าน AI Governance เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงที่จะใช้ในการดําเนินงานและ วางแผนในการพัฒนากฎหมาย มาตรฐาน ตลอดจนแนวทางการดูแล AI ของไทยในอนาคตด้วย

“จุดแข็งของ AI Governance Clinic by ETDA หรือ AIGC คือการที่เรามีเครือข่ายคณะทํางานที่ล้วนแต่มี ความเชี่ยวชาญซึ่งมาจากหน่วยงานในหลากหลายมิติ ทั้ง สถาบันการศึกษาและวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการ กําหนดมาตรฐาน AI ในระดับสากล ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม จากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก ที่สําคัญเรายัง เตรียมทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิด้าน AI ที่เกี่ยวข้องกับบริการที่เราโฟกัส อย่าง ทางการแพทย์ การเงิน ธุรกิจ และ การศึกษา จากหลากหลายประเทศมาร่วมเป็นที่ปรึกษา “International Policy Advisory Panel (IPAP)” เพื่อให้การดําเนินงานของศูนย์ฯ ครอบคลุมในมิติสําคัญที่ต้องดูแลทั้งเทคโนโลยี จริยธรรม ธรรมาภิบาล โดย คํานึงถึงการปกป้องสิทธิผู้ใช้งานเป็นสําคัญ” ดร. ศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค สวทช. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง เปรียบเสมือน “เครื่องจักรสําคัญในการสร้างฐานรากทางเทคโนโลยีให้กับประเทศ รวมถึงการ เตรียมความพร้อมด้านงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต

อีกหนึ่งภารกิจของ เนคเทค สวทช. ในฐานะเลขาคณะกรรมการแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ ซึ่งกําหนดวิสัยทัศน์ เพื่อให้ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วน และเชื่อมโยงแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ที่ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และนําไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของ ประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570 ด้วยยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน โดยมียุทธศาสตร์ทางด้านธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ คือ การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้าน สังคม จริยธรรม กฎหมาย และกฎระเบียบ สําหรับการประยุกต์ใช้ AI เป็นยุทธศาสตร์แรก ที่สอดคล้องสำหรับการร่วมสนับสนุนการดําเนินงานของ ศูนย์ธรรมภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic: AIGC) โดยเนคเทค สวทช. จะร่วมพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี และข้อมูล รวมทั้งการพัฒนานโยบายธรรมภิบาลปัญญาประดิษฐ์ ส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ในทุกภาคส่วน ตลอดจนการพัฒนาและสร้างความตระหนักรู้ด้านธรรมภิบาลปัญญาประดิษฐ์ต่อสังคม

“เนคเทค สวทช. เข้ามามีบทบาทในการศึกษาตรวจสอบมาตรฐานปัญญาประดิษฐ์จากต่างประเทศที่เหมาะสมสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ในอนาคตเนคเทค สวทช. รวมถึงพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง จะจัดตั้งศูนย์ทดสอบ (Testing Lab) สำหรับตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ รวมถึงเพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความเป็นสากลมากขึ้น รวมถึงให้คำปรึกษาแนะนำในการตรวจสอบทั้งภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป” ดร.ชัย กล่าวทิ้งท้าย

สําหรับผู้ที่สนใจติดตามความเคลื่อนไหวและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของ Al Governance Clinic by ETDA (AIGC) ได้ที่เฟสบุ๊ก ETDA Thailand >  https://www.facebook.com/ETDA.Thailand