AI สัญชาติไทย ก้าวสำคัญสู่อุตสาหกรรมและการบริการในประเทศ กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใต้โครงการให้บริการแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์อย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศ (Sustainable AI Service Platform) โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและผลักดันให้เกิดศูนย์กลางบริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ผ่านแพลตฟอร์ม AI for Thai สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565-2570 ในยุทธศาสตร์ที่ 2 (โครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI) ซึ่ง AI for Thai มีวัตถุประสงค์ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่
1. เป็นแหล่งรวบรวม Core Technology ทั้งจากหน่วยวิจัยและพัฒนาของรัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน ในประเทศ
2. เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน AI
3. สร้างชุมชนนักพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถต่อยอดสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยง นวัตกรรม สู่ใช้งานที่ตอบโจทย์ทั้ง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา ตลอดจนกลุ่มอุตสาหกรรม และเข้าถึงการใช้งานของประชาชนทั่วไป
กิจกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นความคืบหน้าของการส่งเสริมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ประเทศ โดยจากการดำเนินการผ่านไปแล้ว 1 ปี ปัจจุบัน AI for Thai มีบริการ API พร้อมใช้ให้บริการอยู่มากกว่า 70 บริการ มีนักพัฒนาใช้งานมากกว่า 10,000 คน มียอดเรียกใช้งานเฉลี่ยเดือนละ 800,000 – 1,000,000 ครั้ง มีการจัดกิจกรรมอบรมไปแล้วทั่วทุกภูมิภาค มีผู้เข้าอบรมมากกว่า 300 คน และการสนับสนุนผ่านโครงการนี้จะทำให้มีกิจกรรมต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี
ภายในงานยังจัดให้มี 2 หัวข้อเสวนาสำคัญ ได้แก่ “ร่วมสร้าง National AI Service Platform” และ “ก่อการสร้างคน AI”
โดยในหัวข้อแรก ร่วมสร้าง National AI Service Platform ได้เสนอแนวคิดและมุมมองที่มีต่อรูปแบบบริการในลักษณะของ National Service Platform ที่มีเป้าหมายเป็น Infrastructure สำคัญเพื่อผลักดันให้เกิดการ เข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างแพร่หลาย เพิ่มโอกาสในการประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนการต่อยอดเทคโนโลยี สร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ และ เป็นเครื่องมือในการพัฒนา กำลังคนทางด้าน AI ของไทย
โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2) นาย ธีรวุฒิ ธงภักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3) รศ. ดร. ศิริเดช บุญแสง Cira Core Thai AI Platform 4) ดร. พณชิต กิตติปัญญางาม บริษัท แอ็คโคเมท จำกัด (ZTRUS) 5) ดร. ชมชนา ตรีวัย Amazon Web Services (AWS) ดำเนินการเสวนา โดย ดร.กริช นาสิงห์ขันธุ์ เนคเทค สวทช.
หัวข้อเสวนา “ก่อการสร้างคน AI” เสนอมุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับกำลังคนทางด้าน AI ตั้งแต่ความต้องการ กำลังคนทางด้าน AI ในประเทศไทยจากมุมมองของภาคธุรกิจที่เป็นผู้ใช้งานโดยตรง แนวทางการพัฒนาคน AI เพื่อ ตอบสนองให้ทันต่อความต้องการปัจจุบัน ตลอดจนการวางแนวทางพัฒนากำลังคนทางด้าน AI เพื่อสร้างรากฐาน ในระยะยาว รวมไปถึงแนวทางการส่งเสริมหรือมาตรการรองรับการพัฒนาคนทางด้าน AI จากภาครัฐ โดยผู้ทรงคุณวุฒิตัวจริงในอุตสาหกรรม AI และการพัฒนากำลังคนทางด้าน AI ของไทย ได้แก่ 1) ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมวิทยากร 2) ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ เนคเทค สวทช. 3) ผศ.ดร.อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (A.I. Engineering Institute; AIEI) 4) ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Senior Principal Visionary Architect, KASIKORN Labs, KBTG ดำเนินการเสวนาโดย คุณกัมพล เหล่าพงศ์สวัสดิ์ เนคเทค สวทช.
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการและการบรรยายพิเศษจากพันธมิตร Thai AI Service ได้แก่
- Super AI engineer โดย สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT)
- Cira Core โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)
- A -OCR ระบบอัจฉริยะด้านการจัดการเอกสารการเงินและข้อมูล โดย บริษัท ZTRUS
- Al as a Service, Data Consultancy, Text to Speech โดย BOTNOI CONSULTING
- ถอดเสียง พูดเป็นข้อความ, สร้างเสียง พูดอัตโนมัติ, วิเคราะห์ภาษา และ
- ข้อความ (NLP and Text Analytics) โดย บริษัท เอไอไนน์ จำกัด
- Al as a Service, Data Consultancy, Text to Speech โดย BOTNOI CONSULTING
- บริษัท อินดิสทิงท์จำกัด