การประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Facebook
Twitter

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการว่าด้วยไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Sub-Committee on Microelectronics and Information Technology: SCMIT) ภายใต้คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology: COST) ได้เข้าร่วมการประชุม The 45th Meeting of Sub-Committee on Microelectronics and Information Technology (SCMIT-45) และการประชุม The 71st Meeting of ASEAN Committee on Science and Technology ASEAN (COST-71) ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2559 ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา

SCMIT-45

การประชุม SCMIT-45 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับสาขาความสำคัญ (Priority Areas) และ กิจกรรมภายใต้ Priority Areas ของเทคโนโลยีด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Microelectronics and Information Technology) ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงาน (Work Plan) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พ.ศ. 2559-2568 (ASEAN Plan of Action on Science, Technology and Innovation (APASTI) 2016-2025 ทั้งนี้ ผลการจัดทำ Priority Areas และ Work Plan ของ SCMIT ประกอบด้วย

Priority Areas 1 : Big Data Analytics
a. A Multilingual Online and Mobile Dictionary for ASEAN Community Service Project (เสนอโดย ประเทศไทย)
Priority Areas 2 : Internet of Things
a. ASEAN Network Platform for Internet of Things Project (เสนอโดย ประเทศไทย)
b. Training and Research Facility for IoT Additive Manufacturing and Drone Storage System Project (เสนอโดย ประเทศมาเลเซีย)
Priority Areas 3 : Sensor Networks
a. Integrated Green Energy Profiler (Hydrokinetic-Solar-Wind) Project (เสนอโดย ประเทศมาเลเซีย)
b. Disaster Warning System: Landslide Detection Project (เสนอโดย ประเทศไทย)
COST-71

นอกจากนี้ ในการประุชม SCMIT-45 และการประชุม COST-71 ผู้แทนประเทศไทยใน SCMIT ยังได้รายงานผลการดำเนินงานด้านความร่วมมือกับภูมิภาคอาเซียนต่อที่ประชุม ได้แก่ การจัดการประชุม i-CREATe ครั้งที่ 10 และ ผลการจัดทำ Policy Recommendation โครงการ CONNECT2SEA

การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวครั้งนี้ในฐานะผู้แทนประเทศไทยนับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีแผนการดำเนินงานที่ ศอ. เสนอจำนวน 3 โครงการ และใน พ.ศ. 2561 ผศอ. ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการ SCMIT จะได้ทำหน้าที่เป็น Chairman ในคณะอนุกรรมการดังกล่าว