“ยานยนต์ไฟฟ้า” เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน จึงทำให้ทุกภาคส่วนต้องมีการเตรียมความพร้อมรองรับยานยนต์ไฟฟ้า โดยกระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ Charging Station เพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตและเพิ่มความเชื่อมั่นต่อการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวมถึงยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
เนคเทค โดยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน ได้เริ่มวิจัย สถานีประจุยานยนต์ไฟฟ้า หรือเรียกว่า JUJAI รุ่น 4.0 โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ JUJAI 4.32A (32 แอมแปร์) และ JUJAI 4.16A (16 แอมแปร์)
EV Charging Station หรือ JUJAI 4.0 เป็นสถานีประจุยานยนต์ไฟฟ้าชนิด 1 เฟส/ 3 เฟส สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า มีระบบพลังงานสำรองสำหรับการส่งข้อมูลเข้าระบบข้อมูลกลาง (Central system) รองรับหัวจ่ายประจุ 3 แบบ ได้แก่
- แบบ Type 1 ส่วนใหญ่ใช้ในรถที่มาผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เช่น nissan leaf, mitsubishi miev
- แบบ Type 2 รถที่ผลิตตามมาตรฐานกลุ่มประเทศยุโรป หรือตามที่ สมอ.ประกาศใช้
- แบบที่ใช้ปลั๊กไฟบ้าน เป็น AC ธรรมดา และ รองรับ Open Charge Point Protocol V 1.5 (OCPP)
คุณสมบัติ JUJAI 4.32A
- ระบบรองรับการเชื่อมต่อตามมาตราฐาน IEC61851-1,IEC61851.22
- สามารถชาร์จแบบโหมด 3 ด้วยสายขั้วต่อแบบ Type1
- สามารถชาร์จแบบโหมด 3 ด้วยปลั๊กขั้วต่อแบบ Type2 มีระบบล็อกปลั๊กแบบ Shutter
- สามารถชาร์จแบบโหมด 2 ด้วยขั้วปลั๊ก AC แบบทั้วไป (จำกัดกระแสสูงสุดไม่เกิน 16A) มีระบบล็อกปลั๊กแบบ Electromagnetical
- ตู้ชาร์จสั่งงานผ่านจอทัชสกรีน 6.5นิ้ว
- มีระบบวัดอัตราการใช้พลังงาน
- ระบบจัดการข้อมูลติดต่อกับ Server ด้วยโปรโตคอล OCPP 1.5
- มีปุ่มหยุดการทำงานฉุกเฉิน
- สามารถสั่งปรับกระแสการชาร์จได้ตั้งแต่ 6-32A
- จ่ายพลังงานได้สูงสุด 7kW (32A 220V) ที่ระบบไฟฟ้า 1 เฟส, 21kW (32A 220V) ที่ระบบไฟฟ้า 3 เฟส
คุณสมบัติ JUJAI 4.16A
- ระบบรองรับการเชื่อมต่อตามมาตราฐาน IEC61851-1,IEC61851.22
- สามารถชาร์จแบบโหมด 3 ด้วยปลั๊กขั้วต่อแบบ Type2 มีระบบล็อกปลั๊กแบบ Shutter
- มีระบบวัดอัตราการใช้พลังงาน
- ระบบจัดการข้อมูลติดต่อกับ Server ด้วยโปรโตคอล OCPP 1.5
- มีปุ่มหยุดการทำงานฉุกเฉิน
- สามารถสั่งปรับกระแสการชาร์จได้ตั้งแต่ 6-16A
การอัดประจุไฟฟ้าแต่ละครั้งช้าหรือเร็ว จะขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่และกำลังไฟฟ้าที่ตู้ชาร์จต่ออยู่ เช่น แบตเตอรี่ในรถ 20 KWh เมื่อชาร์จที่กระแส 16A 220V 1 เฟส จะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง แต่ถ้าชาร์จที่กระแส 32A 220V 1เฟส จะใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง และถ้าชาร์จที่กระแส 32A 220V 3เฟส ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปการใช้งานปกติจะใช้แบตเตอรี่ไม่หมดทั้ง 100% อยู่แล้ว ทำให้ระยะเวลาในการชาร์จจะน้อยลงตามไปด้วย
โดยส่วนใหญ่จะคิดเป็นระยะทาง/ความเร็วเฉลี่ยขั้นต่ำของรถยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ตามประกาศของกรมขนส่งทางบก กำหนดไว้ประมาณ 120-150 กิโลเมตร ที่ความเร็วเฉลี่ย 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (แบตเตอรี่ประจุเต็ม 100% ของความจุของรถ)
EV Charging Station พัฒนาขึ้นภายใต้มาตรฐาน SAE J1772, IEC-61851 สำหรับติดต่อกับตัวรถ EV และการสื่อสารข้อมูลกับ SERVER OCPP 1.5
ปัจจุบันเป็นงานวิจัยต้นแบบในขั้นภาคสนาม และทดลองใช้ภายในเนคเทค โดยมีรุ่นที่ทดลองใช้จริงอยู่ด้านข้างอาคารเนคเทค
กลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย
หน่วยงานที่ต้องการผลิต หรือ ติดตั้งสถานีประจุยานยนต์ไฟฟ้า เช่น การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือติดตั้งสถานีประจุยานยนต์ไฟฟ้า
วิจัยพัฒนาโดย
- ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน (EFC)
- หน่วยวิจัยระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง (AAERU)
- email : efc[at]nectec.or.th
- โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2878 – 2885
สนใจผลงาน/ถ่ายทอดเทคโนโลยี
- ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี (BTT)
- โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-2354, 2357, 2382, 2383, 2399
- email : business[at]nectec.or.th