หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ Human Resource Development for IC Design Ecosystem: Let’s BE the Designer!

Facebook
Twitter
IC Design Ecosystem
โครงการพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมการออกแบบวงจรรวม
Human Resource Development for IC Design Industry
วันที่ 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2560
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

1. หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยจัดเป็น ‘อุตสาหกรรมปลายน้ำ’ ที่ลงทุนในด้านการผลิตมากกว่าการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และมีลักษณะธุรกิจเป็น ‘การรับจางผลิต’ ที่อยู่ภายใต้เครือข่ายการผลิตของบริษัทต่างชาติ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพิ่มศักยภาพ ‘ด้านการออกแบบ’ เพื่อยกระดับการผลิตจากการผลิตตามแบบ OEM (Original Equipment Manufacturing) มาเป็นผู้ผลิตที่มีการออกแบบและพัฒนาสินค้าได้ด้วยตนเอง ODM (Original Design Manufacturing) เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการรร่วมทุนกับต่างประเทศ เพิ่มสัดส่วนงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มาอยู่ในประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวข้ามกับดัก ‘ประเทศรายได้ปานกลาง’ (Middle Income Trap) ได้

การพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จึงควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างอุตสาหกรรมบนเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge- based Economy) ที่ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้การวิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำที่เป็นการออกแบบวงจรรวม (IC Design) ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทที่ออกแบบวงจรรวม (IC Design House) ในประเทศไทยมีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย 100% และเป็นบริษัทหนึ่งเดียวในภูมิภาคที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนา วิจัย และออกแบบชิพ RFID อย่างต่อเนื่อง โดยสินคาและเทคโนโลยีของบริษัทได้รับการยอมรับและมีการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้จากการส่งออกและลดภาระการนำเขาจากต่างประเทศได้ปีละหลายล้านบาท ในขณะที่เกิดคำถามว่า เราจะทำอย่างไรให้มีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และความสามารถในการออกแบบวงจรรวมเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เพื่อการสรางนวัตกรรม สร้างงานและรายได้ ที่จะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศใหเติบโตได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศให้มีผู้ประกอบการที่สามารถออกแบบวงจรรวมเพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างระบบนิเวศการออกแบบวงจรรวม (IC Design Ecosystem) ในประเทศไทย ดังรูปที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย

  1. การพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development)
  2. การมีพื้นที่ หรือ Startup Playground สำหรับการสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือและซอฟต์แวร์ต่างๆ การตลาด การทำต้นแบบ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยง หรือที่ปรึกษา
  3. การมีเครือข่าย (Thai Technical Talent Network) สำหรับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Thai IC Design Ecosystem

จากแผนภาพดังกล่าว ทำให้เกิดโครงการความร่วมมือระหว่าง IC Design จาก IEEE Thailand Solid-State Circuits Society ที่มีสมาชิกจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) และห้องปฏิบัติการการบรรจุภัณฑ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส (MPAC) มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคลากร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบ่มเพาะนักออกแบบและผลิตวงจรรวม และในส่วนของการสร้าง Startup Playground โดยในโครงการนี้จะให้การสนับสนุนซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบ IC Design และการทำต้นแบบ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษา ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่เป็นบุคลากรที่อยู่ในสถาบันการศึกษา หรือภาคอุตสาหกรรม จะได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ เพื่อให้บุคลากรเหล่านี้มีศักยภาพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผ่านกิจกรรมการฝึกอบรม และอื่นๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างนวัตกรรมที่คิดคนขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งดำเนินการตลอดระยะเวลาโครงการ โดย สถาบันวิทยาการ สวทช.

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมในด้านการออกแบบวงจรรวม
  2. เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับฝึกออกแบบวงจรรวม จนสามารถนำไปผลิตเป็นต้นแบบวงจรรวมหรือ IC Chip ได้
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมการออกแบบวงจรรวม และระบบนิเวศการออกแบบวงจรรวม (IC Design Ecosystem)

3. กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษา และวิศวกรจากหน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมผู้มีความสนใจในด้าน IC Design จำนวน 50 คน

4. โครงสร้างหลักสูตร

เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคลากร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบ่มเพาะนักออกแบบและผลิตวงจรรวม และในส่วนของการสร้าง Startup Playground โดยในโครงการนี้จะให้การสนับสนุนซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบ IC Design และการทำต้นแบบ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษา ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่เป็นบุคลากรที่อยู่ในสถาบันการศึกษา หรือภาคอุตสาหกรรม จะได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์เพื่อให้บุคลากรเหล่านี้มีศักยภาพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผ่านกิจกรรมการฝึกอบรม และอื่นๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ รวม 7 วันทำการ

หมายเหตุ: ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา วิทยากร และสถานที่ดูงาน ตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

5. วิทยากรประจำหลักสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้าน IC Design จากมหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรม

จัดโดย

สวทช. เนคเทค TMEC NSTDA NECTEC

กำหนดการอบรม

Cinque Terre
 [Download ไฟล์ PDF]