เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย

Facebook
Twitter
เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย

วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ให้การต้อนรับคณะสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย (Nursing Home) จำนวน 40 คน เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานวิจัยสวทช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องเทคโนโลยีและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับรองรับการบริการผู้สูงอายุไทย โดยมีนักวิจัยเนคเทค ให้การต้อนรับนำเสนองานวิจัยและนิทรรศการเทคโนโลยีด้านผู้สูงอายุ

เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
1. ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก
โดย ดร.วินัย ชนปรมัตถ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก
2. ระบบฟื้นฟูระดับความรู้คิดด้วยเทคนิคคลื่นสมองแบบป้อนกลับ
โดย คุณสุวิชา จิรายุเจริญศักดิ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก

ห้องปฏิบัติการของหน่วยวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์และระบบเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ในกลุ่มมุ่งเป้าคือผู้สูงอายุและผู้พิการ เน้นการพัฒนาที่มีนวัตกรรมมีมาตรฐานและสามารถนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการ มุ่งเน้นการร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเข้าสู่ระบบบริการ และสร้างความเข็มแข็งทางวิชาการ

เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
3. ระบบรั้วอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเฝ้าระวังผู้สูงอายุกลุ่มอัลไซเมอร์ในบริเวณหมู่บ้าน
โดย คุณวิศรวัส จันทวีสมบูรณ์ ผู้ช่วยวิจัยห้องปฎิบัติการวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ
4. RELO : Respiration Training for Lower Blood Pressure / เครื่องวัด EKG / เครื่องวิเคราะห์การสั่นสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Tremor Analyzer)
โดย ดร.ชูศักดิ์ ธนวัฒโน นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์

ห้องปฏิบัติการของหน่วยวิจัยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนางานทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาในด้านการส่งเสริมสุขภาพเน้นการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ รวมถึงการติดตามและแนะนำการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี ในด้านการรักษาเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ของไทย โดยพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการประมวลผลวิเคราะห์และการแปลความหมายของสัญญาณต่างๆ ที่ตรวจวัดได้ทางการแพทย์ เพื่อเป็นองค์ประกอบให้แพทย์สามารถตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยได้ดีขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีอุปกรณ์การแพทย์ที่ก้าวหน้า

เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
6. ระบบบริการแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ
โดย ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยและออกแบบนวัตกรรมที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

ระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสาร หรือ Telecommunication Relay Service (TTRS) เป็นบริการที่ช่วยให้คนพิการทางการได้ยินสามารถสื่อสารกับคนปกติได้ และเป็นบริการที่ช่วยให้คนพิการทางการได้ยินเข้าใจเนื้อหาในห้องประชุมที่คนปกติพูดได้คุณสมบัติ ให้บริการถ่ายทอดการสื่อสารให้คนพิการทางการได้ยินสามารถสื่อสารกับคนปกติ, บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบฉุกเฉินทางการแพทย์ ตำรวจ และดับเพลิง, บริการแปลภาษามือทางไกลให้คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าใจคนปกติพูดในห้องประชุมได้

เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
เนคเทคต้อนรับคณะจากสมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย
7. โครงการขับเคลื่อนสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ
โดย คุณกชกร เอี่ยมวิมังสา ผู้ประสานงานประชาสัมพันธ์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

การนำศักยภาพด้านการวิจัยมาพัฒนาพืขสมุนไพรให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลไลการสนับสนุนผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจแปรรูปสมุนไพรให้สามารถส่งออกได้ในตลาดโลก โดยนาโนเทค สวทช. จะเข้ามามีบทบาทในการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น การใช้เทคโนโลยีการกักเก็บ (Nano-encapsulation) ในการนำส่งสารสกัดสมุนไพรซึ่งกักเก็บอยู่ในรูปแบบอนุภาคนาโนไปยังจุดเป้าหมายเพื่อให้สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีการสกัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Extraction) และการพัฒนาสูตรตำรับ (Formulation) เทคนิคการวิเคราะห์ทดสอบทางนาโนเทคโนโลยีด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยโดยศูนยวิเคราะห์ทางนาโนเทคโนโลยีขั้นสูง (National Advanced Nano-Characterization Center) รวมถึงการขยายขนาดการผลิตจากในระดับห้องปฏิบัติการไปสู่โรงงานผลิตเครื่องสำอางต้นแบบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Cosmetic Production Pilot Plant) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารสกัดและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในเวทีโลก