ผลการตัดสินประกวดภาพถ่ายชีวิตเล็กๆ ผ่านมิวอาย

Facebook
Twitter
mueyeawards
mueyeawards

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) มอบเงินรางวัลและประกาศนียบัตร แก่นักเรียนผู้ชนะการประกวด โครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย สำหรับโรงเรียนในโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์ ณ จ.แม่ฮ่องสอน โดยได้รับเกียรติจาก นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมชื่นชมผลงาน ชีวิตเล็กๆผ่านมิวอาย ตอนสิ่งมีชีวิตในน้ำ

ผลการตัดสินประกวดภาพถ่าย “โครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย” ชีวิตเล็กๆผ่านมิวอาย ตอน สิ่งมีชีวิตในน้ำ..ของโรงเรียนในโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์มีดังนี้ ดังนี้

รางวัลที่ 1 น.ส.อรสา สุขสวัสดิ์ จาก ร.ร.สบเมยวิทยาคม
รางวัลที่ 2 น.ส.จันทนา ไพรหอมรื่น จาก ร.ร. ขุนยวมวิทยา
รางวัลที่ 3 น.ส.จามรี อภิวงศ์ จาก ร.ร.สบเมยวิทยาคม
mueyeawards
mueyeawards
mueyeawards

รางวัลชมเชย 4 รางวัล

  1. นายวีรศักดิ์ จันทร์ฟอง จาก ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 21
  2. น.ส.มาลี กิตติศรีมาโนชย์ ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 21
  3. น.ส.มลทิพย์ โพธิ์ทอง ร.ร.ขุนยวมวิทยา
  4. น.ส.กชามาส อรรคฮาต และ น.ส.มนสิการ สัญชาติไทย ร.ร.ขุนยวมวิทยาลัย
mueyeawards
mueyeawards
mueyeawards
mueyeawards

โครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย เป็นกิจกรรมที่ได้รับการสนุบสนุนจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ผลิตชุดอุปกรณ์พร้อมเลนส์มิวอาย ตอน สิ่งมีชีวิตในน้ำ และจะนำเลนส์มิวอาย ส่งมอบให้โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 200 ชุด และมอบให้โรงเรียนในโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ทั่วประเทศ จำนวน 1,800 ชุด กิจกรรมดังกล่าว เนคเทค/สวทช. คาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้เด็กไทยสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของเยาวชนให้เกิดการค้นคว้า สามารถใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของเยาวชนให้เกิดการค้นคว้า สามารถใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ รวมถึงได้สัมผัสเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากผลงานวิจัยไทย

ผลงานวิจัยเลนส์มิวอาย เป็นผลงานแรกที่ เนคเทค/สวทช. ได้รับการสนับสนุนการวิจัยผ่านการระดมทุน หรือที่เรียกว่า Crowdfunding เป็นนวัตกรรมที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตรการผลิต และมีแนวทางนโยบายที่จะให้ครู เด็ก และนักเรียน ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สามารถใช้งานทดแทนกล้องจุลทรรศน์ในปัจจุบันที่มีราคาสูงและมีจำนวนจำกัด

“เลนส์มิวอาย” ได้รับการออกแบบให้มีความสามารถในการเพิ่มศักยภาพแก่กล้อง โดยการติดเป็นอุปกรณ์เสริมในแท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้บันทึกภาพวัตถุขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแท็บเล็ตให้เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพา และ “ฐานรองรับวัตถุแบบประกอบด้วยตัวเอง Do-It-Youself (DIY)” และเมื่อนำมารวมเข้ากับคุณสมบัติอื่น ๆ ของอุปกรณ์พกพาอย่างการเชื่อมต่อกับเครือข่ายและความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล เกิดการเรียนรู้ พัฒนาโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องได้ เปรียบเสมือนการสร้างห้องทดลองเคลื่อนที่

ชมภาพทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/MuEyeLens