คุณค่าที่ควรแก่การอนุรักษ์

การฟ้อนผีนี้ นับว่าเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เก่าแก่ของชาวล้านนาที่นับมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและพบว่า มีอยู่ทั่วไปในสังคมของชาวล้านนาและเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องอยูทนโครงสร้างทางสังคมและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก ปัจจุบันแม้ว่าความเชื่อดังกล่าวจะได้ลดน้อยลงแต่ก็ยังหลงเหลือและสะท้อนให้เห็นถึงความคิดความเชื่อในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ในประเพณีและพิธีกรรมต่างๆที่ชาวล้านนาปฏิบัติกันในทุกวันนี้ คุณค่าของการประกอบพิธีกรรมนี้ในด้านต่างมีมากมายซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
5.1 ด้านบุคคล
-เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านในสมัยก่อนที่วิทยาการทางด้านต่างๆยังไม่เจริญก้าวหน้า
- เป็นการสืบทอดความเชื่อที่มีมาแต่ก่อนของบรรพบุรุษ
- เกิดค่านิยมที่ดีในผู้หญิงล้านนา ในเรื่องการครองตัว โดยใช้ความเชื่อเกี่ยวกับผีเป็นกุศโลบายสำคัญ
-เป็นการสอนให้ลูกหลานมีความภาคภูมิใจและกตัญญูต่อบรรพบุรุษของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นค่านิยมที่ควรมีในบุคคล ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม
5.2 ด้านสังคม
- เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีงามในหมู่คณะของชาวบ้าน
- แสดงออกถึงความรักความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนในชุมชนเดียวกันซึ่งเป็นค่านิยมอันดีที่คนในสังคมควรมีต่อกัน
- แสดงออกถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวล้านนาในอดีต ในด้านการดำรงชีวิตที่สะท้อนออกมาในขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมให้เห็นอย่างชัดเจน
- ทำให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข และมีความสุข
5.3 ด้านศิลปะ วัฒนธรรม
- เป็นการสืบทอดประเพณีที่เก่าแก่ของชาวล้านนาไว้ให้คงอยู่ต่อไป
- แสดงถึงภูมิปัญญาอันหลักแหลมของชาวล้านนาในอดีต ที่ได้ใช้ความเชื่อของชาวล้านนามาเป็นแนวทางในการให้ลูกหลานได้มาพบปะกัน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีซึ่งกันและกัน โดยแสดงออกในด้านกาประกอบพิธีกรรมฟ้อนผีนี้ เป็นที่น่าเสียดายว่าประเพณีฟ้อนผีปู่ย่านับวันจะเสื่อมหายไปเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น ประเพณีนี้ใช้เงินทองมาก เด็กสมัยนี้เป็นเด็กสมัยใหม่ไม่สนใจและอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ ปล่อยให้ประเพณีนี้จางหายไปเหลือแต่ความทรงจำและจะไม่เห็นคำว่าฟ้อนผีปู่ย่าอีก ประเพณีเหล่านี้เป็นกุศโลบายของบรรพบุรุษที่จะทำให้ทุกคนในเครือญาติมีความรัก ความสามัคคี มีความเคารพนับถือต่อญาติพี่น้องในเครือญาติเดียวกันอย่างไม่มีวันจืดจาง เป็นแบบอย่างที่ลูกหลานควรยึดถือเอาไว้ตราบชั่วนิรันดร

 

" ความเชื่อและ การนับถือผีของชาวล้านนา "