เนื่องจากการระบุ “เวลา” มีความสำคัญมากในบางกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้งานหรือการทำงานที่ต้องใช้“เวลา” ที่มีความถูกต้องและเที่ยงตรงในทุกๆ ขั้นตอนของการปฏิบัติงาน เช่น การกำหนดตารางการเดินทางของสายการบิน การตรวจสอบการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ (Cyber securtiy) การกำหนดเวลาในการให้เวชภัณฑ์ทางการรักษา ฯลฯ ในหลายๆ ประเทศจึงได้มีการกำหนดรูปแบบและวิธีการในการเผยแพร่ค่าเวลามาตรฐาน
สำหรับประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบและอุปกรณ์ที่เรียกว่า“นาฬิกาเวลาตรง” หรือ “AirTime” ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นให้เป็นนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรงของเวลาในระดับวินาที มีการเทียบเวลาโดยอัตโนมัติกับ “เวลามาตรฐานประเทศไทย” ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
นาฬิกาเวลาตรงที่พัฒนาโดยเนคเทค เป็นนาฬิกาดิจิทัล 6 หลัก ที่แสดงค่าวันเวลาที่มีความเที่ยงตรงตามเวลามาตรฐานประเทศไทยโดยอัตโนมัติ ด้วยการใช้เทคโนโลยี FM/RDS ผ่านทางคลื่นวิทยุ FM นอกจากค่าเวลาที่มีความเที่ยงตรงแล้ว ยังสามารถแสดงวัน เดือน ปี อุณหภูมิ ความชื้น ข้อความโปรย และข้อความประกาศจากสถานีวิทยุได้อีกด้วย ทำให้สามารถนำไปใช้งานแสดงข้อความแจ้งเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน หรือแจ้งช้อความในโอกาสพิเศษต่างๆ เป็นต้น
คุณสมบัติทางเทคนิค
- เทคโนโลยีการรับค่าเวลา เครือข่าย FM/RDS
- ขนาดเรือนนาฬิกา 50 x 15.3 x 2.7 ซม. (ยาว x สูง x หนา)
- ขนาดตัวอักษร กว้าง 55 มม. x สูง 80 มม.
- สีตัวอักษร เขียว / ส้ม บนหน้าปัทม์ลายไม้
- ปรับความสว่างในการแสดงผลของ LED โดยอัตโนมัติด้วยเซ็นเซอร์วัดความสว่างแสง
- ข้อมูลที่แสดงผล เวลา(ชั่วโมง นาที วินาที) วันที่ เดือน ปี อุณหภูมิ ความชื้น
- การแสดงข้อความประกาศจากสถานี ได้ (ภาษาอังกฤษ)
- การแสดงข้อความโปรย ได้ (ตั้งค่าโดยผู้ใช้ เป็นภาษาอังกฤษไม่เกิน 20 ตัวอักษร)
- ทิศทางการแสดงผล ได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
- วิธีการตั้งค่านาฬิกา ผ่านทางรีโมทคอนโทรลไร้สาย
- ชดเชยค่าหน่วงเวลา ได้
- แหล่งพลังงาน ใช้กับไฟบ้าน 220 VAC ผ่านอแดปเตอร์แปลงไฟเป็น 12 VDC 2A
หมายเหตุ: ข้อแนะนำการใช้งาน เหมาะสำหรับติดในอาคารที่รับสัญญาณ FM/RDS ได้ ( *ค่าความแรงสัญญาณ SNR > 15 [@60dBuV] )
การใช้งานจริง
ปัจจุบันได้รับการทดสอบและติดตั้งใช้งานแล้วทั้งในหน่วยงาน สวทช. (โยธี/รังสิต) หน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มูลนิธิชัยพัฒนา
แนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ (Licensing) เพื่อการผลิตต่อเชิงพาณิชย์
ทีมวิจัยและพัฒนา
ห้องปฏิบัติการวิจัยต้นแบบและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (IPP) หน่วยวิจัยนวัตกรรมและวิศวกรรม (IENRU)
หัวหน้าโครงการ : นายสุทัศน์ ปฐมนุพงศ์
ความสนใจ Mechatronic embedded system, Power Electronics, Inverter, Motor Driver, Energy Management System, Electric Vehicle(EV), R-HVAC, Solar Energy, Energy Consumption Improvement, RF Subsystem design, Sensor Systems, Internal Combustion Engine Control, Antenna Design
สนใจผลิตภัณฑ์/ผลงาน
- ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี (BTT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
112 อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ถ.พหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
อีเมล: business[at]nectec.or.th
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-2354, 2357, 2382, 2383, 2399