“Big Data” ชี้เป้าคนจนอยู่ที่ไหน มีปัญหาอะไร ส่วนจะหลุดพ้นความจนได้หรือไม่ ? ต้องอาศัยฝีมือ “ผู้บริหาร”

Facebook
Twitter
TPMAP
บทความ | วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์

ประเทศไทยจะหลุดพ้นความยากจนได้อย่างไร ?

ความยากจน เป็นปัญหาเรื้อรังที่ทุกภาคส่วนพยายามแก้ไขมาโดยตลอด แต่ด้วยนิยามของความเรื้อรังการขจัดความยากจนนั้นไม่ง่าย ไม่เพียงแต่ในบริบทของไทย แต่ความยากจนเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องเผชิญเนื่องจากข้อมูลในการบริหารจัดการไม่เพียงพอ ทำให้บางนโยบายถูกใช้ปูพรมแก้ปัญหาหลายพื้นที่ ในขณะที่ความยากจนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แม้มีปัญหาเดียวกันแต่วิธีการแก้ไขอาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ด้วยปัจจัยทางครัวเรือนหรือพื้นที่ที่แตกต่างกัน ทำให้ปัญหาความยากจนที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุดส่งผลเรื้อรังจนถึงปัจจุบัน

เปลี่ยน “ปูพรม” เป็น “ชี้เป้า” นำ Big Data Platform แก้ปัญหาความจน

หมดเวลาของนโยบายปูพรมและการแก้ไขความจนแบบไม่ตรงจุด เมื่อประเทศไทยเดินหน้าพัฒนาระบบ Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐบูรณาการกันอย่างเป็นระบบ สนันสนุนการสร้างนโยบายแก้ปัญหาที่มีฐานคิดจากข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ เป็นปัจจุบัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญหาความยากจน”

คนจนอยู่ที่ไหน | คนจนมีปัญหาอะไร | จะหลุดพ้นความยากจนได้อย่างไร

3 คำถามที่ต้องการคำตอบ เพื่อสร้างนโยบายแก้ปัญหาความยากจนที่มีประสิทธิภาพ ตรงจุด และคำตอบของคำถามเหล่านี้ถูกรวบรวมไว้ที่ . . .
“TPMAP” ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform)

TPMAP ชี้เป้าคนจนด้วยพลังของการบูรณาการข้อมูล

TPMAP ชี้เป้าคนจนเป้าหมายด้วยการนำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐมายืนยันซึ่งกันและกัน กล่าวคือ คุณสมบัติของ “คนจนเป้าหมาย” ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนนั้น คือ คนที่ได้รับการสำรวจกรมพัฒนาชุมชนว่าจน (Survey-Based) และเป็นผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ (Register-Based) นั่นเอง

ในอนาคตอันใกล้นี้ TPMAP จะผนวกรวมข้อมูลจากมิติอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้การวิเคราะห์ครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น ข้อมูลสิทธิ์การรักษาพยาบาล ข้อมูลเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ / ผู้พิการ เป็นต้น

พลังของข้อมูลมหาศาลจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ยืนยันซึ่งกันและกัน
ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data Analytics) ที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง แม่นยำภายใต้ระบบ TPMAP
คำตอบของ 3 คำถามเพื่อนำไปสู่นโยบายแก้จนอย่างตรงจุดก็ปรากฏชัดขึ้น . . .
TPMAP

 

● คนจนอยู่ที่ไหน ? | ตามหาคนจนบนแผนที่ดิจิทัล TPMAP

ครั้งแรกของประเทศไทยกับการตามหาคนจนบนแผนที่ดิจิทัล TPMAP ที่ชี้เป้า “คนจนเป้าหมาย” ตั้งแต่ระดับประเทศลงลึกถึงตำบลไปจนถึงหมู่บ้าน ด้วยการตั้งต้นนโยบายแก้ปัญหาจำเป็นต้องทราบว่าคนจนมีกี่คน อยู่ที่ไหนกันบ้าง จังหวัดใดจนมาก อำเภอใดจนน้อย พัฒนาการแก้จนของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร เพื่อการวางนโยบายที่เหมาะสม โดยข้อมูลทั้งหมดจะแสดงผลผ่านเว็ปไซต์อย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน หน่วยงานทุกระดับสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทันทีที่ https://www.tpmap.in.th

TPMAP

 

TPMAP

 

● คนจนมีปัญหาอะไร ? | เพราะความจนไม่ใช่แค่เรื่องของเงิน

เงินเยียวยาแต่ไม่ยั่งยืน เพราะความจนไม่ใช่เรื่องของเงินเสมอไป

TPMAP จึงระบุปัญหาความยากจน 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ หรือที่เรียกว่า วิธีการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index: MPI) ซึ่งอาศัยหลักการ “คนจนคือผู้ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดีในมิติต่าง ๆ” คิดค้นโดย Oxford Poverty & Human Development Initiative และ United Nation Development Programme

TPMAP

 

TPMAP เครื่องมือบริหารยุคดิจิทัล

เมื่อ TPMAP ชี้เป้าแล้วว่า “คนจนอยู่ที่ไหน” และ “คนจนมีปัญหาอะไร” ถึงเวลาที่ผู้บริหารและหน่วยงานในแต่ละพื้นที่จะใช้ Big Data เป็นเครื่องมือช่วยบริหารและตัดสินใจ เพื่อกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ตรงจุด เหมาะสมกับพื้นที่ของตนมากที่สุด

นำไปสู่คำตอบของคำถามที่ว่า “ประชาชนในพื้นที่ของท่านจะผ่านพ้นความยากจนได้อย่างไร”
 

ชวนติดตาม ! การพัฒนาระบบ TPMAP นำร่องใช้งานในจังหวัดคนจนน้อยที่สุดในไทยในบทความถัดไป