UNAI : อยู่ไหน 3 มิติ

Facebook
Twitter
อยู่ไหน 3 มิติ

 

UNAI คืออะไร?

UNAI หรือ “อยู่ไหน 3มิติ” เป็น แพลตฟอร์มสําหรับให้บริการข้อมูลตําแหน่ง หรือข้อมูลเส้นทางการเคลื่อนที่ ของคนหรือวัตถุสิ่งของภายในอาคาร แบบออนไลน์ Anchor และอุปกรณ์ส่งสัญญาณไร้สายที่เรียกว่า Tag ที่ใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวขนาดเล็กและมีระบบสื่อสารไร้สายมาตรฐาน บลูทูธพลังงานต่ำ (Bluetooth Low Energy) และมาตรฐานไวไฟ (Wi-Fi) ที่สามารถสื่อสารได้ในระยะที่ไกลกว่า RFID การประยุกต์ใช้ข้อมูล ตําแหน่งและข้อมูลบ่งชี้จากป้ายอิเล็กทรอนิกส์ในแพลตฟอร์มระบบ ระบุตําแหน่งในอาคารสามารถนําไปใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เช่น ธุรกิจค้าปลีก งานแสดงสินค้าขนาดใหญ่ โกดังเก็บสินค้า หุ่นยนต์ ในโรงงาน การเกษตร การแพทย์ โรงเรียน เป็นต้น โดยระบบดังกล่าว เปรียบเสมือนระบบเซนเซอร์ไร้สายเพื่อเก็บข้อมูลตําแหน่งในยุค Internet of Things ซึ่งสามารถใช้ติดตามบุคคลหรือสิ่งของและวิเคราะห์รูปแบบ การเคลื่อนที่ภายในอาคารได้

การประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์ม อยู่ไหน 3มิติ ในกระบวนการทํางานปัจจุบันจะทําให้สามารถปรับปรุงกระบวนการ ทํางานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อยู่ไหน 3 มิติ

 

อยู่ไหน 3 มิติ

 

อยู่ไหน 3 มิติ

 

การประยุกต์ใช้งาน “อยู่ไหน 3 มิติ” เพื่อระบุตำแหน่งนักเรียนในโรงเรียนอนุบาล

จุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย บลูทูธพลังงานต่ำ (Bluetooth Low Energy) เพื่อการระบุตําแหน่งได้ต่อเนื่องตลอดเวลาโดยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระยะเวลา ในการใช้งานป้ายระบุตําแหน่งที่ยาวนานขึ้น
  • มีการเชื่อมต่อข้อมูลตําแหน่งผ่านเครือข่าย Wi-Fi ที่มีใช้งานแพร่หลายอยู่ภายใน อาคาร ทําให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบระบุตําแหน่งได้ส่วนหนึ่ง
  • ใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายสําหรับ Internet of Things และใช้ประโยชน์ จาก Cloud Computing Platform ที่ช่วยประมวลผลการระบุตําแหน่ง แสดงผล และ วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถขยายได้ตามความต้องการของการใช้งานในอนาคต

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

  • ยื่นขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ระบบกําหนดรหัสประจําตัวของอุปกรณ์แบบอัตโนมัติ เลขที่คําขอ 1601005373
  • ต้นแบบเครื่องอ่านป้ายระบุตําแหน่งผ่านการทดสอบมาตรฐานทางไฟฟ้าด้านความปลอดภัย Safety Standard (IEC 60950) และ มาตรฐานด้านสัญญาณ รบกวนที่เกี่ยวข้องกับบริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (CISPR 22) และมาตรฐาน ด้านภูมิคุ้มกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อผลิตภัณฑ์ถูกใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณรบกวนทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (CISPR 24)
  • มีตัวอย่างซอฟต์แวร์สาธิตการแสดงผลผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และ มีการทดลองระบบในสถานที่จริง

วิจัยพัฒนาโดย:

ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบระบุตําแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ
หน่วยวิจัยเครือข่ายเทคโนโลยีไร้สายและความมั่นคง
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
อีเมล: lai[at]nectec.or.th

สนใจผลงาน/ถ่ายทอดเทคโนโลยี

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี (BTT)
อีเมล: business[at]nectec.or.th
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-2354, 2357, 2382, 2383, 2399