เนคเทค สวทช.ให้การต้อนรับคณะบุคลากรโครงการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการหลักสูตร “ผู้อำนวยการโครงการ” รุ่นที่ 18 กรมชลประทาน

Facebook
Twitter
2021-visit-rid

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) ให้การต้อนรับผู้บริหารและบุคลากร ในโครงการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการหลักสูตร “ผู้อำนวยการโครงการ” รุ่นที่ 18 กรมชลประทาน ซึ่งได้เดินทางมารับฟังการบรรยายผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรมชลประทาน เมื่อวันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมออดิทอเรี่ยม อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

ในโอกาสนี้ ดร.อลิสา คงทน รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ได้กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยนักวิจัยเนคเทค สวทช. ร่วมนำเสนองานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้กับงานด้านบริหารจัดการน้ำ ได้แก่

2021-visit-rid

2021-visit-rid

นวัตกรรม IOT และ การประยุกต์ใช้
โดย ดร.เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์ นักวิจัยทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ เนคเทค สวทช.
2021-visit-rid

เทคโนโลยี Internet of Things คือ สิ่งต่าง ๆ ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่โลกเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต ทําให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุม การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การสั่งเปิด-ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้สํานักงาน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เทคโนโลยีนี้มีประโยชน์และความเสี่ยงไปพร้อมกัน ถ้าระบบรักษาความปลอดภัยไม่ดีพอทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ควรจะพัฒนามาตรการการรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่ไปด้วย IoT สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับระบบงานประเภทต่าง ๆ เช่น การตรวจวัดระดับน้ำ ปริมาณน้ำฝน สภาพอากาศ หรืองานด้านการเกษตร

2021-visit-rid

รักษ์น้ำ ระบบพยากรณ์และจําลองเหตุการณ์เพื่อการบริหารจัดการปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม
โดย ดร.ศิโรจน์ ศิริทรัพย์ หัวหน้าทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เนคเทค สวทช.
2021-visit-rid

รักษ์น้ำ เป็นระบบพยากรณ์และจําลองเหตุการณ์เพื่อการบริหารจัดการปัญหาการรุกล้ำของน้ําเค็ม โดยมุ่งเน้นบริหารจัดการแบบ area-based เป็นหลัก โดยระบบรักษ์น้ํามีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน ได้แก่ 1) Monitor 2) Forecast 3) Scenario 4) Optimize ระบบรักษ์น้ำสามารถนําไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการปัญหาการรุกล้ำของน้ําเค็มในพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่สอดคล้องกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2021-visit-rid

Dam Safety Remote Monitoring System (DS- RMS)
โดย คุณอุ่นพงศ์ สุภัคชูกุล นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบวัดและควบคุมระยะไกล เนคเทค สวทช.
2021-visit-rid

2021-visit-rid

ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน หรือ DS-RMS เป็นระบบที่ กฟผ. ร่วมกับ เนคเทคพัฒนาขึ้น โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับเทคโนโลยีของเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน แผ่นดินไหว และ น้ำหลาก ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำไปยังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อนำข้อมูลเข้ามาประมวลผลหาสถานะความปลอดภัยเขื่อนด้วย ระบบเสมือนผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยคาดการณ์สาเหตุของความผิดปกติได้ โดยจะแจ้งสถานะความปลอดภัยเขื่อนผ่านโปรแกรมในรูปแบบ Web Application ทางหน้าจอเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น พร้อมทั้งแจ้งเตือนผ่านทาง SMS และ E-mail ไปยังเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในด้านความมั่นคงปลอดภัยในเขื่อนใหญ่ ของ กฟผ.