เนคเทค ร่วมกับ RxTradex จัดกิจกรรม METALEX AI FORUM 2023: จากนโยบายสู่การปฏิบัติ – ปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิต

Facebook
Twitter

เนคเทคเผยนโยบายแผน AI แห่งชาติ กับผลงานที่ผ่านมาใน 1 ปี และความท้าทายต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต

ดร.อภิวดี ปิยธรรมรงค์ นักวิจัย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. บรรยายพิเศษ “ยุทธศาสตร์ชาติด้านปัญญาประดิษฐ์ หนุนการผลิตอัจฉริยะ” โดยกล่าวถึง นโยบายและผลงานที่ผ่านมาแล้ว 1 ปี ของแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ (National AI Strategy: NAIS) ในฐานะที่เนคเทคมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเลขานุการจัดทำแผนฯ รวมถึงบอกเล่าความท้าทายถัดไปเพื่อหาความร่วมมือต่อไปในอนาคต

ดร.อภิวดี กล่าวว่า งานด้าน AI กับงานทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เนคเทคมีความพยายามที่จะใช้ AI ในอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างยาวนาน อาทิ งานวิจัยที่มีโจทย์จริงที่จะคาดการณ์ว่าโรงงานกำลังมีความเสี่ยงต่อการที่เกิดไฟฟ้ากระชากหรือไฟฟ้าตก ซึ่งงานนี้ต้องอาศัยเทคนิคทางด้าน Image Processing  หรือ Neural Network ทว่าความยากของงานนั้นก็คือเราไม่สามารถที่จะทำข้อมูลแบบ Real Time ได้ด้วยข้อจำกัดทางด้าน Infrastructure ที่กำลังในการประมวลผลไม่มากพอ แต่ในปัจจุบันนี้ตัว Network ได้ถูกพัฒนาขึ้นมีสิ่งที่เรียกว่า Deep Neural Network ซึ่งมีระดับเลเยอร์เป็นหลักร้อย มีจำนวนพารามิเตอร์เป็นล้านๆ ตัว ทำให้สามารถที่จะทำนายหรือจัดกลุ่มการทำงานได้อย่าง Real Time ตัวอย่าง Chat GPT สามารถผลิตคำได้มากกว่า 300 ล้านคำ/นาที และยังคงมีพลังต่อเนื่องอย่างไม่หยุดหยั้ง  ซึ่งหากสามารถประยุกต์ใช้รวมเข้ากับอุตสาหกรรมการผลิต จะเกิดความเป็นไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

แต่เหรียญมักมี 2 ด้านเสมอ ประโยชน์ย่อมมาพร้อมกับความกังวล ทั่วโลกต่างกังวลว่าใช้ AI แล้วจะปลอดภัยได้อย่างไร? ใช้อย่างไรให้มีสิทธิภาพ สามารถควบคุมความเสี่ยงได้อย่างไรในเมื่อ AI สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

สำหรับประเทศไทยนั้นได้จัดทำ “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและนําไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน ผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ 15 แผนงาน

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม กฏหมาย และกฏระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ ต่อเนื่องสู่ยุทธศาสตร์ 4 และ 5
  • ยุทธศาสตร์ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  • ยุทธศาสตร์ 5 การส่งเสริมให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและ ระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน สิ่งทีวางแผนดำเนินการ คือ การส่งเสริมการใช้ AI ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่มโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 คือการใช้งานและบริการภาครัฐ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาวะ 

ระยะที่ 2 เริ่มที่อุตสาหกรรมการผลิต การศึกษา การท่องเที่ยง ความมั่งคงและปลอดภัย โลจิสติกส์และการขนส่ง การเงินและการค้า พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้จะเริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2570

และสำหรับโครงการต่อไปที่จะดำเนินต่อไปตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม แต่สิ่งที่จะไฮไลท์ต่อไป คือ โจทย์ที่ท้าทายจากอุตสาหกรรมการผลิต ที่นำ Visual Inspection เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมไทยได้เนื่องจากพบว่ามีความพร้อมด้านเทคโนโลยี สิ่งที่ขาด คือ SI ในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้ไปถึงโรงงานได้ รวมถึงขาด Start-up ที่ช่วยทำโจทย์และขยายงานด้วย

ดร. ณิชา อภิชิตโสภา นักวิจัย ทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช. บรรยายพิเศษ หัวข้อ “NecML: No-Code Machine learning platform”

คุณณฐพล ตันสังวรณ์ นักวิจัย ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช. บรรยายพิเศษ หัวข้อ DaySie: Edge-AI Application Platform

ดร. วโรดม คำแผ่นชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บริษัท อัลโต้เทค โกลบอล จำกัด บรรยายพิเศษ หัวข้อ “AIoT Energy Management and Analytics Platform

ดร. อภินันทน์ ตั้นพันธุ์ บริษัท สมาร์ท เซนส์ อินดัสเตรียล ดีไซน์ จำกัด บรรยายพิเศษ หัวข้อ “AIoT for Small & Medium Manufacturers”

ต่อด้วยการเสวนา ในหัวข้อ “Best practices & Lesson learnt – AI in Manufacturing “

พร้อมมีบูธให้คำปรึกษาแก่ผู้ร่วมกิจกรรมประกอบไปด้วย

  • NSTDA i4.0 Platform
  • บริการจากศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC)
  • NecML
  • Daysie
  • AltoTech
  • SMART Sense Industrial Design
  • ผู้ให้บริการด้าน AI : REPCO NEX