การควบคุมคุณภาพการผลิตอาหารสัตว์ส่วนมากจะใช้การสุ่มวัดขนาดอาหารเม็ดด้วยเวอร์เนียร์ หรือ เครื่องมือที่ใช้วัดขนาดของชิ้นงาน ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ขนาดของรูปทรง รวมถึงความลึกของชิ้นงาน ทีละเม็ด การวัดขนาดมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ประกอบกับขนาดของอาหารสัตว์ที่เล็กมาก หลังจากที่วัดเสร็จแล้วต้องจดบันทึกด้วยมือและกรอกข้อมูลนั้นลงโปรแกรม Excel เพื่อคำนวณว่า ขนาดของอาหารสัตว์เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ขนาดที่เล็กใหญ่ของอาหารสัตว์ มีผลทำให้การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ มีขนาดต่างกัน
ความสำคัญในการวิจัยจึงมาจากความต้องการของผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารสัตว์ต้องลดข้อผิดพลาด ลดระยะเวลาในการวัดขนาดของอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านคุณภาพในการผลิต นักวิจัยทีม SAI จึงใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิชัน เพื่อพัฒนาโปรแกรมการวัดขนาดอาหารสัตว์น้าเพื่อการควบคุมคุณภาพ (Saving And Intelligent softWare for Automatic measurement Technology) หรือ “สายวัด” เพื่อช่วยในการวัดขนาดวัตถุ ควบคุมคุณภาพการผลิต ให้ได้มาตรฐาน เกิดความแม่นยำ ลดระยะเวลาในการกระบวนการผลิต และได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
SAIWAI โปรแกรมการวัดขนาดอาหารสัตว์น้ำเพื่อการควบคุมคุณภาพ เป็นโปรแกรมวัดขนาดอาหารเม็ดที่ใช้งานคู่กับสแกนเนอร์ที่ใช้เทคโนโลยีการสแกนแบบ CCD (Charged-Coupled Device) โดยภาพวัตถุจะถูกบันทึกเพื่อใช้ในการวิเคราะห์รูปร่าง จนได้ขนาดความกว้างและความยาวของวัตถุแต่ละเม็ด พร้อมทั้งสรุปขนาดของวัตถุอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์และสรุปรายงานการตรวจสอบคุณภาพเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรในระบบผลิตอาหารสัตว์น้ำด้วยได้อีกด้วย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
- วัดอาหารสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กที่ยากต่อการวัดด้วยมือ
- วัดอาหารเม็ดได้พร้อมกัน 100-800 เม็ด โดยขึ้นอยู่กับขนาดของอาหารเม็ด
- สามารถทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ได้
- ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอย่างสแกนเนอร์ ซึ่งหาซื้อทดแทนได้ง่าย
- ประมวลผลได้รวดเร็วกว่าใช้วัดด้วยมือหลายเท่า โดยใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที (ขึ้นอยู่กับขนาดของอาหารสัตว์)
การขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี
สายวัดเป็นผลงานที่ได้มีการนำไปใช้งานจริง ปัจจุบันมีผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี ไปแล้ว 4 บริษัท
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จากัด (มหาชน)
- บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จากัด (มหาชน)
- บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จากัด
- บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จากัด
นอกจากบริษัทที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยีไป ผู้พัฒนายังสนใจในการขยายผลความร่วมมือ เสาะหาพันธมิตรในการร่วมวิจัย โดยเน้นกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ และผู้ส่งออกสัตว์น้ำ
วิจัยและพัฒนาโดย
- ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI)
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์(DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล: info@nectec.or.th
โทรศัพท์: 02-564-6900