Smart Capsule : สมาร์ตแคปซูลเพื่อการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร

Facebook
Twitter

ในประเทศไทยมีผู้ที่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตกค้างประมาณ 100,000 คนต่อปี การตรวจแบบดั้งเดิม เช่น การส่องกล้องลำไส้ มักเป็นกระบวนการที่มีความไม่สะดวกและอาจทำให้ผู้ป่วยหลายคนหลีกเลี่ยงการตรวจ ทำให้จำนวนผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เฉลี่ย 14 คนต่อวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิต

ในวงการแพทย์ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในด้านการวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร สมาร์ตแคปซูล จึงถูกออกแบบมาเพื่อการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะ

สมาร์ตแคปซูลเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดเล็กที่ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบภายในระบบทางเดินอาหาร โดยผสานการทำงานของแคปซูลกล้องไร้สาย (Wireless Capsule Endoscope หรือ WCE) และแคปซูลการเคลื่อนไหวไร้สาย (Wireless Motility Capsule หรือ WMC) ที่มุ่งเน้นในการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร (GI Tract) ได้อย่างแม่นยำ

จุดเด่นของสมาร์ตแคปซูล

  • การถ่ายภาพแบบเจาะจง: สามารถตั้งโปรแกรมการถ่ายภาพอวัยวะเป้าหมายในระบบทางเดินอาหารได้ก่อนกลืน ทำให้ตรวจสอบเฉพาะจุดที่ต้องการ ประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ และเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัย
  • ตรวจวัดสภาพแวดล้อมภายในร่างกาย: แคปซูลมีเซนเซอร์วัดระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) และความดันเพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในระบบทางเดินอาหารอย่างต่อเนื่อง ช่วยระบุตำแหน่งของแคปซูลได้อย่างแม่นยำ
  • การประมวลผลด้วย AI: แคปซูลใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยเพิ่มความคมชัดของภาพ ลดการจับภาพขณะลำไส้เคลื่อนไหว ทำให้ภาพมีความชัดเจนสูงสุด
  • ใช้เซนเซอร์ที่ผลิตได้เองในประเทศไทย: เซนเซอร์ในแคปซูลผลิตในไทยที่ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีของประเทศ
  • ลดความซับซ้อนในการตรวจคัดกรอง: สมาร์ตแคปซูลช่วยลดขั้นตอนการตรวจแบบเดิม เพิ่มความสะดวกสบายและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  • การร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ : การพัฒนาสมาร์ตแคปซูลนี้เป็นการร่วมมือกับพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของโลก ทำให้สามารถพัฒนานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงได้

เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจแบบดั้งเดิม เช่น การส่องกล้อง (Endoscopy) หรือการตรวจด้วยเครื่อง CT scan การกลืนแคปซูลเป็นวิธีที่ไม่สร้างความเจ็บปวดและขั้นตอนไม่ซับซ้อน ทำให้กระบวนการวินิจฉัยโรคเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

การพัฒนานวัตกรรมนี้ไม่ได้แค่ส่งเสริมการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ แต่ยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ป่วย โดยไม่ต้องเผชิญกับกระบวนการที่ยุ่งยาก ถือเป็นการปรับปรุงการวินิจฉัยและติดตามความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ลดความกังวลในการเข้ารับการตรวจสุขภาพ ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น

กลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการ/ Industrial Startups ที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ Smart Electronics
  • หน่วยงานของภาครัฐและอุตสาหกรรมที่มีความต้องการพัฒนาทักษะของบุคลากรในด้านเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์
  • บริษัทที่พัฒนา Ai ด้านการแพทย์

ผู้วิจัยและพัฒนา